OM ในระบบสุขภาพปฐมภูมิ 3: เครือ (ตา) ข่าย


เครือ (ตา) ข่าย

ใน workshop นี้ เรามีกลุ่ม direct partners อยู่แล้ว คร่าวๆ 21 กลุ่ม และคงจะเกิดใหม่และดับไปในระหว่างทางไปอีกไม่น้อย ข้อดีก็คือเมื่อตั้งกลุ่มมาแล้วน่าจะมีเป้าหมาย ซึ่งในภาษา OM ก็คือ vision ความฝันอยู่ก่อนแล้วว่าจะตั้งมาทำไม

กับดัก

กับดักที่พบบ่อยในการตั้งกลุ่มก็คือ ตั้งเพราะว่าการตั้งกลุ่มเป็น "เป้าหมาย" ที่ได้ set เอาไว้

ระยะหลังเจ้าของทุน มักจะเน้นว่าทำอะไร ก็ขอให้เกิดมีเครือข่าย network มีทีมด้วยนะ ด้วยความเกรงว่าจะไม่สัมฤทธิ์ บางทีทำไปทำมา สิ่งแรกที่ทำก็เลยกลายเป็นตั้งกลุ่ม ตั้งเครือข่าย network เป็นอันดับต้นๆ จะได้ติ๊กลงไปว่า "ทำแล้ว"

ในภาษา OM จะทำอะไรนั้น ทิศทางของ "พลังงาน" จะต้องมุ่งไปที่วิสัยทัศน์ ความฝันแรกเริ่มของเราเสมอ และทิศทางหรือพลังงานนี้จะอยู่ใน​ "ตัวคน" ได้แก่ พฤติกรรม ความสัมพันธ์ และศักยภาพ ดังนั้นพอเราถามว่า "รู้ได้อย่างไรว่าเกิด network?" เราก็ต้องสามารถบรรยาย พรรณนา สาธก พฤติกรรม ความสัมพันธ์ และศักยภาพของ network ออกมาได้

ถ้าไม่มีเรื่องนี้แต่แรก เราอาจจะงงตั้งแต่ เอ... เรามี email list อยู่ 50 ชื่อ เราเกิด network แล้วรึยังหว่า อืม รึว่าต้องขอที่อยู่ด้วยดี หรือว่าเรานัดมาเจอกันสักครั้งจะได้กลายเป็น network ถ้าเกิดอาการงงๆ แสดงว่าอันนี้เราเลื่อนกิจกรรมมาเป็นเป้าหมายโดยไม่รู้ตัว และทำไปโดยไม่เห็นว่าทำไมเราจึงจำเป็น หรือควรจะมี network ตั้งแต่แรก แต่ทำไปเพราะเขาบอกให้ทำ

Network นั้นมีสิ่งสำคัญคือ การเกิด mutual benefit หรือ mutual strenghts เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม เรา "สามารถ" หยิบยืมศักยภาพ ความสามารถ สิ่งที่เราไม่มี แต่จำเป็นต้องมี หรือจำเป็นต้องใช้ มาจากคนอื่นๆได้เสมอ ตั้งแต่เกิด มีชีวิตอยู่ โตขึ้น จนตาย เราจะต้องไปติดต่อคนโน้นคนนี้ ขอหยิบ ขอยืม ขอใช้แรง เวลา ความสามารถ คนโน้นคนนี้ตลอดเวลา เพียงแต่ network นั้น เป็น objective-oriented ก็คือ เอา "ฝัน" เฉพาะกาล เฉพาะกิจ ของเราเป็นตัวตั้งที่ "ชัดเจน" (OM เน้นที่ "ชัดเจน" นะครับ พูดบ่อยๆให้จำได้ ไม่ได้เน้นที่ "ง่าย" แต่เน้นที่ "ชัดเจน" ไม่ได้เน้นที่ simple มันอาจจะซับซ้่อน แต่ "ชัดเจน") ถ้าเราบอก ประกาศว่า เรามีเครือข่ายแล้ว เอ้า จะทำอะไรกันดี อย่างนี้เรียกว่ายังไม่ชัด ที่จริงมันต้องชัดตั้งแต่จะมีเครือข่ายแล้ว คือทราบว่าทำไมเราจำเป็นต้องมี

นี่ยังไม่เรียกซับซ้อนเท่าไหร่นะครับ

ยกตัวอย่าง เรามี direct partners กลุ่ม "ผู้สูงอายุ" เราฝันอยากให้กลุ่มผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีสมวัย อายุมั่นขวัญยืน (ที่จริง ถ้าอยู่จนเข้ากลุ่มนี่ได้ เป้าหมายนี้ต้องบรรลุไปแล้ว) รู้สึกว่าตนมีคุณค่า ความหมาย และชีวิตที่ดีพอเหมาะพอเจาะต่อความต้องการ เราก็พบว่าคนสูงอายุมีหลายแบบ มีแบบที่แก่แล้วแต่ยังไม่อยากเกษียณ ยังอยากทำอะไรอีกเยอะ มีแบบที่แก่แล้ว ถึงเวลาพักแล้ว ขออยู่เงียบๆ มีแบบที่อยากอยู่กับหลาน มีแบบที่อยากอยู่คนเดียว มีแบบที่ขอแบ่งปันประสบการณ์ให้แก่คนอื่น มีแบบที่ถ้าใครอยากมาดู มาเรียน ก็มาได้ ไปดูที่บ้าน ฯลฯ กลยุทธ์ของเราที่จะทำให้ผู้สูงอายุทุกคนมีสุขภาวะที่ดี ก็เห็นจะต้องไม่มีวิธีเดียวเสียแล้ว

ปรากฏว่าผู้สูงอายุบางท่าน อยากอยู่อย่างเป็นอิสระ ไม่ต้องพึ่งพา ลำบากใคร แต่ก็ยากขึ้นๆ เพราะแก่ลง งานบ้าน กิจวััตรมันก็ยาก ก็ลำบากขึ้น ใครจะซักเสื้อผ้า ใครจะไปจ่ายกับขา้วซื้อของ ใครจะทำความสะอาดบ้าน พอถึงตรงนี้เราก็เห็น strategic partners ลางๆที่จะมาช่วย ได้แก่ อาสาสมัครประจำหมู่บ้านนั่นเอง

ดังนั้น direct partners ของ สภ.อ.อีกกลุ่มคือ กลุ่ม "อาสาสมัคร" ก็กลายเป็น strategic partners ของกลุ่มสูงอายุไป เพราะเขามีอาสาสมัครหลายแบบ แต่แบบนี้ก็จะชัดเจนแล้วว่า เราจะต้องสร้างศักยภาพแบบไหน ก็เพราะพฤติกรรมที่พึงปราถนาในที่นี้ ก็คือ สามารถและเข้าไปดูแลผู้สูงอายุเท่าที่จำเป็นได้ ตอนจะอบรม ตอนจะสร้างสมรรถนะ ก็ "ชัดเจน "​ (ตรง concept ของ OM)

ยิ่งเราเขียน outcome challenges ของกลุ่มต่างๆที่จะนำไปสู่ "สันทรายทีมีความสุข" มากขึ้นเท่าไหร่ เรายิ่งเกิดความ "ชัดเจน" ของโปรเจค หรือ strategies ที่จำเป็นมากขึ้นเท่านั้น เสียงร้องของความฝันของ direct partners กลุ่มหนึ่ง อาจจะนำไปสู่กิจกรรมและกลยุทธ์ของอีกหลายๆกลุ่มก็ได้ การลงทุนในการเสริมสร้างสมรรถนะ ความสามารถ ก็จะเกิดความคุ้มทุน ไม่ซ้ำซ้อน มองเห็นที่ที่จะลงพื้นที่หลังการอบรมได้ชัดเจน เป็นไปตาม demand ความต้องการ

ในระหว่างทาง เรายังเกิดเห็นความจำเป็นที่จะต้องมี "กลุ่ม" เพิ่ม เป็น direct partners (หรือ strategic partners) ด้วย เช่น เขียนไปเขียนมาของกลุ่ม "วัยรุ่น" ไปๆมาๆ เราอาจจะต้องมีกลุ่ม "ครู" มาเสริมงานให้เกิดภาพสมบูรณ์ หรือมีกลุ่ม "ผู้ปกครอง" มาเสริมงานพัฒนาวัยรุ่นให้สมบูรณ์ กลุ่มครู กลุ่มผู้ปกครองเหล่านี้่ หลายๆคน เมื่อสวมหมวกอีกใบ ก็อาจจะพบว่าอยู่ใน direct partners กลุ่มอื่นๆไปพร้อมๆกัน อาทิ แม่บ้านบางคนก็เป็นผู้สูงอายุ พ่อบ้านบางคนก็เป็นผู้ประกอบการร้านอาหาร วัยรุ่นบางคนกลายเป็นอาสาสมัคร

"เครือข่าย" ที่มี bio-graphical journey ก็เกิดเป็น "เครือตาข่าย" ที่ถักทอไปด้วย "บทบาทหน้าที่" ที่สำคัญที่เกื้อหนุนสังคมที่พึงปราถนา สังคมในฝันของคนท้องถิ่นขึ้นมา

และเมื่อ "บทบาทหน้าที่" ของทุกๆคนได้ถูก "ลงแผนที่" (strategic rootmap) เราก็เกิดความ "ชัดเจน" ว่าถ้าดำเนินไปอย่างนี้ ที่สุดแล้ว ชุมชนของเราจะไปสู่ฝันเราได้อย่างไร หรือแม้กระทั่้งอาจจะเป็น​ "เมื่อไร" ก็ยังได้ เรากำลังมองไปที่ "ต้นทุนของสุขภาวะแห่งชุมชน" หรือ Community Salutogenesis อยู่นั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 372720เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2010 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีครับอาจารย์สกล
  • เเวะมาศึกษา เรียนรู้เนื่อหาข้อมูลดีๆครับ  " เครือ ( ตา ) ข่าย  " เป็นศํพท์ที่น่านำไปใช้ร่วมพร้อมทั่งความหมายดี
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ

สวัสดีค่ะ

บันทึกนี้มีประโยชน์มากๆ เลยค่ะ

เพราะในเขตรับผิดชอบกำลังต้องทำในสิ่งที่อาจารย์บันทึก

ขอบคุณนะค่ะที่บันทึกสิ่งดีๆ ให้ได้อ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท