ไฟล์เอ็กเซล independent samples t-test ปรับปรุงใหม่เหมือน SPSS


ดาวน์โหลดฟรีที่นี่!! สำหรับใช้ในการศึกษาและงานวิจัย

ไฟล์เอ็กเซล independent samples t-test ไฟล์ใหม่เหมือน SPSS

ได้ปรับปรุงใหม่ ถ้าท่านได้ดาวน์โหลดไฟล์ชื่อ 15.independent samples t-test หรือคัดลอกมาจากที่ใดก่อนวันที่ 13 กรกฎาคม 2553 ให้ดาวน์โหลดใหม่ที่นี่ได้เลย ไฟล์เอ็กเซล 2003, 2007

ไฟล์เอ็กเซล independent samples t-test เป็นไฟล์เอ็กเซล 2003, 2007  ที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระหรือไม่สัมพันธ์กัน ช่วยทดสอบค่าความแตกต่างของความแปรปรวนด้วยสถิติ F-test for Equality of Variances (ใช้ตัวสถิติทดสอบของ Levene's test) ก่อนแล้วจึงทดสอบค่า t-test สามารถเลือกใช้ผลการวิเคราะห์ที่นัยสำคัญที่ .01 หรือ .05

ผู้ใช้เพียงแต่กรอกข้อมูล 2 ชุด ซึ่งในแต่ละชุดอาจจะมีจำนวนตัวอย่างเท่ากันหรือไม่ก็ได้ (เตรียมให้ถึง 1,000 ตัวอย่าง)

ผลการคำนวณของข้อมูลทั้งสองชุด
1.การเปรียบเทียบค่าสถิติทั่วไป คือ จำนวน คะแนนเฉลี่ย S.D.
2.การเปรียบเทียบค่าความแตกต่างของความแปรปรวนด้วยสถิติ F-test for Equality of Variances ว่าผลลัพธ์เป็น Equal Variance Assumed  หรือ Equal Variance not Assumed ด้วยสูตร F = ความแปรปรวนสูง/ความแปรปรวนต่ำ (ไฟล์เดิม) ซึ่งไฟล์ใหม่ได้ใช้ค่าสถิติของเลอวีน (Levene's Test) เช่นเดียวกับการใช้ SPSS ที่เป็นการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ด้วยสูตร
 

3.การเปรียบเทียบค่า t-test ที่มีตารางผลวิเคราะห์เช่นเดียวกับ SPSS พร้อมทั้งตัวอย่างคำบรรยายสรุปผลการวิเคราะห์ด้วย

ดูตัวอย่างได้ดังรูปข้างล่างนี้

หมายเลขบันทึก: 374568เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2010 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณสำหรับโปรแกรม ได้ทดลองใช้แล้ว แต่ตอนแปลผล ไม่สามารถแก้ไข คำว่า ผู้เรียน เป็นกลุ่มตัวอย่าง หรือผู้ตอบแบบสอบถามได้ค่ะ รบกวนช่วยแนะนำด้วยค่ะ ขอบคุณ

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ K.Natsupa ที่ได้ให้ความสนใจในการใช้ชุดโปรแกรม..

ผมขอเรียนชี้แจงว่า ผมได้เขียนจากตัวอย่างการใช้ในงานการศึกษากรณีหนึ่ง โดยไม่ได้ใช้คำเขียนที่เป็นกลาง ๆ ให้ใช้ได้ทุกกรณี (ท่านจึงไม่ต้องคัดลอกมาหมดหรือคัดลอกมาก็เปลี่ยนคำให้ตรงกับงานวิจัยของท่าน) แต่ไม่ต้องกังวลหรอกครับ เพราะชุดโปรแกรมสถิตินี้ ยังไม่สามารถที่จะอ้างอิงได้ในทางวิชาการงานวิจัย เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยท่านคำนวณตามสูตรสถิติต่าง ๆ เท่านั้น ซึ่งหากนำมาใช้ในงานวิจัย ผมแนะนำให้ปฏิบัติ ดังนี้

1.บทที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูล ควรเขียนว่า จากเครื่องคำนวณหรือเครื่องคิดเลขหรือโปรแกรมเอ็กเซล ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ก็เขียนสูตรสถิติจากหนังสือต่าง ๆ หรือจากเอกสารวิชาสถิติของเว็บผมก็ได้ (http://e-learning.vec.go.th/elearning/)

2.บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ ก็คัดลอกตามมาใส่ให้ตรงกับรูปแบบการรายงานการวิจัยตามมหาวิทยาลัยฯนั้น ๆ แล้วก็เขียนหรือพิมพ์ตามงานวิจัยของงานท่านเอง

3. ภาคผนวก ก็นำค่าที่ได้จากชุดโปรแกรม มาแทนค่าตามสูตรในบทที่ 3 ซึ่งมีค่าคำนวณให้แล้ว เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน ค่าความแปรปรวน ค่าตัวทดสอบที เอฟ ที่ได้จากการคำนวณ จากตาราง นัยสำคัญ ฯลฯ

4.สรุปอีกครั้งนะครับ ไม่จำเป็นต้องอ้างชุดโปรแกรมนี้หรือชื่อผมก็ได้ ให้ใช้เสมือนเป็นเครื่องคำนวณเครื่องหนึ่งเท่านั้น

5.ถ้าพบมีโปรแกรมใดผิดพลาดช่วยกรุณาแจ้งให้ทราบด้วยครับ จะได้ปรับปรุงให้ถูกต้อง เดี๋ยวมีการใช้งานที่ผิด ๆ ครับ

สุดท้ายขอขอบคุณอีกครั้งครับ

ครูสิทธิ์

ได้นำมาทดลองใช้แล้ว เป็นไฟล์ที่มีประโยชน์มากครับ ขอขอบพระคุณที่นำมาเผยแพร่ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท