โครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรคโดยระบบพี่เลี้ยง( 13) ้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นพี่เลี้ยง (4 )


5-7-53

ในวันพฤหัสที่1-ศุกร์ที่2กค.53 ดิฉันจัดประชุมโครงการโครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรคโดยระบบพี่เลี้ยง....ที่โรงแรม กรุงศรีริเวอร์  อยุธยาค่ะ

 

ในการประชุมครั้งนี้น้องเลี้ยงหายไปหลายคนเพราะบางคนติดงาน บางคนโครงการยังไม่ผ่านคณะกรรมการ  บางคนไปประชุมต่างประเทศค่ะ

 กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทีมงานในระบบพี่เลี้ยงครั้งที่ 3

วันที่ 1-2 กรกฎาคม 2553 

ในโครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรค ปี 2553 รุ่นที่ 1

                ณ. ........................................................................

วันที่ 1 กรกฎาคม  2553

9.00-9.30              พิธีเปิด โดย นายแพทย์ศุภมิตร ชุณ   ผู้ทรง  .... กรมควบคุมโรค

9.30-12.00        อภิปราย  การดำเนินงานร่วมกัน ระหว่างผู้บริหาร ผู้เข้าอบรม ผู้สนับสนุนดำเนินการในโครงการฯน้องเลี้ยงโดย    นพ ศุภมิตร    กรมควบคุมโรค   แพทย์หญิงอัจฉรา เชาวะวณิช    ผู้จัดการโครงการบริหารจัดการผู้มีสมรรถนะสูง

12.00-13.00         พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30         อภิปราย การดำเนินโครงการน้องเลี้ยง และปัญหาอุปสรรค์ในระบบพี่เลี้ยง   (ประชุมโต๊ะกลม)โดย นายแพทย์ ศุภมิตร   ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรคนายแพทย์ โสภณ เอี่ยมศิริถาวร สำนักระบาดวิทยา

14.30-16.30       บรรยาย เรื่อง การสืบค้นข้อมูลทางวิชาการในงานสาธารณสุขและการใช้ ENDNOTE   โดย     นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร สำนักระบาดวิทยา         

วันที่ 2 กรกฎาคม  2553

8.30-10.30     บรรยาย เรื่อง ทักษะการสื่อสารในองค์กรและการสื่อสารยุค ITโดย ดร. บัญญัติ บุญญา   อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษางด                  

10.45-12.00         อภิปราย เรื่อง ศิลปและการผจญภัยในภาวะการเป็นผู้เชี่ยวชาญฯในกรมควบคุมโรคโดย  นายแพทย์ จรูญ ปิรยะวราภรณ์   ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค  พญ. อัจฉรา เชาวะวณิช   นพ.วิชัย สติมัย

12.00-13.00         พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-16.30         อภิปราย  การติดตามประเมินผล โครงการภาพรวมในรอบ 6 เดือน (ธค 52- พค 53)   แพทย์หญิงอัจฉรา เชาวะวณิช    ผู้จัดการโครงการบริหารจัดการผู้มีสมรรถนะสูง    นายแพทย์ โสภณ เอี่ยมศิริถาวร สำนักระบาดวิทยา    นางสาว วันทนีย์ วัฒนาสุรกิตต์ สำนักระบาดวิทยา

คุณหมอศุภมิตรกล่าวเปิดแทนท่านอธิบดีโดยฉายslideที่มีรูปท่านและให้นโยบายโดยแจ้งว่าได้คุยกับท่าน 

หลังจากนั้นเป็นการอภิปรายโครงการโดยนพศุภมิตร พญ.อรรถยา และดิฉัน โดยรวมการอภิปรายเรื่องปัญหาอุปสรรคของโครงการพี่เลี้ยงโดยให้น้องเลี้ยงและพี่เลี้ยงได้ช่วยกันอภิปราย

 

 

ในช่วงบ่าย นพโสภณ สอนการใช้programe End Note โดยมีทั้งน้องเลี้ยงและพี่เลี้ยงซึ่งนำคอมมาด้วย เรียนไปด้วยกัน  

ดิฉันเรียนไม่ไหวเพราะค่อนข้างยากเพราะเคยเรียน reference manager เมื่อปี38  ก็ไปไม่รอดเหมือนกันค่ะ     จึงขึ้นไปพักและลงมาร่วมอีกครั้งช่วงเย็นๆ

 ในช่วงเย็นเราลงเรือล่องแม่น้ำเพื่อดูบรรยากาศของอยุธยา

คุณหมอวิชัย สติมัย ผอ.สำนักควบคุมโรคทางแมลงร้องเพลงก่อนน้องๆจะมา

น้องเลี้ยง คุณณัฐวุฒิจากสคร.1 และคุณสีใสจากสคร.9

กลุ่มน้องเลี้ยงนั่งทานด้วยกันกับผู้จัดการโครงการ คุณหมอโสภณ

คุณบงกช และทีมงานจากกองการเจ้าหน้าที่และต้อม น้องช่วยขับรถให้คนในกอง

คุณหมออรรถยา  จากสำนักวัคซีนซึ่งทำโครงการเสร็จเร็วโดยไม่ต้องใช้เงิน   นั่งคู่กับหมอวิชัย

 

ผอ.กองการและหมอฉายศรี ผู้ทรง มาช่วยให้ความเห็นมากมาย

บรรยากาศตามข้างทาง  ไม่ค่อยได้ดู  มัวแต่คุยกัน

ดิฉันขอถ่ายกับน้องๆทำรายงาน

เตยและโต๊ด  เจ้าหน้าที่โครงการ

อาจารย์วันทนีย์และคุยเรื่องการประเมินในวันรุ่งขึ้นอจ. วันทนีย์  หมอโสภณ    จากสำนักระบาดและดิฉันได้มาให้ข้อมูลเรื่องการติดตามประเมินผลใน6เดือนโดยดิฉันเพิ่มเติมข้อมูล

หมอวิชัยและน้องเลี้ยงช่วยกันให้ข้อมูลและประเมินโครงการ

หลังจากนั้นเป็นรายการศิลปะและการผจญภัยในภาวการณ์เป็นผู้เชี่ยวชาญในกรมควบคุมโรค   อภิปรายโดยนพ. จรูญ   นพ.วิชัยแทนนพศุภมิตร และดิฉัน

นพ. จรูญเล่าตั้งแต่จบ ไปทำงานที่ต่างๆ   มากรม   ทำงานมูลนิธิและได้กำลังใจจากพระเจ้าอยู่หัว

นพ. วิชัย เล่าประวัติตัวเอง   ดิฉันเล่าเรื่องตัวเองในช่วงมีโรคซาร์และการจัดตลาดนัดKM    เราคุยกันจนเที่ยง   คุณวันทนีย์ขอต่อช่วงบ่ายเพราะได้ทำfocus groupกับน้องๆและเห็นปัญหาของโครงการจึงได้ยกประเด็นต่างๆมาคุย  บางเรื่องแก้ได้  บางเรื่องแก้ไม่ได้ต้องให้ผู้บริหารทำเอง

 

(ร่าง)สรุปการประชุมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทีมงานในระบบพี่เลี้ยง ครั้งที่ 3

ตามโครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรค ปี 2553 รุ่นที่ 1

ระหว่างวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2553

ณ ห้องเฟื่องฟ้า โรงแรม กรุงศรี ริเวอร์ ถนนโรจนะ อำเภอเมือง  จังหวัดอยุธยา 

..........................................................................................................................

รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อการสร้างทีมงานในระบบพี่เลี้ยงครั้งที่ 3

นายแพทย์ศุภมิตร           ชุณห์สุทธิวัฒน์               นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ                 ประธานในพิธีเปิด

ผู้เข้าร่วมการประชุม

3. แพทย์หญิงฉายศรี      สุพรศิลป์ชัย                   นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ

4. นายแพทย์จีรพัฒน์      ศิริชัยสินธพ                   นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ

5. นายแพทย์วิชัย            สติมัย                           ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง

6. นายแพทย์ชัยรัตน์       เตชะไตรศักดิ์                 ผู้อำนวยการ สคร.ที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์

7. นายสุรพล                  สงวนโภคัย                    ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่

8. แพทย์หญิงอัจฉรา       เชาวะวณิช                     ผู้จัดการโครงการ Talent Management

9. นายแพทย์โสภณ        เอี่ยมศิริถาวร                  นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักระบาดวิทยา

10. นายแพทย์พรศักดิ์     อยู่เจริญ                        นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักโรคติดต่อทั่วไป

11. ดร.อรพันธ์               อันติมานนท์                   นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

                                                                        สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ   

น้องเลี้ยง

12. แพทย์หญิงอรรถยา   ลิ้มวัฒนายิ่งยง               สำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

13. นายจักรกฤษณ์         พลราชม                        สำนักโรคติดต่อทั่วไป

14. นายนัพวุฒิ              ชื่นบาล                          สคร.ที่ 1 กรุงเทพฯ

15. นางดารณี                จุนเจริญวงศา                 สคร.ที่ 3 จังหวัดชลบุรี

16. นายสีใส                  ยี่สุ่นแสง                        สคร.ที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก

คณะทำงาน

17. นางบงกช                กำพลนุรักษ์                   กองการเจ้าหน้าที่

18. นางสาววันทนีย์        วัฒนาสุรกิตต์                 สำนักระบาดวิทยา

19. นางน้ำฝน                สุวรรณฑา                     กองการเจ้าหน้าที่

20. นางสาวฝนทอง        ศรีภูมิ                            กองการเจ้าหน้าที่

21. นายธีรวิทย์               ตั้งจิตไพศาล                  กองการเจ้าหน้าที่

22. นายภิภพ                 กัณฑ์ฉาย                      กองการเจ้าหน้าที่

23. นางสาวดวงภาณิชา  สุขพัฒนนิกูล                 ผู้ประสานงานโครงการฯ

24. นางสาวฐานีย์           อุทัศน์                           ผู้ประสานงานโครงการฯ

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม  2553

เปิดการประชุม โดย นายแพทย์ศุภมิตร ศุภสวัสดิกุล….โดยท่านกล่าวว่าท่านอธิบดีเน้นเรื่องการพัฒนาบุคลากรมาก   กรมมีการทบทวนวิสัยทัศน์ใหม่2-3ครั้ง       ประเด็นคือเป็นผุ้นำในระดับนาๆชาติ  ปกป้องคุ้มครองประชาชน  เป็นเลิศในวิชาการ  สังคมเชื่อถือไววางใจ  

วิสัยทัศน์เราทำไม่ได้ก็ไม่มีความหมาย      ท่านอธิบดีเน้นคนสำคัญของกรมคือผอ.และทีมงาน   รวมทั้งทีมบริหารซึ่งมีความสำคัญพอกับทีมวิชาการเพราะทำให้งานราบรื่น     ท่านอยากให้ผู้ทรงทำงานได้หลายอย่าง     เราควรทำภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่   มีความคิดแบบธุรกิจ  มองโอกาสอยู่เสมอ   ทำให้เรามีความหวัง    นพ.ศุภมิตรเล่าถึงเรื่องที่เคยทำระบบพี่เลี้ยงเมื่อเริ่มโครงการTalent ในปี2551ซึ่งได้ผลดี

 

เวลา 9.30 - 12.00 น.         อภิปรายเรื่อง“การดำเนินงานร่วมกัน ระหว่างผู้บริหาร ผู้เข้าอบรมและ ผู้สนับสนุนการดำเนินงานในโครงการฯน้องเลี้ยง และอภิปรายเรื่อง “การดำเนินโครงการน้องเลี้ยง และปัญหาอุปสรรคในระบบพี่เลี้ยง” (ประชุมโต๊ะกลม)   โดยนพ.ศุภมิตร    ศุภสวัสดิกุล    ผุ้ทรงคุณวุฒิ    แพทย์หญิงอัจฉรา เชาวะวณิช        ผู้จัดการโครงการบริหารจัดการผู้มีสมรรถนะสูง  แพทย์หญิงอรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยงนายแพทย์ชำนาญการพิเศษ   สำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ         นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร          นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักระบาดวิทยา   และนายสุรพล            สงวนโภคัย                     ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ซึ่งได้มาร่วมอภิปรายในช่วงบ่ายเพิ่มเติม

 

พญ อัจฉรา เล่าถึงความต้องการของท่านอธิบดีที่ไปเปิดการประชุมที่ภูเขางามรีสอร์ท     ท่านต้องการให้มีการพัฒนาบุคลากรกรม    ท่านต้องการให้บุคลากรมี engagement    หวังให้คนมองในมุมใหม่ๆ

พญ. อรรถยา    ต้องการให้กรมมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน   ในกรมมีความหลากหลาย   บริบทต่างกัน   เรายังไม่เข้มแข็งและเป็นที่ยอมรับเพราะมีหน่วยงานใหม่ๆเกิดขึ้นมาก   ถ้าเรามีวิสัยทัศน์ชัด  นอกจากคนกรมต้องเก่ง   ต้องมีจริยธรรมด้วย   ควรมี  role model ดีเหมือนเรามีพ่อแม่ดี  ลูกจะดี   ผู้บริหารดี  น้องๆก็จะดี   ควรมองcontext ของคนด้วย   ทำอย่างไรให้คนก้าวหน้าและมีความสุข   สำนักวัคซีนมีrole modelที่ดี      น้องที่มาอยู่ในโครงการเป็นโอกาสที่ได้รู้จักคนในโครงการที่ดี  ได้ network เพิ่มขึ้น  ทำอย่างไรจะทำให้network มีกิจกรรมไปได้เรื่อยๆ

นายสีใส  จากสคร9  เน้นเรื่องการสร้างบรรยากาศเพราะที่สคร9จะมีการสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้   ให้ทุกคนมาคุยกัน   เจ้าของงานจะคอยตอบคำถาม  ทำให้คนใฝ่รู้มากขึ้น

นายณัฐวุฒิ  สคร1 แจ้งว่าผู้บริหารสนับสนุนมากและคาดหวังว่าจะมาช่วยพัฒนา  ให้ขึ้นมาเป็นหัวหน้ากลุ่ม  เพิ่มภาระมากขึ้นเพราะต้องปฏิบัติด้วย   บริหารด้วย

นางดารณี   สคร3   อยู่สายสว.  แต่องค์กรก็สนับสนุน   ต้องทำงานเดิมให้ดี   งานใหม่มีปัญหาบ้าง

 

นายจักกฤษณ์    สำนักควบคุมโรคติดต่อทั่วไป    แจ้งว่าได้ย้ายจากสกลนครมาอยู่กรมคร เพราะต้องการโอกาสเป็นชำนาญการพิเศษ   พี่ๆยื่นโอกาสให้มาก

นพ.วิชัย สติมัย   แนะนำว่าเราต้องมีปัจจัย4ก่อน   ควรมีrole modelที่ดี    คนจะน้อยลง  เราควรทำในส่วนที่เราทำได้  บทบาทเราเกี่ยวกับnetwork  เราต้องรู้ในงานที่เราทำจริง   ไม่ควรให้คนอื่นทำตลอดเพราะคนอื่นจะมีบทบาทมากขึ้นเช่นไข้เลือดออก   ต้องสร้างระบบไม่ให้เกิดการเอาเปรียบ   ความสำเร็จต้องดูคนรุ่นแรก

 

นพ.ศุภมิตร ระบบพี่เลี้ยงเป็นทางเลือกอย่างหนึ่ง   การพัฒนาต้องทำหลายๆเรื่องไปพร้อมๆกัน  ท่านอธิบดีขอให้ดูกลุ่มคนส่วนใหญ่ด้วย    ท่านเอาข้อมูลที่ไปพูดที่ภูเขางามมาเล่าว่า เราอยู่ในnational program   เราต้องมั่นใจผู้อำนวยการเราเมื่อเจอกับประเทศอื่น เราหวังเป็นexpert  บริหารดี  มีความสุขในการทำงาน  ต้องประสานงานเก่ง  คิดเป็นระบบ   เรื่องที่ทำยากคือสอนเก่ง  สื่อสารเก่ง  ทำได้หลายบทบาท   ระวังความแตกแยกระหว่างtalent และnon talent  ควรปรับปรุงให้กลมกลืนกับงานประจำ

 

นพ.โสภณ   การที่น้องๆมาอยู่ในโครงการจะได้โอกาสดี มีเครือข่าย  ทำให้คนมีความสามรถทำได้หลายอย่าง  ให้เอาใจเขามาใส่ใจเราเพราะการทำงานบางครั้งมีข้อจำกัด  มีกัลยาณมิตรคือพี่เลี้ยง  ในกรมมีโอกาสมากมาย

 

อจ วันทนีย์อยากให้น้องเลี้ยงบอกข้อจำกัด

พญ.อรรถยา  อยากให้ดูแลเรื่องการจัดการงบประมาณ  ดูแลความก้าวหน้า  จัดประชุมที่กรุงเทพและอยากทราบล่วงหน้าเพื่อการเตรียมการ

จักกฤษณ์  อยากให้สำเหนียกเพราะได้โอกาสจากพี่มากๆ  อยากอบรมแต่มีงานประจำมาก  ได้เครือข่ายดี

ดารณี   พี่เลี้ยงให้โอกาสและมีโอกาสเข้าร่วมจูนคอร์ส

ณัฐวุฒน์   มีพี่เลี้ยงเยอะและต้องรับเป็นหัวหน้า ทำให้มีเวลาน้อย

สีใส  มีโอกาสเอางานไปคุยกันในกลุ่ม  อุปสรรคคือชื่อโครงการทำให้คิดถูกตีกรอบ   ควรทำในแผนเดิมไม่แยกส่วน   โครงการอนุมัติช้า   ตัวชี้วัดไม่ชัดเจน  ผลลัพท์คืออะไร

 

นพ วิชัย  อยากให้ติดตามกลุ่มคนเหล่านี้ในระยะยาวว่าทำอะไรได้บ้าง   กัมพูชามีการพัฒนามากเวลาประชุมจะส่ง10paper ไทยส่ง1paper   โครงการนี้ต้นทุนสูง  คนเป็นน้องเลี้ยงน่าจะสามารถเป็นพี่เลี้ยงให้น้องได้  การประเมินน่าจะดูจากlogic model

 พญ อัจฉรา  อยากให้มีเจ้าของงาน  Talent ในกรมควบคุมโรค

อจ วันทนีย์  โครงการหวังได้นักวิชาการ ทำงานเป็นทีม

ดร อรพันธ์   เราประเมินอะไรเพื่อพี่เลี้ยงจะได้สนับสนุนถูก

อรรถยา   ระยะแรกอาจจะประเมินโดยมีproject report พี่เลี้ยงร่วมประเมิน  รวมทั้งผอ.ของน้องเลี้ยงกรอกข้อมูลเพื่อรู้เรื่องโครงการ

นพ. ศุภมิตร    ผู้บริหารควรได้ข้อมูลเหล่านี้   ที่จับต้องได้คือ 1 กรมจะบริหารโครงการอย่างไรเพื่อสร้างความต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม     2   กรมต้องทำให้ชัดเรื่องผลของโครงการคืออไร   หลักคือพัฒนาบุคลากรที่มีสมรรถนะสูง  ต้องมีคนมาร่วมกันทำโครงการให้ชัด   และสื่อสารถึงส่วนที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจและสนับสนุน

โสภณ    โครงการนี้เป็นโครงการระยะยาว  ทำให้คนทำงานได้  ทำดี ทำเก่ง  แพทย์และสัตว์แพทย์ที่มาเรียนจะเก่งขึ้น   การวัดควรวัดที่น้องโดยทบทวนตัวเอง

 

ผอ. กองการเจ้าหน้าที่  การใช้งบไม่เป็นไปตามที่ตั้งไว้  ไม่อยากให้เปลี่ยนผู้กำกับโครงการ  การดำเนินการในรุ่น2   อย่างไร   คนที่เข้าจะมีผลประโยชน์อะไรให้บ้าง

นางบงกช   โครงการมปัญหาเพราะจัดติดกันทำให้ยืมเงินไม่สะดวก  ต้องออกเงินไปก่อน  เหนื่อยในการจัดการ

พ อัจฉรา  อยากให้พัฒนาระบบบริหารภายในองค์กรร่วมกับโครงการTM

พ.วิชัย    เราต้องช่วยกันทุกระดับ

พ พรศักดิ์   เป็นโครงการมีประโยชน์   กรมควรให้เงินมาสำรอง

 

เวลา 14.00 - 16.30 น.      บรรยาย เรื่อง “การสืบค้นข้อมูลทางวิชาการในงานสาธารณสุขและการใช้ ENDNOTE”

โดย      นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร     นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักระบาดวิทยา       

 

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม  2553

 

 เวลา 8.30 - 10.30 น. อภิปราย  “การติดตามประเมินผล โครงการภาพรวมในรอบ 6 เดือน (ธ.ค. 52- พ.ค. 53)”

โดย      แพทย์หญิงอัจฉรา เชาวะวณิช        ผู้จัดการโครงการบริหารจัดการผู้มีสมรรถนะสูง       นางสาววันทนีย์ วัฒนาสุรกิตต์                   นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ   สำนักระบาดวิทยา   นพโสภณ   สำนักระบาดวิทยา

นส วันทนีย์   กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ  ผลผลิต  มีรายงานสภาพปัญหาและการสร้างทีม  จะประเมินโดยดูกระบวนการที่ลงไปมีผลอย่างไร  วันนี้จะดู Process  และต้องการมีขบวนการmonitoring  

ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตร  มีส่วนที่บังคับและเฉพาะทาง

  ข้อมูลของนักศึกษา ความรู้เฉพาะทางอบรม2/8  ดูการอบรมเชิงลึก  การเข้าร่วมประชุมครบวัน  การพบปะกับพี่เลี้ยง

โสภณ     วิสัยทัศน์กรมมีต่างประเทศและน่าเชื่อภือ  ควรเรียนภาษาอังกฤษ    และควรทดสอบตัวน้องก่อน

พ. ฉายศรี   เราควรsmartในfield ของเราเอง    อยากให้น้องได้เรียนเกี่ยวกับผู้ป่วยเพื่อเห็นวงจรของงาน

พ .พรศักดิ์   ต้องรู้ลึก  ไม่จำคนอื่นมาพูด   อาจจัด study tour ให้เห็นตัวโรค ผลกระทบ

ดร อรพันธ์  EN oct มีข้อจำกัด   เช่นอาจดูเรื่อง  indoor air มากกว่าเห็น case

Talent  ต้องชำนาญบางอย่างเช่น End  Note

 

Project   อวันทนีย์   หัวข้อที่ศึกษา  น้องอาจไม่ถนัด หรือผอ.ไม่อยากให้ทำ   ให้ผอ.สำนักเสนอเพื่อโครงการผ่านอย่างราบรื่น

การบริหารเวลาในการใช้งบประมาณ   นพ วิชัยให้เราเริ่มและคัดเร็วขึ้นพร้อมหัวข้อ   ด้านที่ต้องการอาจขยายไม่มีกรอบ

นพ.โสภณ  บางเรื่องมหาวิทยาลัยอาจทำให้คุณภาพดีขึ้นเพราะมีบางคนอยากไปต่อเป็นปริญญาเอก   หลายเรื่องมหาวิทยาลัยมาดูงานที่เรา

 

การเลือกพี่เลี้ยง

นพ.จรูญถามเรื่องการให้เป็นโครงการระยะยาว  กรมมีโครงการที่ทำกับนพ.วีรศักดิ์   เป็นโครงการเฝ้าระวัง  ขณะนี้สคร12เป็นเจ้าของโครงการ   ทำแล้วคล้ายCoP

คุณสมบัติผู้เข้าสมัคร

อายุงานมากกว่า1ปี   อายุไม่เกิน45ปี  ให้น้องเก่งรอบตัว  ควรประชาสัมพันธ์ให้น้องรู้กิจกรรมในหลักสูตรก่อน   ผุ้บริหารถือเป็นหน้าที่ที่รู้ประวัติของน้องในองค์กร   การออกหนังสือเวียนไม่ขลัง ควรให้ท่านอธิบดีบอก   ควรมีstrategic focusเช่นเริองการประเมิน  แต่ละtract อยากให้มีแพทย์ 1  นวช 2

 

เวลา 10.15 - 12.00 น.      อภิปราย เรื่อง “ศิลปะและการผจญภัยในภาวการณ์เป็นผู้เชี่ยวชาญฯในกรมควบคุมโรค”

โดย       นายแพทย์จรูญ ปิรยะวราภรณ์        นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค

                                         นายแพทย์ วิชัย สติมัย    แพทย์หญิงอัจฉรา เชาวะวณิช          ผู้จัดการโครงการบริหารจัดการผู้มีสมรรถนะสูง

 

ท่านขอเล่าโดยให้เป็นประสบการณ์   ท่านอยู่กรม 37 ปี  เข้าใจเจตนากรมในการจัดดครงการนี้   คนที่จะควบคุมโรคต้องมี 4x4x4x4x4 คือ อิทธิบาท4  พรมวิหาร4  ……

ท่านให้ข้อคิดดังนี้   พี่เลี้ยงน้องเลี้ยงมีคุณค่าต่อองค์กร      ทำอะไรขอให้มุ่งมั่น อย่าเหมือนไฟไหม้ฟาง  การทำวิชาการถ้าไม่มองรอบข้างอาจมีปัญหาได้  

ท่านจบศิริราช  ไปใช้ทุนต่างจังหวัด  รุ่นพี่ชวนมาสมัครให้อยู่กรมในปี2518   ท่านไปเรียนสม.และTropical Medicine   จบแล้วตั้งใจอยู่มาเลเรียแต่ต้องมาทำกับกองโรคเรื้อนด้วยความโกรธ   เมื่อมาทำงานมีโอกาสทำงานกับท่านอจ.นพ.ธีระ รามสูตรโดยท่านเป็นmentor ที่ดีมาก  ท่านมีความสามารถหลายด้าน   ในปี2537มีโอกาสเข้าเฝ้า   งานที่มีผู้มีบารมีสนับสนุนจะสำเร็จได้ง่าย   ท่านเน้นเรื่องstrategic partner   ท่านได้สำรวจจำนวนคนไข้   จัดประชุมร่วมกับมข.  WHO   ทำโครงการประเมินติดตาม5ปี   สำรวจ4ภาคได้ตำเลข 4หมื่นคนซึ่งขณะนี้เหลือประมาณ1000คน   มีการใช้ยาrifam ซึ่งกินแล้วปัจสาวะแดง   เวลาถามก็ถามเรื่องปัสสาวะแดง

 นพ. วิชัย  สติมัย กล่าวว่าเป็นลูกศิษย์ท่านจรูญ   สิลปะที่จำเป็นคือบริหารเวลา   และการทำงานกับผู้บังคับบัญชา  ท่านให้ดูตัวอย่าวท่านจรูญที่ทำงานกับ ในหลวง  ท่านรมต, ท่านทราบจะทำกับคนนี้ต้องทำอย่างไร   ถ้าเราฝึกบ่อยๆงานจะสำเร็จ   เราไม่ต้องเป็นคนสำคัญทุกครั้งแต่งานสำเร็จ

พญ.อัจฉรา  เล่าถึงการทำงาน  เมื่อมีSARS   ต้องบริหารคน  เมื่อจัดตลาดนัดKM   ก็จัดให้ท่านอธิบดีไปดูกิจกรรมที่นำเสนอได้

นพโสภณ  ถามถึงความเปลี่ยนแปลงที่ต้องเผชิญต้องเตรียมรับอย่างไร   ท่านให้มองตัวเองให้ออก  สร้างสุขจากการทำงาน   อะไรทีอีก10ปี  พื้นที่ตามไม่ทัน   เราต้องเตรียมคนและเอาโครงการคุยกับระดับปฏิบัติการของสภาพัฒน์  เรามี2ยุทธศาสตร์คือ chronic disease  และ Public health immergency response  เวลาไปเจรจรต่อรองต้องตรงประเด็น   พัฒนาตนเองไม่ให้มีความต้องการมากจะคุยง่าย  ถ้าคนเราน้อยลง ต้องทำให้คนเรามีnegotiation สูง   ท่านไปทำเครือข่ายภาคใต้กับมอ.  การประสานกับสปสช สสส   เราต้องเตรียมคนที่มีทักษะการประเมินด้วย

หมายเลขบันทึก: 372290เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2010 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท