วัชรินทร์ เขจรวงศ์
นาย วัชรินทร์ เขจรวงศ์ วัชร์ เขจรวงศ์

ลุงบุญมี ทอนมาตย์ นักสู้ชีวิตแบบพอเพียงแห่งเมืองร้อยเอ็ด


เกษตรกรรม/กรมส่งเสริมการเกษตร/จังหวัดร้อยเอ็ด

ลุงบุญมี  ทอนมาตย์ นักสู้ชีวิตแบบพอเพียงแห่งเมืองร้อยเอ็ด

                            หลายต่อหลายคนมักพูดว่าอีสานแห้งแล้ง นั้นใช่แน่นอนอีสานแล้งช่วงฤดูแห้งแล้งจริง เป็นเพราะว่าพื้นที่ไม่ปรับปรุงไม่เปลี่ยนแปลง รวมไปถึงวิถีชีวิตตนเองและครอบครัว (หัวไร่หัวนาปลายนา) พื้นที่ไร่นา สวนป่าชุมชน พื้นที่เลี้ยงสัตว์  คำบอกเล่าแนะนำอีสานไม่ได้แห้งแล้งอย่างที่คิด ของ คุณลุง บุญมี  ทอนมาตย์ ปราชญ์ชาวบ้าน  อายุ 71 ปี บ้านเลขที่ 98/1 หมู่ที่ 3 ต.หัวช้าง อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด เกษตรกรบุคคลต้นแบบ ผู้ใช้วิถีชีวิตพออยู่พอกิน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง บนพื้นดินพื้นที่ไร่นาสวนผสม 30 ไร่ พอประมาณ  มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน นำหลักวิชาการ มีคุณธรรม

                         คุณลุงบุญมี ทอนมาตย์ เปิดใจเล่าให้ฟังพร้อมนำพาเดินชมรอบๆพื้นที่ไร่นาสวนผสม พร้อมคุณมานะ  เหนือโท และคณะที่เดินทางเข้าเยี่ยมชมด้วยความยินดี ที่ดินผืนนี้ตนเองปรับปรุงแปลงนา เปลี่ยนสภาพพื้นที่นา และปลายไร่สวนนาที่ติดกับสวนป่าเลี้ยงสัตว์ เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา วางแผนจัดสัดส่วนให้เป็นที่เป็นทางตามสภาพพื้นนา แต่เดิมมีนา  20 ไร่  อีก10 ไร่เป็นสวนป่าติดกับแปลงนา เริ่มทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โดยใช้หลัก 30-30-30-10 ตามหลักทฤษฎีใหม่ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงแนะนะให้เกษตรกรทำในพื้นที่การเกษตรที่อยู่อย่างจำกัด ในพื้นที่ 1.แปลงนาปลูกข้าว 2.ปลูกต้นไม้ให้ผล 3.พื้นที่จัดเก็บน้ำ สระน้ำ และ4.ที่ที่อยู่อาศัย ของคนและสัตว์  จัดทำคันคูนาให้ขนาดใหญ่เป็นทางเดินได้ทั้งรถและคนให้สะดวก แบ่งเป็นซอยเล็กลงพอเหมาะกับแปลงนาบนคันคูนาระหว่างสองข้าง ปลูกต้นไม้ผล สลับพืชทั่วไปเป็นช่วงๆคือ มะพร้าว ต้นมะม่วง มะนาว ปลูกต้นอ้อย ต้นกล้วย แปลงผักสวนครัวก็ปลูกสลับกันไป ฯลฯ

ลุงบุญมี กล่าวว่า ส่วนที่นาก็ปลูกข้าวปกติ ปลูกข้าวปักดำนาปลูกหอมมะลิไว้กินเอง ผักสวนครัวปลูกผัก ต้นหอม ผักกาด ผักบุ้ง ผักแป้น ตามท้องตลาดที่นิยมเก็บกินบ้าง แบ่งไปขายตลาดสดทุกๆเช้า ส่วนอ้อยที่ปลูกสลับต้นไม้ผลในสวนผสม คือ ปลูกอ้อยไว้ทำกากน้ำตาลผสมกับน้ำหมักปุ๋ยชีวภาพ ปีหนึ่งๆก็ได้ประมาณ 300-400 กิโลกรัม เก็บไว้ใช้ได้ตลอดปี ซึ่งมีโรงผลิตปุ๋ย ปุ๋ยหมักชีวภาพ ผลิตใช้ภายในสวนเอง ซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่งของไร่นาสวนผสม ส่วนบ่อน้ำสระน้ำ ขุดเป็นบ่อขนาดกว้างใหญ่ลึก ปล่อยปลาเลี้ยงแบบตามธรรมชาติ ปลานิล ,ปลาตะเพียน ,ปลาดุก ,ปลาช่อน เป็นต้น  กักเก็บน้ำมีไว้ใช้ได้ตลอดปี ข้างๆขอบบ่อสระน้ำ จัดทำกระชัง เลี้ยงกบขยายพันธุ์ กบขาย มีศาลากลางน้ำที่พักผ่อน ที่นั่งเล่นอ่านหนังสือ จัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ –ไทบ้าน แลกเปลี่ยนภูมิปัญญาท้องถิ่น ไก่พื้นบ้านไว้ส่งขาย ตลาดมีความต้องการสูงมาก ราคาดี

                  คุณลุงบุญมี ทอนมาตย์ นำพาคณะเดินรอบถึงสวนปลูกป่าปลายไร่นา แปลกใจมากภายในสวนปลูกป่าที่เห็นว่านั้น ต้นยางนาตั้งเรียงแถวยาวสุดสายตาอย่างเป็นระเบียบ มีช่องระยะห่างของต้นยางนา แต่ต้นละ 2 เมตร ความสูง ประมาณ 10 เมตรขึ้นไป เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ประมาณ 10-20 เซนติเมตร คุณลุงบุญมีบอกว่า ได้ลงมือปลูกเอง เมื่อ พ.ศ.2539 มานี้เอง บนเนื้อที่สวนไร่ปลายนา 10 ไร่ สภาพสวนแบบเดิมๆนี้เป็นเพียงพื้นที่ปลายไร่ปลายสวนปล่อยไว้ให้เป็นสถานที่เลี้ยงสัตว์ทั่วไป มีต้นไม้พื้นเมืองบ้างไม่มาก ตนเองจึงคิดนำต้นยางนามาปลูกป่า ด้วยเหตุผลที่ว่าต้นยางนานั้น มีความคงทนต่อสภาพพื้นผิวดินทรายแห้งแล้งได้ดีเป็นต้นไม้ที่ยืนต้นแข็งแรง และไม้เนื้อแข็ง อีกอย่างใบไม้ต้นยางนาที่ล่วงลงกองกับพื้นก็จะย่อยสลายเกิดเพาะเชื้อรา เกิดเห็ดเกิดขึ้นมาเองตามระบบธรรมชาติ   ต้นไม้เป็น “บำนาญ” สำหรับเกษตรกร

                   ส่วนพื้นที่อยู่อาศัยนั้น คุณลุงบุญมี  ทอนมาตย์ ปลูกบ้านพักอยู่อาศัยอยู่กับไร่นาสวนผสม  เพื่อจะได้คอยดูแลเอาใจใส่ไร่นาสวนผสม จัดส่วนแบ่งพื้นที่ทำเล้าไก่ไปตามคันคูนา เลี้ยงไก่พื้นบ้านไว้ขายเช่นกัน อีกด้านหนึ่งก็สร้างโรงเรือนแหล่งเรียนรู้ ศูนย์ฝึกอบรม กิจกรรม ต่างๆให้กลุ่ม หน่วยงาน ทั้งภาครัฐเอกชน ที่สนใจ คุณพีระวัฒน์  สังข์น้อย เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า แบบอย่างของเกษตรกรระดับแกนนำ มาถึงวันนี้คุณลุงบุญมีบอกว่ามีความสุขที่ได้อยู่กับไร่สวนผสมทุกๆวัน ได้เปลี่ยนแปลงปรับปรุงสภาพพื้นดินที่แปลงนาจากสภาพแปลงนาแบบเดิมๆ ทำตามแนวคิดยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ถ่ายทอดภูมิปัญญา ทางด้านการเกษตรให้ชาวบ้านทุกๆท่าน หรือมาแวะเวียนเยี่ยมชมไร่นาสวนผสมดูกันก่อน ยินดีต้อนรับเสมอ กลุ่ม หน่วยงาน ภาครัฐเอกชน สนใจ ติดต่อ คุณลุงบุญมี  ทอนมาตย์  โทร…089-2741921หรือติดต่อกับ คุณต่อศักดิ์  โทนหงส์สา เกษตรอำเภอจตุรพัตรพิมาน

 //////////////////////วัชรินทร์  เขจรวงศ์ /รายงาน

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรสิงขร
หมายเลขบันทึก: 375071เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2010 19:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แวะมาทักทายครับ คนบ้านเดียวกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท