ภาวะผู้นำที่มีคุณภาพของผู้บริหารดีเด่นโรงเรียนประถมศึกษา


ภาวะผู้นำที่มีคุณภาพของผู้บริหารดีเด่นโรงเรียนประถมศึกษา

ภาวะผู้นำที่มีคุณภาพของผู้บริหารดีเด่นโรงเรียนประถมศึกษา

ชลี แต่รุ่งเรือง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยศิลปากร.2542

สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 

      รูปแบบการบริหาร และระบบโครงร่างการบริหารในรูปของการบริหารงานแบบองค์คณะบุคคลให้ครูมีส่วนร่วมในการบริหาร ตั้งแต่ระดับชาติมาถึงระดับโรงเรียน โดยมีความมุ่งหวังให้เกิดเอกภาพและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา ตลอดจนเป็นการกระจายอำนาจไปสู่ส่วนภูมิภาคมากยิ่งขึ้น ในงานของการจัดการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมายังประสบปัญหาหลายประการ เช่น คุณภาพของนักเรียนที่เข้าสู่ระบบประถมศึกษายังไม่เป็นที่น่าพอใจในด้านสุขภาพและความพร้อม คุณภาพนักเรียนที่จบประถมศึกษาในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณภาพองค์ประกอบที่มีผลกระทบต่อการจัดการศึกษาโดยเฉพาะผู้บริหาร ครู ความร่วมมือจากชุมชน และการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นไม่เป็นที่น่าพอใจ เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้ว พบว่าปัญหาเหล่านี้ล้วนเกิดจากการบริหารงาน ซึ่งแสดงถึงพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนด้านประสิทธิภาพ

ผู้บริหารโรงเรียนเป็นตัวการสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล การจัดการศึกษา สาเหตุเฉพาะที่เกิดจากผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารโรงเรียนไม่ทราบบทบาทหน้าที่ของตน 2) ผู้บริหารโรงเรียนใช้เวลาอยู่นอกโรงเรียนมากเกินความจำเป็น 3) การวางแผนงานบริหารมีน้อยที่มีก็มักไม่ได้มีการปฏิบัติตามแผนการบริหาร 4) ผู้บริหารโรงเรียนประะเมินผลการปฏิบัติงานโดยยึดความเห็นส่วนตัวมากกว่าระบบคุณธรรม 5) ผู้บริหารโรงเรียนยังขาด สมรรถภาพด้านมนุษยสัมพันธ์ การสร้างบรรยากาศในการบริหาร และการจัดระบบการเรียนการสอน 6) ผู้บริหารโรงเรียนไม่เข้าใจงานวิชาการ และกระบวนการบริหารงานวิชาการ ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรไม่บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา โดยการพัฒนาคุณภาพผู้บริหารเป็นอันดับแรก

สรุปผลวิจัย พบว่า

ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำ ที่มีคุณภาพในลักษณะรวมทั้ง 10 ประการ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาดีเด่นอยู่ในระดับสูง ยกเว้นในเรื่องการมองการณ์ไกล ที่อยู่ในระดับ ปานกลางขณะที่ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาอื่นมีคุณภาพในลักษณะรวมอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นการมองการณ์ไกลที่มีคุณภาพอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพภาวะผู้นำ ระหว่าง ผู้บริหารทั้ง 2 กลุ่มนี้ ปรากฏว่ามีความแตกต่างกัน โดยผู้บริหารโรงเรียนดีเด่น มีคุณภาพภาวะผู้นำสูงกว่า ทั้งลักษณะรวมและลักษณะย่อย 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 376129เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2010 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท