กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ


วิกฤตเศรษฐกิจไทยกับ IMF

 วิกฤตเศรษฐกิจไทยกับ IMF      

              

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
International Monetary Fund – IMF
 ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ International Monetary Fund (IMF) คือองค์กรที่รัฐบาลของกลุ่มประเทศพันธมิตรได้ร่วมก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยถือกำเนิดขึ้นจากการประชุม United Nations Monetary and Financial Conference หรือที่เป็นที่รู้จักดีในนามของ Bretton Woods Conference ตามสถานที่จัดประชุม คือ Bretton Woods, New Hampshire, USA ในช่วงวันที่ 1-22 กรกฎาคม 2487 (ค.ศ. 1944) มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลเสถียรภาพของระบบการเงินระหว่างประเทศ อันจะเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของการค้าโลก และเป็นพื้นฐานสำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุนในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก IMF เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2489 (ค.ศ. 1946) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี และมีฐานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ
 วัตถุประสงค์และบทบาท
    1. สนับสนุนความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศผ่านสถาบันถาวร ซึ่งเป็นเวทีการหารือและร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาการเงินระหว่างประเทศ
    2. สนับสนุนให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัวอย่างสมดุล เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน รายได้ ตลอดจนพัฒนาการทางการผลิตในระดับสูง
    3. เสริมสร้างเสถียรภาพในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ และป้องกันการแข่งขันกันลดค่าเงิน (competitive devaluation) เพื่อชิงการได้เปรียบทางการค้า
    4. ดูแลให้ประเทศสมาชิกมีระบบการชำระเงินระหว่างประเทศที่มีระเบียบ โดยหลีกเลี่ยงการมีข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับการปริวรรตเงินตรา หรือการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อให้นำไปสู่ระบบเสรี
    5. ให้ความสนับสนุนด้านการเงินแก่ประเทศสมาชิก ในการปรับฐานะดุลการชำระเงินให้ดีขึ้น โดยไม่ต้องใช้มาตรการต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียทั้งต่อเศรษฐกิจของประเทศนั้นและประเทศสมาชิกอื่น ๆ โดยส่วนรวม เช่น การตั้งข้อจำกัดทางการค้าและการชำระเงิน เป็นต้นล
    6. ลดความไม่สมดุลในดุลการชำระเงินระหว่างประเทศของประเทศสมาชิก
แหล่งเงินทุน
เงินทุนหรือที่ IMF ใช้คำว่า ทรัพยากร (resources) ได้มาจากการชำระเงินค่าโควตาของประเทศสมาชิกเป็นสำคัญ นอกจากนั้น ยังได้จากการกู้ยืมจากรัฐบาลของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม 11 ประเทศ (G-10) ภายใต้ข้อตกลงเงินกู้ระหว่างกันที่เรียกว่า General Arrangements to Borrow (GAB) และ New Arrangement to Borrow (NAB) ซึ่งเป็นการกู้ยืมเงินจากกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม G10 และครอบคลุมถึงประเทศเกิดใหม่ (emerging markets) ที่มีฐานะมั่นคงด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถกู้เงินจากรัฐบาลหรือองค์กรทางการเงินของประเทศสมาชิกเพื่อโครงการเงินกู้เฉพาะการ (specific programs) ซึ่งเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อสมาชิก
  
             เมื่อ 40 ปีที่ผ่านมาแนวคิดในการพัฒนาประเทศของเราถูกกำหนดโดยองค์การแฝดคือ IMF และธนาคารโลก (World Bank) เป็นการพัฒนาโดยตั้งพื้นฐานที่การส่งออก (Export oriented) ซึ่งทำให้ต้องพึ่ง "ทุน , เทคโนโลยี และ ตลาด" จากต่างชาติ ซึ่งความแนวความคิดนี้ได้เข้ามาแทนที่ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง (Sustained economy)
ของไทยเป็นผลทำให้ประเทศไทยเดินหน้าเข้าสู่ความเจริญอย่างรวดเร็วแต่ไม่นานประเทศไทยก็ต้องดิ่งลงสู่วิกฤติ
การณ์ทางเศรษฐกิจ อันรุนแรงดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้ แล้ว IMF จะมีส่วนช่วยเหลืออย่างไรกับสถานการที่เกิดขึ้น                       
             เป้าหมายของ IMF คือการสอดส่องดูแลดุลการชำระเงินระหว่างประเทศของแต่ละประเทศให้สมดุล โดยมีกองทุนกลางพร้อมที่จะให้ประเทศที่มีปัญหาการขาดดุลชำระเงินได้ทำการกู้ยืม 
เพื่อทำให้ดุลชำระเงินระหว่าง
ประเทศเข้าที่   ค่าของเงิน หรือ อัตราแลกปลี่ยนเงินจะได้ไม่ผันผวนเป็นอุปสรรคต่องการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเคยทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในศตวรรษที่ 1930   และเป็นสาเหตุแห่งการเกิดสงครามโลก แต่เบื้องหลังลึก ๆ คือ อเมริกาต้องการหลักประกันค่าเงิน ที่มีมูลค่าจริงคืนกลับในการปล่อยกู้เพื่อฟื้นฟูประเทศที่ได้รับความเสียหายจากสงครามและ การขายสินค้า กองทุนIMFมาจากเงินลงขันของประเทศสมาชิกที่คิดโควต้าตามสัดส่วนปริมาณการค้าระหว่างประเทศของแต่ละประเทศ สำหรับเงินลงขันนั้น ต้องใช้ทองคำแท่งสำรอง คิดเป็นร้อยละ 25 ของยอดเงินลงขันของตน   ส่วนอีกร้อยละ 75   ใช้เงินตราสกุลของแต่ละประเทศ
     การขอกู้เงิน ช่วงแรกประเทศสมาชิกขอกู้ได้เพียงร้อยละ 125 ของโควต้าเงินลงขันของตน นั่นคือ   กู้เงินลงขันทั้งหมดของตน บวกกับอีกร้อยละ 25 ของจำนวนเงินลงขัน แต่ในปัจจุบัน IMF ได้เพิ่มวงเงินกู้ให้กู้ได้เป็นร้อยละ 150   และสามารถกู้ได้ติดต่อกันอีกถึง 3 ปี จึงกลายเป็นร้อยละ 600 หรือ 6 เท่า ของเงินลงขันใน 3 ปี สำหรับประเทศที่มีเงินลงขันไม่พอ ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยในส่วนต่างของโควต้าของตนด้วย        การที่ประเทศต่าง ๆ ได้ขอกู้เงินจาก IMF นั้น ทำให้เกิดคำถามตามมานั่นคือ "IMF คือนักบุญหรือ ปิศาจกันแน่" ประเทศที่วิ่งเข้าหาขอกู้เงินจากไอเอ็มเอฟ คือ ประเทศที่จนตรอกแล้วอย่างสิ้นเชิง ธนาคารเอกชน หรือ ธนาคารพาณิชย์ระหว่างชาติก็ไม่กล้าปล่อยเงินกู้ แต่ถ้าให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของไอเอ็มเอฟก่อนจึงจะยอมปล่อยเงินกู้ตาม ดังนั้น การวิ่งเข้าหา IMF ในสายตาของนานานชาติ หรือ ในสายตาของธนาคารระหว่างประเทศจึงไม่ใช่เรื่องของการได้รับความเชื่อถือแต่ตรงกันข้ามมากกว่า
   มาตรการคลาสสิคของไอเอ็มเอฟ
    ประการแรก   คือ
การตั้งเงื่อนไขการใช้นโยบายการเงินมาแทนที่นโยบายการคลังโดยการสั่งลดงบประมาณเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ และการขาดดุล ซึ่งผลด้านกลับคือ   เกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงันเป็นลูกโซ่   เพราะภาครัฐเป็นภาคที่มีเงินมากที่สุด การลดงบประมาณก็หมายความว่าข้าราชการจะไม่ได้รับการเลื่อนขั้น อาจจะถูกตัดบำเหน็จ บำนาญ หรือ ถูกปลดก็เป็นได้
      มาตรการที่สอง คือ การบีบให้ลดค่าเงิน ซึ่งจะทำให้นักลงทุนต่างชาติเดินเรียงคิวเข้ามาซื้อหุ้น และทรัพย์สินทุกอย่างที่ขวางหน้าในราคาถูก เช่น หุ้นธนาคาร หุ้นบริษัทเงินทุน หุ้นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีกำไรมหาศาล ถ้ามีการบริหารที่ดีและไม่มีการคอรัปชั่น การลดค่าเงินจะทำให้ราคาวัตถุดิบพื้นฐานมีราคาถูก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศอุตสาหกรรมด้วย
     มาตรการที่สาม คือการขึ้นราคาค่าสาธารณูปโภคซึ่งจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อตามมา
อันเป็นการสวนทางกับนโยบายการควบคุมเงินเฟ้อ
      มาตรการที่สี่ คือ การสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดี คือ การเสนอออกกฎหมายห้ามการนัดหยุดงาน
      มาตรการที่ห้า คือ การยกเลิกเงื่อนไขการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินตราต่างประเทศ หรือ เรียกว่าการเปิดเสรีทางการเงินเพื่อ เปิดให้ทุนต่างชาติที่ใหญ่กว่าเข้ามาเก็งกำไรในระยะสั้นและ ถอนตัวอย่างรวดเร็ว  
      มาตรการที่หก คือ การเสนอลดภาษีการนำเข้า ยกเลิกกำแพงภาษีเพื่อคุ้มครองผู้ผลิตในประเทศ ซึ่งจะทำให้การขาดดุลการค้าสูงขึ้น
      มาตรการที่เจ็ด คือ การบงการให้ธนาคารตัด หรือ ลดสินเชื่อตัดวงเงิน โอ.ดี. ซึ่งจะทำให้ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็กล้มละลาย โรงงานทั้งขนาดกลางและ ขนาดเล็กต้องปิดกันเป็นแถว จะเกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน หรือ เศรษฐกิจตกต่ำ มีแต่ทุนใหญ่เท่านั้นที่จะอยู่ได้ ช่องว่างระหว่างคนมีและคนจนจะถูกถ่างให้ห่างขึ้น ซึ่งผลของนโยบายเหล่านี้ดูเหมือนเป็นเจตนาดีของ IMF นั้น แต่กลับส่งผลตรงกันข้ามและก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายทางสังคมตามมาและเกิดภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง รวมทั้งการขยายตัวของภาวะการว่างงานอย่างกว้างขวางทั่วหน้า ปัญหาโจรผู้ร้าย และปัญหาอาชญากรรมจะตามมา  

หมายเลขบันทึก: 37691เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2006 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อยากรู้จังเลยว่า ในความคิดของคุณสุวิชาคิดว่าถ้าไทยไม่กู้เงินIMFแล้วไทยจะเป็นอย่างไร

       ถ้าประเทศไทยไม่ได้กู้เงินจาก IMF ประเทศไทยอาจจะประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจยาวนานและย่ำแย่กว่านี้เนื่องจาก IMF ได้ให้ความช่วยเหลือทั้งทางด้านการเงินและวิชาการ ทางด้านความช่วยเหลือด้านการเงิน IMF ได้เตรียมทรัพยากรไว้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกภายใต้โครงการเงินกู้ (facility) หลายชนิดตามลักษณะปัญหาดุลการชำระเงินแต่ละกรณี โดยประเทศที่ขอความช่วยเหลือจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ IMF จึงจะได้รับอนุมัติเงินกู้ ทางด้านความช่วยเหลือด้านวิชาการ IMF จะมีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือกับประเทศสมาชิกเพื่อทบทวนสถานการณ์และนโยบายเศรษฐกิจการเงินของสมาชิกเป็นประจำทุกปี (Article IV Consultation) นอกจากนี้ IMF จะจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไปทำการศึกษาและให้ข้อเสนอแนะด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การจัดองค์งาน และการทำรายงานสถิติ  ซึ่งประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการได้รับความช่วยเหลือจาก IMF ได้แก่ ด้านวิชาการ คือการได้รับคำแนะนำด้านการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เพื่อแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงิน เพื่อให้เศรษฐกิจปรับสู่เสถียรภาพโดยเร็วที่สุด , ประโยชน์ทางอ้อม คือ สร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาด และอาจช่วยให้ประเทศสามารถกู้ยืมเงินจากตลาดทุนเอกชนได้เองเร็วขึ้น ฯลฯ

แล้วคุณปารินุชมีความคิดเห็นอย่างไรหากประเทศไทยประสบภาวะเศรษฐกิจแล้วไม่มีกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ให้ความช่วยเหลือ??

ถ้าหากประเทศไทย ไม่ได้เงินช่วยเหลือจาก IMF อาจจะเกิดภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำและเกิดปัญหาทางด้านสังคม เช่นทำให้ตกงานเป็นจำนวนมาก และเกิดหนี้ /อุ๋ย

 

 

ใช่แล้วครับ เมื่อสิบปีที่แล้วเป็นช่วงที่ประเทศไทยและอีกหลายๆประเทศ เกิดวิกฤตการทางเงินครั้งรุนแรง สถาบันการเงินหลายๆแห่งได้หยุดชะงัก บางแห่งก็ถึงกับต้องปิดกิจการไป  อธิบายแบบนี้คงจะไม่เห็นภาพ เอาเป็นว่าใครที่กู้เงินในตอนนั้น ธนาคารไม่สามารถปล่อยกู้ต่อได้ ทำให้ผู้กู้หลายรายต้องพลอยได้รับผลกระทบ(ประมาณว่า เงินไม่มางานไม่เดินของไม่มีเป็นหนี้พร้อมเลย สุดท้ายก็ต้องโดนยึดไป และยังมีหลายๆโครงการที่ต้องถูกทิ้งร้าง) แต่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็เห็นจะเป็นกลุ่มของธนาคารนี่ล่ะ ซึ่งธุรกิจประเภทนี้ส่วนใหญ่แล้วจะมีหนี้เป็นดอลล่าร์ จึงทำให้ได้รับผลกระทบมากที่สุด แต่ถ้าเราไม่ได้รับเงินกู้จากไอ.เอ็ม.เอฟ เราอาจจะมีสภาพที่ไม่แตกต่างกับบางประเทศในแถบอเมริกาใต้ ซึ่งตอนนี้ใกล้จะเป็นประเทศที่ล้มละลายเข้าไปทุกทีแล้ว เป็นประเทศที่ไม่มีใครอยากจะไปลงทุน หรือแค่คิดจะไปลงทุนก็เสียไปมากกว่าครึ่งแล้ว (อันนี้เกินไปหรือป่าว?) ไม่เกินไปหรอกครับ เพราะว่าการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงหย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดีเป็นแน่ อันที่จริงแล้วยังมีเหตุผลอีกมากมายที่ทำไม?ประเทศไทยของเราจึงต้องกู้เงินจากไอ.เอ็ม.เอฟด้วย งั้นเอาไว้โอกาสหน้าดีกว่า ถ้าโพสต์ยาวไปคงจะขี้เกียจอ่านกันแน่ๆ (อธิบายได้ละเอียดดี อ่านแล้วชวนให้คิดถึงตอนที่กำลังเรียนอยู่ คุณเจ้าของบล๊อกยังเรียนอยู่ใช่หรือป่าวเอ่ย? ถ้าเรียนอยู่ก็ขอให้จบไวๆล่ะกันนะครับ สู้ๆ.. )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท