เสาเฉลียง (แก้ไข)


ผมมีโอกาสไปเยือน อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม 2553  

สถานที่ไฮไลท์ของอุทยานฯ ก่อนเข้าสู่พื้นที่ซึ่งมีภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่

เสาเฉลียง

 

ลองมาดูกันเลยครับ

 

  

คำว่า "เฉลียง" ที่คนท้องถิ่นเรียกเสาหินที่คล้ายดอกเห็ดนี้

แผลงมาจากคำว่า "สะเลียง" หมายถึง "เสาหิน" ในภาษากูย (หรือ กวย ซึ่งคนส่วนใหญ่เรียกว่า ส่วย)

   

ลองไปดูข้อมูลทางวิชาการจากป้ายกันหน่อย  

  

  

 

อ่านข้อความจากภาพขยาย

  

มีข้อสังเกตเกี่ยวกับข้อมูลในป้ายดังนี้

1) ชื่อยุคครีเทเชียสในภาษาอังกฤษสะกดผิด เพราะที่ถูกต้องคือ Cretaceous

2) ข้อมูลที่ป้ายเรียกว่า "ยุคไดโนเสาร์" หมายถึง ยุคจูแรสสิก (Jurassic period)

3) ช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์ครองโลก เรียกว่า มหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic era) ซึ่งประกอบด้วย 3 ยุค ได้แก่ ยุคไทรแอสซิก (Triassic period) ยุคจูแรสซิก (Jurassic period) และยุคครีเทเชียส (Cretaceous period)

4) ผมกำลังค้นข้อมูลเกี่ยวกับ "กระบวนการต้านทานทางธรรมชาติ" ว่ามีกลไกอย่างไร และเรียกเป็นภาษาวิชาการว่าอะไร - แต่ถ้าใครทราบ ช่วยอนุเคราะห์ความรู้ด้วยครับ ^__^

 

 
ที่มาของภาพ

 

 


ดาวน์โหลดภาพความละเอียดสูง

ภาพโดยความอนุเคราะห์จาก ดร.ศรัณย์

 

  

คราวนี้ลองขึ้นไปดูใกล้ๆ ข้างบน

 

  

 


ดาวน์โหลดภาพความละเอียดสูง

ภาพโดยความอนุเคราะห์จาก ดร.ศรัณย์

 

 

 

ข้อมูลจากเว็บ ไกด์อุบล.com ระบุว่า 

"ลักษณะก้อนหินแต่ละก้อน มีรูปร่างแปลกตาตามจินตนาการของแต่ละคน

 อันเกิดจากธรรมชาติที่ใช้เวลานับล้านปี เป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นมา

 เช่น หินเต่าชมจันทร์ มีรูปร่างคล้ายเต่ากำลังแหงนหน้ามองฟ้า

 หินโยคี น้ำหนักประมาญ 50 ตัน แต่สามารถโยกได้ด้วยคนเพียงคนเดียว เป็นต้น"

 

 

 

 

  

 

  

 

เนื่องจากมีเวลาไม่มากจึงเก็บภาพได้ประมาณนี้

 

ส่งท้ายด้วยภาพรวมในมุมที่ต่างออกไปเล็กน้อย

 

 

หวังว่าผมคงจะได้กลับมาเยือนที่นี่อีกครั้ง...

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #geology
หมายเลขบันทึก: 374699เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2010 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท