ส่งงานกาาอ่านบทความภาวะผู้นำ


ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพทางการศึกษา(Transformational Leadership in Education)

รศ. สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ สถาบันราชภัฏเชียงราย

กล่าวโดยสรุป ผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพกระทำในสิ่งต่อไปนี้

  • ทำงานอย่างมีจิตสำนึก ด้วยใจรักและมีความภูมิใจต่องานที่ทำ
  • แสดงพฤติกรรมที่เป็นตัวอย่างในสิ่งที่ต้องการกระตุ้นให้ผู้อื่นกระทำ
  • ประพฤติปฏิบัติอย่างเสมอต้นเสมอปลายตลอดเวลา
  • คิดออกไปนอกกรอบของงานไปสู่อนาคต (คิดแบบหลุดโลก)
  • เสริมแรงและพยายามผลักดันให้วิสัยทัศน์สู่อนาาคตอยู่ในกระแสขององค์การตลอดเวลา
  • ใช้การสื่อสารทางวาจาอย่างมีประสิทธิผล
  • ไม่พูดไร้สาระหรือพูดซ้ำซากแต่ขาดความจริงใจ
  • ปรับระดับของภาษาที่ใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง
  • ปฏิสัมพันธ์เป็นรายบุคคลและพบปะพูดคุยแบบสองต่อสองกับผู้ร่วมงาน
  • พยายามศึกษาให้เข้าถึงบุคลิกภาพที่แท้จริงของผู้ร่วมงานรายคน
  • คิดหาวิธีใหม่ที่ดีกว่าในการทำงานอยู่ตลอดเวลา
  • กระตุ้นคนอื่นให้คิดหาวิธีใหม่ที่ดีกว่าในการทำงานอย่างสม่ำเสมอ
  • กระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการริเริ่มทดลองใหม่ ๆ ขึ้น โดยไม่มีการตำหนิใครเมื่อการปฏิบัติงานดังกล่าวพบความล้มเหลว
  • แสวงหาความคิดช่วยเหลือจากผู้ตามพร้อมทั้งเต็มใจรับข้อมูลป้อนกลับจากผู้ตาม
  • เอาใจใส่แก้ปัญหาขั้นตอน กฎระเบียบต่าง ๆ ที่ทำให้งานล่าช้า (Red – Tape) และเป็นอุปสรรคอยู่ตลอดเวลา
  • คลุกคลีและปรากฎตัวอยู่ในที่ทำงานกับผู้ร่วมงานเป็นประจำ
  •  

บทความภาวะผู้นำ โดย นงคราญ แก้ววงษา

บทความ งานวิจัย เกี่ยวกับภาวะผู้นำ

ผู้นำแห่งอนาคต
                บทความในเว็บไซต์ที่เขียนเกี่ยวกับคุณสมบัติผู้นำแห่งอนาคต ซึ่งถือว่าเป็นแนวคิดที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก  เขียนขึ้นโดยมาร์แชล โกลด์สมิท กูรูทางด้านผู้นำเชิงกลยุทธ์  กล่าวถึงคุณลักษณะที่เป็นหัวใจหลักของผู้นำแห่งอนาคตหรือผู้นำยุคหน้าเพียง 5 ข้อ  
คุณสมบัติหลัก 5 ประการของผู้นำแห่งอนาคต 
                1.ต้องคิดถึงภาพรวมโลก (Thinking Globally) – การทำธุรกิจในอดีตต่างจากปัจจุบันและอนาคต  ทุกสิ่งในโลกเชื่อมถึงกันหมดจากการพัฒนาการสื่อสาร  ถ้าจำกันได้  ภาวะการเงินต้มยำกุ้งในบ้านเราส่งผลกระทบไปทั่วภูมิภาคและทั่วโลกอย่างรวดเร็ว  และในอนาคตการเปลี่ยนแปลงของตลาดทั่วโลกจะมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจในประเทศ  ดังนั้นผู้นำแห่งอนาคตต้องคิดถึงภาพรวมโลก  ต้องศึกษาทำความเข้าใจเศรษฐศาสตร์มหภาค  ต้องรู้ทันกฎหมายและการเมืองประเทศอื่นๆด้วย
                2.ต้องเข้าใจความหลายหลายทางวัฒนธรรม (Appreciating Cultural Diversity) – จากการเปิดตลาดเสรี  วัตถุดิบมาจากหลายแห่ง  ธุรกิจอาจตั้งฐานการผลิตในต่างประเทศ  หรือส่งสินค้าไปขายยังตลาดนอกบ้าน  ดังนั้นผู้นำแห่งอนาคตจึงต้องเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมของทีมงานและประเทศที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ ต้องเข้าใจทั้งระบบเศรษฐกิจ กฎหมาย สังคม วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีด้วย และต้องเคารพความแตกต่างด้านนี้ของปัจเจกชน  เพราะในมุมมองหนึ่ง  คือการเปิดโอกาสทางการค้า
                 3.ต้องสามารถบริหารจัดการเทคโนโลยี (Demonstrating Technology Savvy)  – ผู้นำยุคหน้าต้องสามารถบริหารจัดการ  เข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับองค์กรโดยอาศัยกลยุทธ์เพียง 4 อย่างเท่านั้น คือ  
1)     ต้องรู้ว่าการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างชาญฉลาดนั้น  สามารถช่วยองค์กรได้อย่างไรบ้าง
2)     ต้องรู้จักคัดเลือก พัฒนา และจูงใจทีมงานที่เก่งเรื่องเทคโนโลยีให้อยู่กับองค์กรไปนานๆ
3)     ต้องรู้วิธีการบริหารและการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ
4)     ต้องเป็นผู้นำตัวอย่างในแง่การกล้าใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ 
                4.ต้องสร้างหุ้นส่วนธุรกิจ (Building Partnerships) – เพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้และได้เปรียบคู่แข่งธุรกิจ  ผู้นำแห่งอนาคตต้องทำใจให้ได้ว่าการปรับขนาดองค์กร  ผ่าโครงสร้าง  ลดจำนวนพนักงาน  และจ้างธุรกิจอื่นทำงานที่ตนไม่ถนัด (outsourcing) นั้น  ต่อไปจะถือเป็นเรื่องธรรมดามากๆ ผู้นำยุคหน้าต้องรู้จักสร้างหุ้นส่วนธุรกิจยิ่งมากยิ่งดี  ในอนาคตคำว่าศัตรูคู่แข่งหรือคู่หู  จะไม่ชัดเจนเท่าไหร่นัก ยิ่งในธุรกิจสำคัญๆ เช่น พลังงาน การสื่อสาร และยา  องค์กรเดียวกันอาจเป็นทั้งลูกค้า เป็นผู้จัดส่ง เป็นหุ้นส่วน หรือคู่แข่งในเวลาเดียวกันก็ได้ (เพราะองค์กรเดียวอาจทำธุรกิจหลายอย่าง เช่น CP มีหุ้นในบริษัท ทรูคอร์ปปอเรชั่น บริษัท 7-11 ) ดังนั้น ผู้นำยุคหน้าจึงควรสร้างแนวคิดบวก  สร้างความสัมพันธ์ระยะยาวและ แบบ “ชนะ-ชนะ” (win-win) กับองค์กรอื่นๆ ไว้จึงน่าจะเหมาะสมกว่า
               5. ต้องแบ่งปันประสบการณ์ผู้นำ (Sharing Leadership) – ผู้นำในยุคหน้าไม่ได้เป็นแบบที่อยู่บนจุดยอดสุดของแผนผังโครงสร้างองค์กร  ที่ยึดติดขยับอะไรไม่ได้อีกต่อไปแล้ว  ในอนาคตหุ้นส่วนธุรกิจจะหันมาร่วมมือกันทำงานมากขึ้น  พนักงานและทีมงานจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่มีความรู้มากขึ้น (knowledge workers) เพราะเดี๋ยวนี้สามารถหาข้อมูลในเรื่องต่างๆ ได้ทั้งง่ายและเร็ว  การบริหารทีมงานที่มีความรู้ความสามารถจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้น  เพราะคนเก่งเหล่านี้จะอยู่กับองค์กรไม่นาน นอกจากว่าจะมีผู้นำที่เก่งกว่า ท้าทายกว่า และเปิดโอกาสให้มากกว่า  ฉะนั้นการที่ผู้นำแห่งอนาคตเข้าใจศิลปะการบริหารทีมงานที่เก่งเลิศ (Talent Management) ให้มีประสิทธิผลสูงสุดต่อตัวผู้นำเองและองค์กร  การแบ่งปันถ่ายทอดความรู้  ความสามารถ และประสบการณ์ความสำเร็จของผู้นำเองต่อทีมงานเก่งๆ เหล่านั้น  จะช่วยเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้ผู้นำแห่งอนาคตโดดเด่นกว่าผู้นำอื่นๆ อย่างชัดเจน
 เขียนโดย อิศราวดี ชำนาญกิจ
อ้างอิง 
บทความเรื่อง The Global Leader of the Future: New Competencies for a New Era โดย Marshall Goldsmith มิถุนายน 2551จาก http://www.leader-values.com/Content/ detail.asp?ContentDetailID=937

 

ภาวะผู้นำ (Leadership)

 "ภาวะผู้นำ" โดย ศ.นพ.กระแส ชนะวงศ์ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

การเป็นผู้นำนั้นเป็นได้ไม่ยาก แต่การที่จะเป็นผู้นำที่ดีให้ได้นั้นต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ของการบังคับบัญชา ภาวะผู้นำ(Leadership) ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจหรือภาครัฐต้องมีความรู้บางอย่างในทุกอย่าง หรือรู้ทุกอย่างในบางอย่าง "Know Something in Everything" หรือ "Know Everything in Something" สามารถนำไปใช้ได้ในทุกวิชาชีพ ซึ่งมีการกล่าวกันว่าในชีวิตของคนๆ หนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ทำอะไรได้สำเร็จ 80% เกิดจากภาวะผู้นำ อีก 20% เกิดจากวิชาการ หรือเรียกว่ากฎ 80 : 20 ของ Pareto"s Law

ภาวะผู้นำมีอยู่หลากหลายแบบ อาทิ ภาวะผู้นำในยามวิกฤต ภาวะผู้นำในภาวะปกติ ภาวะผู้นำทางการเมือง ภาวะผู้นำในเศรษฐกิจ ภาวะผู้นำในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ฯลฯ ดังนั้น ภาวะผู้นำจึงไม่อยากจะกล่าวว่าสอนกันได้ ต้องมีการหล่อหลอมสะสม ต้องผ่านกระบวนการของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มิใช่อ่านหนังสือจบแล้วจะเป็นคนที่มีภาวะผู้นำ

อ้างอิง http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q1/article2005february18p7.htm

คำสำคัญ (Tags): #ส่งงานค่ะ
หมายเลขบันทึก: 374074เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2010 19:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • มหา แวะมาอ่าน

ส่งงานกาาอ่านบทความภาวะผู้นำ

ขอบคุณที่นำเสนอสิ่งที่ดี ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท