ลักษณะผู้นำที่ดี (Good Leadership)


ลักษณะผู้นำที่ดี (Good Leadership)

            ลักษณะผู้นำที่ดี (Good Leadership)

                ผู้นำที่ดีในทรรศนะของคนไทย

ทรรศนะที่ 1 “3 ค” ครองตน ครองคน ครองงาน

ทรรศนะที่ 2 “4 ภ” ภูมิรู้ ภูมิธรรม ภูมิฐาน ภูมิปัญญา

ทรรศนะที่ 3 “4 ท” ทันคน ทันงาน ทันเหตุการณ์ ทันสมัย

                เกณฑ์มาตรฐานที่ดีของผู้นำ "ในฝัน" นั้นก็ควรจะออกมาในลักษณะนี้

1. แสดงความเป็นของแท้ (Authenticity) ความเป็นของแท้จะถูกพิสูจน์ด้วยเงื่อนไขของเวลา คือ

ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ต้องคงไว้ ซึ่งความเป็นของแท้ที่ดีอยู่นั่นเอง ที่สำคัญต้องไม่มีสิ่งใดมา

โน้มน้าว หรือบั่นทอนลงได้

2. การมีวิสัยทัศน์(Vision) ผู้นำยุคใหม่ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นประเด็นในการพยายามสร้าง

ภาพว่าตนเองมี "วิสัยทัศน์" มากกว่าคุณลักษณ์อื่นๆ เนื่องจากว่า "วิสัยทัศน์" นั้นจะสะท้อนความเป็นคน

ทันสมัย มีมุมมองที่กว้างไกล

3. ต้องมีความกล้าตัดสินใจ (Decisiveness) เป็นสิ่งที่จำเป็นมากความเด็ดขาดเป็นสิ่งที่

สังคมไทยต้องการ แต่การกล้าตัดสินใจที่ดี นั้นต้องขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ส่วนรวมไม่ใช่ส่วนตน

4. แสดงความใส่ใจ (Focus) คุณลักษณะข้อนี้เป็นการ "ซื้อใจ" ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างแท้จริง เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากและมักได้ผลเสมอทุกครั้ง สามารถเปลี่ยนความตึงเครียดให้ผ่อนคลายได้

 5. สร้างความรู้สึกประทับใจเป็ นส่วนตัว (Personal touch) ต้องมีพื้นฐานจากความจริงใจในการแสดงออก ต้องสม่ำเสมอสร้างความรู้สึกด้านบวก

6. มีความสามารถในการสื่อสาร (Communication & people skills) เป็นสิ่งที่ผู้นำในสังคมไทยทุกระดับ

ยังขาดอยู่ เพราะการสื่อสารเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการเป็นผู้นำที่มีคุณภาพสื่อสารอย่างไรให้เข้าถึง เข้าใจ และเกิดการยอมรับ

7. การพัฒนาตนเองอยู่เสมอ (Ever forward) การยอมรับการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงและส่งเสริมศักยภาพของตนเองตลอดเวลา การเป็นผู้ฟังที่ดี การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมโดยรวม

               พระธรรมปิ ฎก ได้พูดถึงคุณสมบัติของผู้นำจะต้องมีธรรม 7 ประการ ที่เรารู้จักกันในนาม สัปปุริสธรรม 7 กล่าวคือ

1. รู้หลักการ เมื่อดำรงตำแหน่ง มีฐานะ หรือจะทำอะไรก็ตาม ต้องรู้ หลักการ รู้งาน รู้หน้าที่ รู้

กฎเกณฑ์กติกาที่เกี่ยวข้องแล้วก็ยันให้อยู่ในหลักการ ตั้งตนอยู่ในหลักการให้ได้

2. รู้จุดหมาย ผู้นำถ้าไม่รู้จุดหมายก็ไม่รู้ว่าจะนำคน และกิจการไปไหนนอกจากรู้จุดหมาย มี

ความชัดเจนในจุดหมายแล้วจะต้องมีความแน่วแน่มุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงจุดหมายด้วย ข้อนี้เป็นคุณสมบัติที่

สำคัญมาก เมื่อใจมุ่งจุดหมาย แม้มีอะไรมากระทบกระทั้งก็จะไม่หวั่นไหว

3. รู้ตน ต้องรู้ตนเองคือใคร มีภาวะเป็นอย่างไรอยู่ในสถานะใด มีคุณสมบัติ มีความพร้อม มี

ความถนัด สติปัญญา ความสามารถอย่างไร มีกำลังแค่ไหน จุดอ่อนจุดแข็งเป็นอย่างไร ตรงนี้ทฤษฎี

การบริหารยุคใหม่ เขาบอกว่าให้เอา SWOT ANALYSIS เข้ามาจับดูก็ได้ (STRENGHT,

WEAKNESS, OPPORTUNITY, THREAT)

4. รู้ประมาณ คือ รู้จักความพอดี หมายความว่า ต้องรู้จักขอบเขตขีดขั้นความพอเหมาะที่จะ

จัดทำในเรื่องต่าง ๆ ต้องรู้จักว่าในการกระทำนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ มีองค์ประกอบ หรือมีปัจจัยอะไร

เกี่ยวข้องบ้าง และจัดให้ลงตัวพอเหมาะพอดี

5. รู้กาล คือ รู้จักเวลาว่าเรื่องนี้จะลงชื่อตอนไหน เวลาไหนจะทำอย่างไรจึงจะเหมาะ แม้แต่

การพูดจาก็ต้องรู้จักกาลเวลา ตลอดจนรู้จักการวางแผนงานในการใช้เวลาซึ่งเป็นเรื่องใหญ่

6. รู้ชุมชน คือ รู้สังคมตั้งแต่ในขอบเขตที่กว้างขวาง คือ รู้สังคมโลก รู้สังคมของประเทศว่าอยู่

ในสถานการณ์อย่างไร มีปัญหาอะไร มีความต้องการอย่างไร แม้แต่ชุมชนย่อย ๆ ถ้าเราจะช่วยเหลือเขา

เราก็ต้องรู้ความต้องการของเขาเพื่อสนองความต้องการ ได้ถูกต้องหรือ แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด

7. รู้บุคคล คือ รู้จักบุคลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคนที่มาร่วมงานร่วมการไปด้วยกัน และคนที่เรา

ไปให้บริการตามความแตกต่างเฉพาะตัว โดยเฉพาะการใช้คน เพื่อใช้คนให้เหมาะกับงาน และให้เขาได้

ประโยชน์ด้วยการพัฒนาตนเอง

ธรรม 7 ประการ ซึ่งจัดลำดับข้อข้างต้นนั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในกรณีที่เป็นคุณสมบัติของ

สัปปุริสชน หรือบัณฑิตชนอย่างเป็นกลาง

แต่ในกรณีที่ตรัสให้เป็นคุณสมบัติของผู้นำโดยตรงทรงเปลี่ยนเป็นลำดับสลับข้อ 1 กับข้อ 2

ใหม่กล่าวคือ ผู้นำต้องรู้จุดหมาย เป็นข้อแรก แล้วจึงตามด้วยรู้หลักการ เป็นการเน้นที่ความมีจุดหมาย

และกำหนดจุดหมายหรือตั้งจุดหมายเจาะลงไปให้ชัด แล้วจึงวางหลักการและหาวิธีการที่จะทำให้สำเร็จ

บรรลุจุดหมายนั้น

               กล่าวโดยสรุป คุณลักษณะของผู้นำที่ดีที่ยกตัวอย่างมา จะพบว่าสังคมไทยยังขาดผู้นำที่มีลักษณะ

เหล่านี้อยู่ผู้นำบางคนมีลักษณะเกือบครบทุกประการผู้นำบางคนมีลักษณะของผู้นำที่ดีบางประการและ

ที่เลวร้ายไปกว่านั้นผู้นำบางคนถึงขั้นไม่มีข้อใดเลยการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ด้วยการปลูกฝังค่านิยมที่ดีงาม

ให้กับเด็กรุ่นใหม่ที่กำลังจะเติบโตขึ้น ด้วยการมองการเสียสละ ประโยชน์ส่วนตนทุกด้าน เห็นประโยชน์

ส่วนรวมเป็นหัวใจสำคัญ ก็จะทำให้สังคมไทยเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้นเพราะมีผู้นำรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ

เป็นผู้นำ "ในฝัน" อย่างแท้จริง

         ในอดีตลักษณะผู้นำที่ดีและเข้มแข็งนั้น จะมองเพียงในด้านกายภาพ บุคลิกภาพ ความรู้

ความสามารถ ความมั่งคั่ง และบารมี เท่านั้น แต่สำหรับในปัจจุบันที่เกิดการ เปลี่ยนแปลงด้าน

สภาพแวดล้อมอยู่ตลอดเวลาเป็นโลกไร้พรมแดน (Globalization) ผู้นำที่ดีและเข้มแข็งยังต้องมีวิสัยทัศน์

(Vision) ที่กว้างไกล มีการติดต่อสื่อสารในองค์การที่ดี ฯลฯ เพื่อที่จะนำองค์การไปสู่ความสำเร็จตามที่

เป้ าหมายได้ตั้งไว้ ขณะเดียวกันก็ต้องทำให้สมาชิกในองค์การเกิดความพึงพอใจ ในงานที่เขาทำด้วย และ

นอกจากนั้นยังต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ อีกหลายประการที่จะประกอบเป็นผู้นำที่ดี โดยเฉพาะการมีคุณธรรม

และจริยธรรม ซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

 

หมายเลขบันทึก: 376021เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2010 07:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท