ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง
นาย ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง (เอ) หลักเมือง

การจัดทำแผนชุมชน 1


แผนชุมชน แผนแก้ปัญหาชุมชนที่แท้จริง

เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แผนชุมชน (1)

ศุภัชณัฏฐ์  หลักเมือง
ผู้อำนวยการสถานศึกษา (เชี่ยวชาญ) กศน.อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
E-mail : [email protected]
*******************

                เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แผนชุมชนนี้  การจัดกิจกรรมต้องดำเนินการไปพร้อมกับการศึกษาชุมชน  (หากยังไม่มีการศึกษาชุมชน  แต่หากมีการศึกษาชุมชนแล้ว ก็เริ่มในขั้นตอน

ต่อไปได้ )  ซึ่งการศึกษาชุมชน เป็นบทบาทหน้าที่ของครู / วิทยากรอยู่แล้วเพราะว่า  การจะดำเนินกิจกรรมใด  ๆ  ในชุมชน  จำเป็นที่ต้องมีการศึกษาชุมชนเสียก่อน  การศึกษาชุมชนจึงต้องเป็นสิ่งแรกที่ครู / วิทยากร  ต้องดำเนินการ  การศึกษาชุมชนก็เพื่อให้รู้จัก  และเข้าใจชุมชนอย่างเป็น      องค์รวม  เช่น  บริบทของชุมชน  ทุนทางสังคมของชุมชน  สภาพปัญหา  และความต้องการ        ของชุมชน เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แผนชุมชน  การศึกษาชุมชน       ต้องมีความเชื่อพื้นฐานที่ว่า  แต่ละชุมชนนั้นไม่ได้ว่างเปล่า  หากแต่ละชุมชนจะมีทุนทางสังคม  ทรัพยากร พลังความสามารถ  พลังทางภูมิปัญญา  และพลังสร้างสรรค์  ที่สามารถนำมาแก้ไขปัญหาของชุมชนนั้น ๆ  ได้ ครู / วิทยากร เป็นเพียงผู้คอยกระตุ้น  ส่งเสริม  สนับสนุน  และเอื้ออำนวยให้เกิดพลังต่าง  ๆ  และกระบวนการเรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตชุมชน 

การเตรียมตัวก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แผนชุมชน     

                การเตรียมตัวก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อจัดทำแผนชุมชน พร้อม ๆ กับการศึกษาชุมชนนั้น  มีขั้นตอน  ดังนี้

                1.  การสร้างความคุ้นเคยกับชุมชน

                     การสร้างความคุ้นเคยกับชุมชน  เป็นสิ่งแรกที่  ครู  /  วิทยากร  ต้องทำเพื่อให้เกิดเป็นเสมือนส่วนหนึ่งของชุมชน  โดยอาจเริ่มจากการเข้าไปแนะนำตัวอย่างเป็นทางการในที่ประชุมหมู่บ้าน  การประชุมกลุ่มต่าง  ๆ  ในชุมชน  หรืออาจแนะนำตัวอย่างไม่เป็นทางการ  โดยการเข้าไปร่วมกิจกรรมต่าง  ๆ  ที่ชุมชนจัดขึ้น  การออกไปเยี่ยมชาวบ้านตามบ้านเรือน  พบปะพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายต่าง  ๆ  เช่น  กลุ่มผู้นำชุมชน  กลุ่มผู้สูงอายุ  กลุ่มสตรี  และกลุ่มเยาวชน  ฯลฯ  เป็นต้น

                     คำถามในการพูดคุยในระยะแรก  อาจเป็นการพูดคุย  ซักถาม  แลกเปลี่ยนความรู้ 

และประสบการณ์กับคนในชุมชน  เช่น  ความเป็นมาของชุมชน  ประวัติผู้นำชุมชนในอดีต  ของดีในชุมชน  การพูดคุยให้เป็นไปในลักษณะของการสร้างความคุ้นเคยในฐานะลูกหลานที่อยากเรียนรู้

ความเป็นมาของชุมชน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  การสร้างความคุ้นเคยโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  ซึ่งครู / วิทยากร  ควรทำตัวให้กลมกลืนกับชุมชนให้มากที่สุด  การสร้างความคุ้นเคยที่ดี

ไม่ได้หมายถึง  การให้คนในชุมชนรู้จักชื่อ  รู้จักหน้าตาว่าเป็นใครเท่านั้น  แต่รวมถึง  การที่ต้องสร้างความสัมพันธ์  และสร้างความศรัทธากับคนในชุมชน  จนถึงขั้นที่คนในชุมชนยอมรับว่าไม่ได้เป็นคนนอกชุมชน  อย่างไรก็ดี  การที่  ครู / วิทยากรจะอยู่ในชุมชน  ในฐานะคนในชุมชนได้นั้น  ก็คงไม่ใช่สิ่งที่จะยากจนเกินความสามารถ  ซึ่งอาจจะใช้เทคนิคง่าย  ๆ  ดังนี้     

                                1.1 วางท่าทีสงบเสงี่ยม ไม่ทำตัวให้เด่นจนผิดปกติ เพื่อไม่ให้คนในชุมชนรู้สึกว่าเราเป็นคนแปลกปลอม

                                1.2 หลีกเลี่ยงการถามคำถามที่จะทำให้คนในชุมชน  หรือผู้ตอบรู้สึกอึดอัด

                                1.3  อย่าทำตัวเสมอกับผู้นำชุมชน  หรือแสดงว่า  เป็นผู้รู้มากกว่าสมาชิกในชุมชน

                                1.4  พยายามเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ต่าง  ๆ  ที่เกิดขึ้นในชุมชนอย่างเหมาะสม

                                1.5  เป็นมิตรกับทุกคนในชุมชน                    

                2   การสร้างความศรัทธา

                     เมื่อ  ครู  /  วิทยากร  ได้สร้างความคุ้นเคยกับคนในชุมชน  ได้ระดับหนึ่งแล้ว  ครู  /  วิทยากร  ควรจะสร้างความศรัทธา  เป็นการสร้างการยอมรับในตัว  ครู  /  วิทยากร  ต่อชุมชน  ดังนั้น  ครู  /  วิทยากร  ต้องประพฤติตนให้เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน  โดยมีข้อควรปฏิบัติ  ดังนี้

                                2.1 ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชุมชน ทั้งในด้านความรู้ คุณธรรมจริยธรรม

                                2.2  ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์  สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนเองด้วย

ความเที่ยงธรรม  ไม่แสวงหาผลประโยชน์สำหรับตนเอง  หรือผู้อื่นโดยมิชอบ

                                2.3  ประพฤติตนเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน  พร้อมที่จะเป็นผู้ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้

กับชุมชน

                                2.4  ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเห็นอกเห็นใจ  ไม่ดูถูก  หรือรังเกียจชาวบ้าน

                                2.5 ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเอาใจใส่  มีความตรงต่อเวลา  อุทิศเวลาของตน  และเสียสละแรงกาย  แรงใจร่วมกับชุมชน

 

                                2.6 ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนอันดีงามของชุมชนนั้น  ๆ  เช่น  ไม่ละเมิดข้อห้ามต่าง  ๆ  ของชุมชน

                                2.7  มีความคิดสร้างสรรค์ ในการจัดกระบวนการเรียนรู้กับชุมชน

                 3  การสร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วมของชุมชน

                    เมื่อชุมชนรู้จักคุ้นเคย ยอมรับ  และเริ่มมีศรัทธาในตัวครู / วิทยากรแล้ว  ครู  /  วิทยากร  ควรเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการคิด  การตัดสินใจ  การดำเนินการกิจกรรมต่าง  ๆ  ร่วมกัน  การสร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วมของชุมชนจะมีขึ้นได้  ครู  /  วิทยากร  ต้องคำนึงถึงเรื่องต่าง  ๆ  ดังต่อไปนี้

                                3.1  ยอมรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในชุมชน  ที่ได้เสนอแนะในความต้องการ

ทำกิจกรรมต่าง  ๆ 

                                3.2  เปิดโอกาสให้สมาชิกในชุมชนได้แสดงความคิดเห็น ซักถาม  และเสนอแนะ

                                3.3 ชื่นชมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ  ตลอดจน ภูมิปัญญาที่สมาชิกในชุมชนได้เสนอแนะ

                                3.4  ให้ชุมชนได้ตัดสินใจในทางเลือกของการทำกิจกรรม  หรือการแก้ไขปัญหา

ต่าง ๆ                                                  

                                3.5  ให้ชุมชนได้ลงมือปฏิบัติจริงจากข้อเสนอของชุมชนเอง

                                3.6  มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของชุมชนว่าสามารถจะตัดสินใจ  ลงมือปฏิบัติ

ในกิจกรรมนั้น  ๆ  ได้เป็นอย่างดี

                                เมื่อ  ครู  /  วิทยากร  มีความพร้อมทั้ง 3  ด้าน คือ  การสร้างความคุ้นเคยกับชุมชน   การสร้างความศรัทธา  และการสร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วมของชุมชนแล้วการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อจัดทำแผนชุมชน  ก็เป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับ  ครู  /  วิทยากร  ที่จะดำเนินการ โดยมียุทธศาสตร์ และเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อจัดทำแผนชุมชน  ดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 375666เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2010 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท