รายงานการศึกษางานวิจัย/วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต I


วิจัย

รายงานการศึกษางานวิจัย/วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต

 

ชื่องานวิจัย           การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดพุทธศาสนาและ

                          ทฤษฎีพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก

ผู้วิจัย                  นางสาวปิยะนันท์  หิรัณย์ชโลทร

 สาขาวิชา              หลักสูตรและการสอน

 สถาบันการศึกษา     มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ปีที่สำเร็จการศึกษา  2551

 

ความสำคัญของปัญหา

                 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมปัจจุบันที่เป็นยุคของเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร  ทำให้สังคมและมนุษย์ที่อยู่ในสังคมมีแนวความคิดที่เปลี่ยนไป  โดยเฉพาะแนวคิดต่อเศษฐกิจระบบทุนนิยม ซึ่งมีผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ  ขึ้นอยู่กับความเท่าทันและการเลือกที่จะปรับตัวต่อกระแสสังคม   การจัดการศึกษาจึงเป็นแนวทางสำคัญในการจะพัฒนาคนให้ทำต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว  การศึกษาที่ดีจึงต้องพัฒนาคนให้เป็นผู้ที่มีปัญญา  โดยเฉพาะการศึกษาระดับปฐมวัย  ทั้งนี้เนื่องจากวัยดังกล่าวถือเป็นวัยทองของชีวิต  เป็นวัยแห่งการวางรากฐานของชีวิตมนุษย์ 

                 การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยของไทยจัดการศึกษาที่อยู่บนพื้นฐาน ได้แก่ พื้นฐานด้านปรัชญาการศึกษาพื้นฐานทางจิตวิทยาและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ซึ่งในปัจจุบันการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในประเทศไทยมักนำเอารูปแบบและนวัตกรรมการจัดการศึกษามาจากต่างประเทศ  ซึ่งการนำเอารูปแบบและนวัตกรรมจากต่างประเทศมาใช้นั้น  ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้องต้องมีความรู้และความเข้าใจในหลักการและแนวคิดอย่างชัดแจ้ง  และสามารถปรับให้เข้ากับบริบทสังคมไทยได้ ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของไทยนั้นก็ควรคำนึงถึงหลักการ

        ดังกล่าวทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความก้าวหน้าและได้รับการพัฒนาอย่างแท้จริง และดำรงชีวิตอย่างปกติสุข สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงบริบทและวัฒนธรรมไทยประการหนึ่งคือ พุทธศาสนา  ซึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยจนกลายเป็นแบบแผนการดำเนินชีวิต พุทธศาสนามีหลักธรรม และคำสอนที่เป็นองค์ความรู้ที่เน้นให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอย่างมีสุขรู้จักและเข้าใจตนเอง การไม่เบียดเบียนทั้งมนุษย์ด้วยกันและธรรมชาติ  ใช้ชีวิตอย่างสมดุล  การจัดการศึกษาจึงควรจัดเกี่ยวกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต สอนให้เด็กสามารถที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ในสังคมมีคุณธรรม จริยธรรม  และมีปัญญารู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง

                   โรงเรียนอนุบาลบ้านฝันดี  เป็นสถานศึกษาปฐมวัยขนาดเล็ก  ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯโดยมีเป้าหมายในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยและสามารถพัฒนาเด็กให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกาภิวัตน์ได้อย่างผู้มีปัญญา  มีคุณธรรม และ จริยธรรม  ผู้วิจัยในฐานะนักการศึกษาจึงได้ศึกษาแนวคิดการจัดการศึกษาทั้งในประเทศทางซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออก รวมถึงพุทธศาสนาซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทย  มาประยุกต์และผสมผสานสู่การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดพุทธศาสนาและทฤษฎีพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก  เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทและคงคุณค่าแห่งสังคมไทยต่อไป

                                                                                              

วัตถุประสงค์การวิจัย

                  1.  พัฒนาและนำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดพุทธศาสนาและทฤษฎีพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กไปใช้

                  2. ศึกษาผลของการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดพุทธศาสนาและทฤษฎีพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก

คำถามการวิจัย

                                -

กรอบแนวคิดการวิจัย

                                -

สมมติฐานการวิจัย

                                -

ตัวแปรที่ต้องการศึกษา

                                -

 

ขอบเขตของการวิจัย

             1.  ขอบเขตด้านการพัฒนาหลักสูตร

            ในการพัฒนาหลักสูตรผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเอกสาร  แนวคิดทฤษฎี  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ

            แนวคิดและทฤษฎีของนักทฤษฎีต่าง ๆ ได้แก่

  • ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget
  • ทฤษฎีวัฒนาธรรมเชิงสังคมของ Vygotsky
  • ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมของ Bandura

         แนวคิดการพัฒนามนุษย์ตามหลักพุทธศาสนา

  • การเตรียมความพร้อมด้านความคิด

      - หลักปรโตโฆสะ

     - หลักโยนิโสมนสิการ

  • การพัฒนามนุษย์ตามหลักไตรสิกขา

     - ศีล

    - สมาธิ

    - ปัญญา

            2.  ขอบเขตการศึกษาผลการใช้หลักสูตร

           คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย

           •  พัฒนาการทางร่างกาย  อารมณ์-จิตใจ   สังคม  และ  สติปัญญา  ตาม       

            มาตรฐานคุณลักษณะฯ  รร.อนุบาลบ้านฝันดี (12 ข้อ)

          ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่มีต่อหลักสูตรฯ

           • ผู้บริหาร  ครู   และผู้ปกครอง

         3.  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

          ประชาการที่ใช้ในการวิจัย

          ระยะที่  1  ระยะพัฒนาและนำหลักสูตรไปใช้

          • ผู้บริหารโรงเรียน และครูประจำชั้น  รร.อนุบาลบ้านฝันดี  จำนวน  4  คน

          • เด็กปฐมวัยที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล  ภาคต้น ปีการศึกษา 2550 

            จำนวน  26  คน  ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง

         ระยะที่  2  ระยะศึกษาผลของการใช้หลักสูตร

           • ผู้บริหารโรงเรียน และครูประจำชั้น  รร.อนุบาลบ้านฝันดี  จำนวน  4  คน

           • เด็กปฐมวัยที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล  ภาคต้น ปีการศึกษา 2550 

              และผู้ปกครองของเด็ก  จำนวน  26  คน 

 

 

หมายเลขบันทึก: 372890เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2010 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอขอบคุณที่เห็นความจำเป็นและสำคัญในกานพัฒนามนุษย์ตามแนวพุทธ การพัฒนาคนต้องเริ่มที่ปฐมวัยจริงๆ ค่ะ

อยากได้วิทยานิพนธ์เรื่องนี้  โหลดได้ที่ไหน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท