ภาคต่อของกำเนิดสิ่งมีชีวิต


ในเมื่อปฏิกิริยาทุกชนิดจะเกิดได้ก็ต้องมีเอนไซม์ เขาก็เลยจะพิสูจน์ให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาได้อย่างไรเมื่อไม่มีตัวเร่งปฏิกิริยา หรือเอนไซม์

เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา บางท่านอาจจะรอไม่ไหวแล้ว

เมื่อไหร่จะได้อ่านตอนต่อซักที รอนานแล้วนะ อิอิ…

งั้นก็เริ่มเลยก็แล้วกัน ต่อจากเมื่อวานที่ตอนนี้ได้ RNA nucleotide มาแล้ว รู้แล้วว่ามันเป็นอย่างไร แล้วมันจะต่อสายให้ยาวเพิ่มขึ้นได้อย่างไรกัน ก็มีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองในห้องปฏิบัติการ ก็มีการต่อสาย RNA nucleotide ได้ยาวสูงสุดเพียง 40  nucleotide เท่านั้น

จนกระทั่ง ในปี 1990 Ferris และคณะ ได้พบว่าแร่ดินเหนียวนั้นมีส่วนช่วยทำให้สายของ RNA nucleotide ยาวมากกว่า 40  nucleotide ได้ (ปัจจุบันนี้ ในเซลล์เรามีสายของ  nucleotide ตั้งแต่ 50 ถึง 1 ล้าน nucleotide เลยทีเดียว) เพราะว่าแร่ดินเหนียว(clay mineral) มีลักษณะเป็นชั้นๆที่เกิดจากการทับทมของกันมานาน ทำให้มีโอกาสที่สายของ RNA nucleotide นั้นมาใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น นั้นเอง 

เอาล่ะตอนนี้ RNA nucleotide ก็สามารถ เกิดการต่อสายให้ยาวขึ้นได้แล้ว (polymerization) จากนั้นสาย RNA nucleotide ก็มีการสุ่มตกลงไปในแหล่งน้ำที่บังเอิญมี ไขมันอยู่ซึ่งเจ้าไขมันนี้ เมื่ออยู่ในน้ำจะหันส่วนที่ชอบน้ำออกมาก็คือหมู่คาร์บอนิลนั้นเองและหันส่วนที่ไม่ชอบน้ำเข้าหากันคือส่วนของไฮโดรคาร์บอน ซึ่งจะอยู่ในรูปของ micelle ก็จะกลายเป็นส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ ประกอบไปด้วย phospholipids และ cholesterolต่อมาก็จะมีการนำเข้าของสาย RNA nucleotide รวมเรียกว่า Protocols หรือเซลล์ต้นแบบ (ในที่สุดเราก็ได้เห็นเซลล์ต้นแบบของสิ่งมีชีวิตแล้ว อิอิ...) 

ก็จะมีการเกิดเป็นสายคู่มีการเข้าคู่กันของ nucleobase คือ A:U และ G:C จากนั้นมีการเกิดการบิดเป็นเกลียว เจ้า Protocols ก็เจริญเต็มที่ เมื่อได้รับความร้อน ก็มีการแยกตัวของสาย RNA ออกได้เป็น 2 สาย แล้วก็มีการเติมในส่วนของโมเลกุลของไขมันเข้ามาที่ผิวของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้ Protocols มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น พร้อมที่จะมีการแบ่งตัวออกได้เป็น เซลล์ลูก 2 เซลล์ ซึ่งก็จะได้เส้นของ RNA ไปคนล่ะ 1 เส้น นั้นเอง ดังแสดงในรูปครับ จะเห็นได้ว่า Protocols จะมีการผ่านทั้งสภาพอากาศที่เย็น และร้อน เพื่อให้ได้เป็นเซลล์ลูกออกมาได้เป็นปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ Protocols 

เอาล่ะครับ ก็เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงจาก Protocols สู่ prokaryotes หรือแบคทีเรียนั้นเองโดยมีขบวนการอยู่ 7 ขั้นตอนด้วยกัน เริ่มจาก

ขั้นที่1 Protocols ได้รับการกระตุ้นจาก ปัจจัยภายนอกเช่น อากาศร้อน และหนาว ซึ่งปฏิกิริยาต่างๆส่วนใหญ่จะเกิดในน้ำ เรียกขั้นนี้ว่า เป็นการเริ่มวิวํฒนาการของ Protocols (EVOLUTION STARTS)

ต่อมาเป็นขั้นที่ 2 RNA ก็จะเกิดการพับม้วนตัวรวมกันเป็น ribozyme เป็นตัวที่ทำให้เกิดการจำลองตัวเองของ RNA ขึ้นแล้วก็เกิดเป็น RNA สายใหม่ขึ้น เรียกขั้นนี้ว่า RNA CATALYSTS

แล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนที่ 3 เกิดขบวนการ metabolism ขึ้น โดยการทำหน้าที่ของ ribozyme มีการนำเข้าของอาหาร เกิดเป็นพลังงานขึ้น และเกิดของเสียด้วยจะถูกกำจัดออกไปนอกเซลล์

ขั้นตอนที่ 4 นี้ก็จะเกิดการปรากฏของโปรตีนแล้ว อิอิ... เจ้า ribozyme ก็จะทำหน้าที่เป็นคนแปลรหัสที่อยู่บน RNA ให้ได้เป็นโปรตีน

ขั้นต่อมาคือ ขั้นที่ 5 นี้ก็จะมีการเข้ามา Take over ของโปรตีนแล้ว คือ โปรตีนที่ถูกสร้างขึ้นก็จะมาทำหน้าที่แทนเจ้า ribozyme และไปทำหน้าอื่นๆภายในเซลล์เนื่องจากมีประสิทธิภาพมากกว่า ribozyme

ชีวิตย่อมเลือกอะไรที่เหนือกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าสิ่งมีชีวิตจึงได้เลือก DNA ซึ่ง เจ้า DNA ก็ถือโอกาสเกิดขึ้นในขั้นที่ 6 นี่แหละ อิอิ... เพราะอะไรถึงเลือก DNA ก็เพราะว่า มีความเสถียรที่สูงกว่าของ RNA ซึ่งมีการเปลี่ยนเป็นน้ำตาล Deoxyribose และเปลี่ยน nucleobase จาก U เป็น T นั้นเอง แล้ว RNA ก็ลดบทบาทลงเหลือเพียงแค่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่าง DNA กับ โปรตีนเท่านั้น 

และในขั้นตอนที่ 7 นี้ก็เกิดเป็น แบคทีเรีย มาจากการรวมกันของหลาย organisms และแบคทีเรียก็มีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด อยู่อย่างนี้นับเป็นพันล้านปีเลยทีเดียว จนเริ่มมีวิวัฒนาการเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จนมาถึงมนุษย์ในที่สุด อิอิ..

เป็นอย่างไรบ้างครับที่พออ่านจบแล้ว มีความรู้สึกอย่างไรบ้างก็งงตรงไหนหรือเปล่า หากใครอยากจะเพิ่มเติมหรือร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ยินดีนะครับ จะได้มีประโยชน์ต่อผู้ที่อ่านมากยิ่งขึ้น

สรุปสุดท้าย จริงๆแล้วผู้เขียนเขาต้องการจะสื่ออะไรเรา  มีบางท่านบอกว่าพึ่งอ่านเพียงบันทึกนี้อยู่เลยยังได้อ่านบันทึกแรกเลย จะสรุปได้อย่างไร

ในความรู้สึกของผมนะครับ เขาน่าจะต้องการบอกว่า ในเมื่อปฏิกิริยาทุกชนิดจะเกิดได้ก็ต้องมีเอนไซม์ เขาก็เลยจะพิสูจน์ให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาได้อย่างไรเมื่อไม่มีตัวเร่งปฏิกิริยา หรือเอนไซม์ หากท่านใดอ่านแล้วมีความรู้สึกอย่างไรก็ขอเชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือโซเล่กันได้เลยนะครับ อิอิ....

หมายเลขบันทึก: 372897เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2010 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เข้ามาเยี่ยมทักทายรอบดึกครับ..

 

พอมีโอกาส/เวลาว่างไปอ่านเยี่ยมทักทายนะครับ..

http://gotoknow.org/blog/rachit7/373130


ขอบคุณครับ คุณราชิต สุพร

ที่แวะมาเยี่ยม ดีเลยครับกำลังมองหาอยู่พอดีเลย

เดี๋ยวแวะไปเยี่ยมนะครับ อิอิ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท