ทักษะการใช้กระดานดำ


ทักษะการใช้กระดานดำ

ทักษะการใช้กระดานดำ

                                กระดานดำหรือกระดานชอล์ก  เป็นสื่อการสอนที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสอนในทุกระดับชั้น  โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษา  และมัธยมศึกษา  ห้องเรียนยังจำเป็นต้องมีกระดานดำ  แม้ว่าเทคโนโลยีทางการสอน  นวัตกรรมทางการศึกษาจะพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างไรก็ตาม  ผู้สอนก็ยังจำเป็นต้องใช้กระดานดำประกอบการสอนอยู่เสมอ  ทักษะการใช้กระดานดำจึงจำเป็นสำหรับครูผู้สอน  ครูที่มีประสิทธิภาพจะมีความสามารถในการใช้กระดานดำช่วยสื่อความหมาย  และเสริมความเข้าใจในบทเรียนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างดี  ผู้สอนจึงต้องใช้กระดานดำให้ถูกต้องตามหลักการ  และใช้ให้คุ้มค่า  โดยอาจใช้วาดภาพใช้ติดตามแผนภูมิ  ใช้ฝึกการเขียนของผู้เรียน  ฯลฯ  เป็นต้น

                คุณสมบัติเด่นของกระดานดำ

                กระดานดำมีคุณสมบัติที่เด่น  ดังนี้

  1. สามารถใช้ได้ทุกเวลาและทุกโอกาส
  2. ไม่ชำรุดเสียหายได้ง่าย
  3. ผู้เรียนสามารถมองเห็นพร้อมๆ  กันได้ทั้งชั้น
  4. เขียนและลบได้ง่าย
  5. นำเสนอข้อคิดใหม่ได้ทันที
  6. ใช้ได้ทั้งครูและนักเรียน

                ประโยชน์ของกระดานดำ

                กระดานดำมีประโยชน์ดังนี้

  1. ใช้ประกอบการสอน  การอธิบาย  การทดสอบ  สรุป  และทบทวนบทเรียน
  2. ใช้ร่วมกับโสตทัศนวัสดุอื่นๆ  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
  3. ใช้แสดงข้อเท็จจริง  แนวคิด  และกระบวนการต่างๆ
  4. ใช้แสดงศัพท์ใหม่ๆ  คำจำกัดความ  กฎ  และคำนิยามให้ผู้เรียนเข้าใจได้ดี
  5. เหมาะต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมในการสาธิตและอธิบายเนื้อหาวิชาแก่เพื่อร่วมชั้น

            หลักการใช้กระดานดำ

                การใช้กระดานดำต้องใช้อย่างมีหลักการ  ดังนี้

  1. เลือกเขียนเฉพาะหัวข้อและใจความสำคัญ  ไม่ควรเขียนให้มากและแน่นเกินไป
  2. กระดานดำที่มีความยาวมากๆ  ควรขีดเส้นแบ่งเป็นสองหรือสามส่วนตามความเหมาะสม
  3. ควรเริ่มเขียนจากด้านบนซ้ายของกระดานดำไปทางขวา
  4. สิ่งที่เขียนหรือหแสดงบนกระดานดำ  ควรเป็นข้อความสั้นๆ  กะทัดรัดและเข้าใจง่าย
  5. ตัวอักษรควรใหญ่พอที่นักเรียนจะมาองเห็นได้ชัดเจนทั้งชั้น  และควรเน้นจุดสำคัญโดยการใช้ชอล์กสีหรือการขีดเส้นใต้
  6. เมื่อเขียนกระดานดำเสร็จทุกครั้ง  ควรตรวจสอบข้อความที่เขียนบนกระดาน  ถ้าเขียนผิดครูควรแก้ไขก่อน  ซึ่งทำให้นักเรียนได้รับความรู้ที่ถูกต้อง
  7. ขณะที่อธิบายเรื่องราวบนกระดาน  ไม่ควรยืนบังข้อความที่ครูเขียนไว้  ครูควรยืนห่างจากกระดานเล็กน้อย  และใช้ไม้ชี้
  8. การใช้กระดานดำแต่ละครั้ง  ควรได้เตรียมการมาล่วงหน้าว่า  จะเขียนข้อความหรือรูปอะไรบ้าง
  9. การเขียนรูปทางคณิตศาสตร์  และวิทยาศาสตร์ที่จ้องการความถูกต้องแน่นอน  ควรใช้เครื่องมือช่วยในการเขียน  จะทำให้ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น
  10. การลบกระดานที่ถูกวิธีต้องลบจากซ้ายไปขวา  และจากบนลงล่าง

               

            ข้อควรคำนึงในการใช้กระดานดำ

                ผู้สอนควรคำนึงถึงข้อต่อไปนี้ในการใช้กระดานดำ

  1. ขอบล่างของกระดานดำควรอยู่ในระดับสายตาของผู้ดู
  2. ที่นั่งของผู้ดูควรอยู่ในอาณาเขต  60  องศา  วัดจากกึ่งกลางของกระดาน
  3. คนที่นั่งหน้าชั้นควรอยู่ห่างจากกระดาน 3  เมตร  เป็นอย่างน้อย
  4. มีแสงสว่างที่กระดานดำเพียงพอที่จะทำให้นักเรียนเห็นได้อย่างชัดเจน
  5. คำนึงถึงการสะท้อนแสงทีมากระทบกระดานดำ  ทำให้นักเรียนบางคนเห็นข้อความไม่ชัดเจน  อาจต้องปิดหน้าต่างหรือปิดประตูบางบาน
  6. เขียนกระดานดำอย่างเป็นระเบียบ  เขียนตัวหนังสือให้มีหัว  อ่านง่าย  และชัดเจน
  7. ไม่ควรเขียนกระดานดำนานเกินไป  ทำให้เสียเวลา  และเสียความเป็นระเบียบวินัยของห้อง

 

หมายเลขบันทึก: 373656เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2010 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับอาจารย์แม่
  • ดีจังเลยครับที่นำบทเรียนมาใส่ในนี้ให้ผมได้อ่านซ้ำก่อนสอบ
  • ผมนำลิงก์กิจกรรมโรงเรียนวัดวังน้ำเขียวมาให้ตรวจครับ
  • http://gotoknow.org/blog/kasetsartuniversity/374089

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท