การพัฒนาการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายโรงพยาบาลพุทธชินราช 1


นำกระบวนการ PDCA (Plan-Do-Check-Act)มาพัฒนาปรับปรุงคุณภาพ
ความเป็นมา:

            มะเร็งปากมดลูก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งของสตรีไทย จากการรวบรวมสถิติของกระทรวงสาธารณสุข พบอัตราการเกิดมะเร็งระยะลุกลามมากกว่าระยะเริ่มแรก ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต ครอบครัว เศรษฐกิจ เพราะค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจึงมีความสำคัญ เพราะสามารถพบอาการผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกได้ตังแต่ยังไม่มีอาการ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยรักษาเร็วขึ้น และมีอัตราการหายขาดจากโรคมากขึ้น ซึ่งจากการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกในปี 2546 ที่ผ่านมา พบว่า

   1. สตรีกลุ่มเป้าหมาย มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกน้อย คิดเป็นความครอบคลุมเพียงร้อยละ 11

   2. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขฬนศูนย์สุขภาพชุมชน ขาดความรู้และทักษะที่ถูกต้องในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก รวมถึงการติดตามดูแลผู้ป่วยมะเร็งอย่างต่อเนื่องภายหลังการตรวจรักษา

   3. ระบบการส่งต่อผู้ป่วย ไม่ชัดเจน และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้ผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติ และผู้ป่วยขาดการติดตามดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง

แนวคิดในการแก้ปัญหา:

    ได้นำกระบวนการ PDCA (Plan -Do-Check-Act) มาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยแบ่งกระบวนการพัฒนาดังต่อไปนี้

    1. ด้านเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

    2. ด้านระบบส่งต่อการรักษาอย่างต่อเนื่องระหว่างโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลกกับศูนย์สุขภาพชุมชน เครือข่ายฯ

    3. ด้านรูปแบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้เหมาะกับแต่ละพื้นที่

    4. ด้านประชากรสตรีกลุ่มเป้าหมาย

    5. ด้านการส่งเสริมการสร้างพลังชุมชนเพื่อต้านภัยมะเร็งปากมดลูก

พื้นที่รับผิดชอบ : 

   1. ศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จำนวน 25 แห่ง

    2. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 96 คน

   3. ประชากรสตรีอายุ 35 - 60 ปี จำนวน 36,496 คน

   4. ประชากรสตรี อายุ 35 40 45 50 55 60 ปี จำนวน 5,814 คน

ว ิธีการดำเนินงาน :

1. พัฒนาเจ้าหน้าที่  จัดอบรมเสริมความรู้ และทักษะความมั่นใจโดยเน้นความต้องการ และการนำไปปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เป็นหลัก ได้นำการให้ความรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) มาเป็นแนวทางในการจัดอบรมและเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management)ในผู้ปฏิบัติ โดยแบ่งเป็น

1.1 ตั้งทีมพัฒนา หรือคณะทำงานมะเร็งปากมดลูกของอำเภอเมือง พิษณุโลก ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจากทั้งโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพิษณุโลก และศูนย์สุขภาพชุมชน เพื่อร่วมค้นหาอุปสรรคปัญหา หาแนวทางแก้ไข รวมถึงพัฒนางานให้บรรลุตามเป้าหมาย

1.2 พัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่

   - การพัฒนาด้านความรู้ เรื่องโรค สาเหตุ การดำเนินโรค แนวทางการักษาแบบต่างๆ  เช่นผ่าตัด เคมีบำบัด การฉายแสง เป็นต้น รวมถึงการส่งต่อ และการดูแลผู้ป่วยเมื่อกลับมาอยู่ที่บ้าน

    - การฝึกทักษะ

    ขั้นตอนที่ 1 การสอนสาธิตกับหุ่น

    ขั้นตอนที่ 2 ฝึกปฏิบัติจริงกับผู้รับบริการในศูนย์สุขภาพชุมชน โดยมีทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเป็นพี่เลี่ยง ควบคุม นิเทศ ติดตามอย่างใกล้ชิด จนมีความมั่นใจในการตรวจ pap smear สามารถตรวจได้อย่างถูกต้อง และเมื่อพบปัญหาในการตรวจ สามารถโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ตลอดในเวลาราชการ

นพ.วิโรจน์  วรรณภิระ แพทย์เฉพาะทางสูตนรีเวชกรรม

    ขั้นตอนที่ 3 ฝึกปฏิบัติการเยี่ยมผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก โดยทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเป็นพี่เลี้ยงร่วมเยี่ยมบ้าน จนเจ้าหน้าที่สามารถเยี่ยมบ้านเองได้อย่างถูกต้องและมีการนิเทศติดตามเป็นระยะ

    - จัดทำคู่มือการแปลผล และการดูแลรักษาเบื้องต้นสำหรับเจ้าหน้าที่ในศูนย์สุขภาพชุมชน

   - จัดชุดเครื่องมือแพทย์ (speculum) จำนวน 150 เครื่อง ไว้เป็นอุปกรณ์กลางสำหรับศูนย์สุขภาพชุมชนยืมในการจัดรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

    ขั้นตอนที่ 4 สนับสนุนการจัดตั้งคลินิกตรวจมะเร็งปากมดลูกในศูนย์สุขภาพชุมชนโดยเปิดดำเนินการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วันทุกแห่ง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่จัดตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง

ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบด้านความรู้ ทักษะและความมั่นใจของเจ้าหน้าที่ก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติ

  

การพัฒนาบุคลากร 

ก่อนการฝึกอบรม(ร้อยละ)

หลังการฝึกอบรม (ร้อยละ)

พ.ศ.2546

พ.ศ.2547

พ.ศ.2548

1. ความรู้

67.4

81.2

86.8

2. ทักษะ

52.3

72.9

80.2

3. ความมั่นใจ

24.9

79.3

85.6

2. พัฒนาระบบส่งต่อการรักษาอย่างต่อเนื่องระหว่างโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลกกับศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายฯ

   2.1 จัดทำแนวปฏิบัติในการส่งต่อการรักษาอย่างครบวงจร โดย PCT  ทีมมะเร็งปากมดลูกและมีการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การส่งต่อถูกต้อง รวดเร็ว เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสะดวกในการนำไปปฏิบัติมากที่สุด

   2.2 พัฒนาวิธีส่งต่อ ดังนี้ คือ

   - จากการส่ง Slide pap smear มารวมกันที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง และรวบรวมส่งอ่านผลที่แผนกพยาธิกายวิภาค โรงพยาบาลพุทธชินราช เดือนละครั้ง เปลี่ยนเป็นมีรถรับ-ส่ง Slide pap smear และผลการตรวจให้แก่ศูนย์สุขภาพชุมชนสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

    - จากแบบรายงานภาษาอังกฤษที่อ่านแปลผลยาก เปลี่ยนเป็นภาษาไทย เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถแปลผล ให้การรักษาเบื้องต้น และส่งต่อการรักษา อย่างถูกต้อง รวดเร็ว

แบบรายงานภาษาไทย             คู่มือการดูแลแบบครบวงจร

   - พัฒนาระบบการส่งต่อข้อมูลเยี่ยมบ้านทางอินเตอร์เนตระหว่างหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล กับศูนย์สุขภาพชุมชนเพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกได้รับการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องครบวงจร และรวดเร็วเหมาะสมกับสภาพปัญหาของผู้ป่วย

   3. พัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่
   เนื่องจาก พื้นที่รับผิดชอบมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ ประชากร และข้อจำกัดในการให้บริการ ดังนั้น การพัฒนารูปแบบการให้บริการตามความจำเป็นในพื้นที่ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน และทรัพยากรที่มีอยู่โดยใช้รูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

  3.1 รูปแบบรวมพื้นที่และเจ้าหน้าที่ (zoning) นำมาใช้ในศูนย์สุขภาพชุมชนที่เจ้าหน้าที่มีจำนวนน้อย

เจ้าหน้าที่สตรีจากศสช.บ้านจอมทอง,แหลมโพธิ์,ท่าทอง
มาช่วยตรวจที่ศสช.ไผ่ขอดอน ที่มีเจ้าหน้าที่สตรีคนเดียว

  3.2 รูปแบบสร้างแรงจูงใจ (motivation) ใช้ในชุมชนที่ยากจน ด้อยโอกาส และความร่วมมือต่ำ

รางวัลจูงใจให้มารับการตรวจ pap smear ศสช.ท่าทอง

   3.3 รูปแบบบริการเคลื่อนที่ (mobile) ใช้ในชุมชนที่มีขนาดใหญ่ พื้นที่กว้างขวาง และศูนย์สุขภาพชุมชนอยู่ห่างไกลจากชุมชน

ศสช.อรัญญิกจัดให้บริการในชุมชน
  3.4 รูปแบบผสมผสาน(combine) เลือกใช้ตามสถานการณ์ และภาวะแวดล้อม โดยใช้รูปแบบต่างๆรวมกันเพื่อให้เหมาะสมที่สุด

 ตารางที่ 2 อัตราการเลือกใช้รูปแบบต่างๆของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในชุมชน

   <table border="1" cellspacing="0" cellpadding="0" class="MsoTableGrid" style="border-collapse: collapse; border: medium none"><tbody>

รูปแบบของการบริการ

จำนวน ศสช.

ร้อยละ

1. รวมพื้นที่และเจ้าหน้าที่

13

52

2. สร้างแรงจูงใจ

3

12

3. บริการเคลื่อนที่

2

8

4. ผสมผสาน

7

28

   รวม

25

100

</tbody></table><p> ตารางที่ 4 อัตราความครอบคลุมจากการใช้รูปแบบต่างๆของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในชุมชน
</p> <table border="1" cellspacing="0" cellpadding="0" class="MsoTableGrid" style="border-collapse: collapse; border: medium none"><tbody>

รูปแบบ              การบริการ                

ก่อนใช้        พ.ศ.2547 (ร้อยละ)

หลังใช้         พ.ศ.2548  (ร้อยละ)

อัตรา            การเพิ่ม     (ร้อยละ)

เป้าหมาย(ร้อยละ)

1. รวมพื้นที่และเจ้าหน้าที่

52.1

69.5

17.4

 50*  

2. สร้างแรงจูงใจ

32.7

50.8

18.1

3. บริการเคลื่อนที่

10.1

25.6

15.5

4. ผสมผสาน

35.5

50.7

15.2

</tbody></table>  <p align="center"></p>

4. ส่งเสริมการให้ความรู้ และความเข้าใจในเรื่องมะเร็งปากมดลูกและแนวทางการป้องกันรักษาที่ถูกต้องแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย

  4.1 จัดรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในศูนย์สุขภาพชุมชนพร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับโรค  การรักษา ผลกระทบ รวมถึงการป้องกันที่ถูกต้อง

หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว
ร่วมให้ความรู้ในการรณรงค์ฯที่ ศสช.ดอนทอง

  4.2 สอนสาธิตขั้นตอน วิธี การตรวจ pap smear ที่ถูกต้อง ว่าใช้เวลาไม่นาน และไม่เจ็บปวด รวมถึงการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจคัดกรองแก่แกนนำชุมชน อสม. และกลุ่มเป้าหมาย

  4.3 ให้ความรู้ความเข้าใจที่ดีและถูกต้องแก่ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก (Good model) และสนับสนุนให้เป็นครู ก ในการให้ความรู้สร้างความตระหนักแก่กลุ่มเป้าหมายในการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

การให้ความรู้/คำแนะนำจากผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก

   4.4 มีการให้ความรู้ทางหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านโดยแกนนำชุมชน

  4.5 การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่นวิทยุชุมชน วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดพิษณุโลก วิทยุชุมชน รวมถึงโทรทัศน์ท้องถิ่น

5. ส่งเสริมการสร้างพลังชุมชนเพื่อต้ายภัยมะเร็งปากมดลูก
    เนื่องจากการสอนและให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องมะเร็งปากมดลูก โดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียว ไม่สามารถทำให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกได้อย่างครอบคลุม เพราะการขาดความตระหนัก กลัวเจ็บ และความอายเป็นสาเหตุหลัก จึงเกิดแนวคิดในการสร้างพลังชุมชนเพื่อต้านภัยมะเร็งปากมดลูกขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวมกลุ่มอาสาสมัครที่เห็นความสำคัญของโรคและการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยทีมสุขภาพสนับสนุนในด้านวิชาการ เพื่อความรู้ความเข้าใจที่ดี เข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกครบทุกคน แล้วขยายผลให้กลุ่มอาสาสมัคร เป็นพลังชุมชนในการไปให้ความรู้ สร้างความตระหนัก ชักชวนให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมารับการตรวจ ติดตามผู้ตรวจพบความผิดปกติ หรือผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามนัด และการเยี่ยมบ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่ เป็นต้น ซึ่งใน ปี 2548 ที่เริ่มดำเนินการได้สร้างพลังชุมชน "ชมรมรวมใจต้านภัยมะเร็ง" ขึ้นมา 4 แห่ง ซึ่งผลการดำเนินกิจกรรมได้ผลดีและต่อเนื่อง ทำให้เกิด กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน พร้อมทั้งสร้างจิตสำนึกและร่วมเป็นเจ้าภาพ เพื่อทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมลงมือทำ ร่วมประเมินผล และร่วมนำเสนอผลงาน เพื่อนำไปสู่การเป็นพลังชุมชนที่เข้มแข็ง ต่อเนื่อง และยั่งยืนต่อไป

ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการบริการปฐมภูมิรพ.พุทธฯ
กล่าวเปิดชมรมรวมใจต้านภัยมะเร็งฯดอนทอง
นายก อบต.สมอแขเป็นประธานเปิดชมรม
หมายเลขบันทึก: 37694เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2006 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
บันทึกได้ละเอียดครบถ้วนดีครับ อยากให้พวกเราที่ทำงานด้านนี้ได้อ่านแล้วแลกเปลี่ยนกันบ้าง
    ขอชื่นชมที่คุณสุนันทาเป็นคนที่มีความสามารถในการบูรณาการทั้งด้านความองค์ความรู้ และประสบการณ์ มาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
ขอบคุณค่ะ ถือเป็นกำลังใจในพัฒนาตนเองต่อไป

ช่วยลงการแปลผลภาษาไทยให้ใหญ่กว่านี้่ได้ไหมคะ

อ้อมฤทัย พรมพิมพ์

ขอชื่นชมในความสามารถ และความตั้งใจจริงในการทำงานในชุมชนจนประสบความสำเร็จค่ะ

ทำได้ดีมากนะคะ และปัญหา คือกลัวเจ็บ และอาย ไม่หายใช่มั้ยคะ

คนที่กลัวมะเร็งและมาตรวจสม่ำเสมอ ก็ยังคงเป็นคนเดิม คนที่ ไม่มาตรวจ ก็ไม่มาเหมือนเดิม

มันทำได้แค่ช่วงเวลานึงเท่านั้น การให้บริการแบบเคลื่อนที่เป็นวิธีที่ค่อนข้างดี แต่ จะทำให้ประชาชน ลืมไปว่าต้องมาตรวจที่โรงพยาบาลนะ ไม่ใช่รออยู่ที่บ้านอย่างเดียว

เจ๋งมาก ยกนิ้วให้นะคะ

เป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ เป็น KM ที่นำไปต่อยอดได้ ส่วนที่ รพช.เกาะกูด การทำ mobile เคลื่อนที่ ในชุมชนยังไม่ประสบความสำเร็จ เราจึงหันมาใช้การเคาะประตุบ้านเหมือนเดิม พบว่าผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น หลังจากที่เคยใช้มาหลายวิธี หรือชาวบ้านอาจจะเกรงใจส่วนหนึ่ง หมอมาถึงบ้านแล้ว จะไม่ตรวจก็ยังไงอยู่ แต่ส่วนที่ไม่ตรวจก็ยังมีบ้าง แต่ก็น้อยลง ซึ่งกลวิธีน่าจะขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่นะคะ เกาะกูด สภาพพื้นที่เป็นเกาะ มีถนนจริง แต่ประชาชนที่ไม่มียานพาหนะก็ยังเดินทางไม่สะดวก สู้ พวกเราลงพื้นที่เองดีกว่า ได้หลายงานด้วย

ขอชื่นชมค่ะ   ......นำไปเขียนวิจัย R2R แล้วเผยแพร่ จะมีประโยชน์ต่อผู้รับบริการค่ะ

ร่วมกันพัฒนาดีมากค่ะ เป็นหัวข้อที่สนใจเพื่อประเมินและคัดกรองมะเร็งในระยะแรกๆได้ดี ดังนั้น แพนจึงสนใจในการนำมาพัฒนารูปแบบการทำวิจัยในชุมชนของตนเอง จึงขอปรึกษาในการทำหรือข้อมูลบางอย่างได้ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท