411 ตามรอยสวามีนารายัน


ทำจึงรู้

ตามรอยสวามี 

ไม่น่าเชื่อว่าหลังจากที่ได้ไปเยี่ยมชมอักชารดาห์ม ได้ชมนิทรรศการที่น่าสนใจครั้งนี้แล้ว ผมยังมีโอกาสได้พบสวามีผู้นำนิกายฮินดูผู้ก่อสร้างสิ่งมหัศจรรย์ Akshardham ด้วย ซึ่งจะนำมาเล่ากันต่อไปในโอกาสหน้า เหตุการณ์ต่างๆ นี้ทำให้ผมเกิดความพิศวงแกมประทับใจในความเป็นฮินดูที่เคร่ง และอยากจะศึกษาและเข้าใจฮินดูและนิกายนี้มากขึ้น จึงได้ค้นหาคำอธิบายสั้นๆ จากเว็บของนิกายสวามีนานายัน คัดเลือกมาเพียงบางข้อซึ่งพอจะทำให้เข้าใจนิกายนี้ได้บ้าง เป็นการตามรอยสวามี ดังนี้

ภาพได้รับอนุญาตจากอักชารดาห์ม

ถาม-ฮินดูคืออะไร

ตอบ-Hinduism หรือ Sanatan Dharma เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เป็นศาสนาของคนอินเดีย ศาสนานี้กำเนิดก่อนที่มนุษย์จะบันทึกประวัติศาสตร์และไม่ปรากฏว่ามนุษย์เป็นผู้สร้าง

ตามบันทึกในพระเวท ระบุว่า เมื่อ 6 พันถึง 1 หมื่นปีที่แล้ว ฮินดูถือว่าศาสนาที่เก่าแก่ ในปัจจุบันมีคนฮินดูเกือบ 1 พันล้านคนในโลก ซึ่งเท่ากับว่าในทุก 6 คนบนโลกนี้ 1 คนเป็นฮินดู การบูชาตามศาสนาฮินดูมีพิธีกรรมมากมายและมีผู้มาร่วมบูชามากมาย เช่นเทศกาลบูชา Kumbhmelã มีคนร่วมพิธีบูชามากกว่า 45 ล้านคน และใช้ศาสนาสถานนับล้านแห่ง

ฮินดูนับถือพระเวทเป็นคัมภีร์สูงสุด รวมทั้งยึดถือหลักการที่ว่า Unity in Diversity เอกภาพในความหลากหลาย

ลักษณะของฮินดู ก็คือลักษณะที่เห็นข้างนอกคือพิธีกรรมและการบูชา ธรรมเนียมประเพณีและวิถีสังคมคือสิ่งที่ฮินดูยึดถือปฏิบัติ และลักษณะภายในคือ ศรัทธาและความเชื่อในใจ

เกี่ยวกับพระเจ้า

แม้จะยอมรับเทพเจ้าว่ามีหลายองค์แต่ก็นับถือว่ามีพระเจ้าสูงสุดองค์เดียว ฮินดูระบุว่าพระเจ้าอวตารลงมาบนโลกมนุษย์เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ โดยสื่อผ่านรูปเสมือน murtis ของพระเจ้า

เกี่ยวกับอาตมัน  Ãtma (วิญญาน)

เชื่อว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีวิญญานหรืออตมัน soul หรือ ãtma เป็นนิรันดร์ ไม่เปลี่ยนแปลงและสามารถเข้าถึงพระเจ้าได้

ฮินดูเชื่อในเรื่องกรรม  

ถาม-ใครคือฮินดู

ตอบ-คือผู้นับถือศาสนาฮินดู ศาสนาพื้นเมืองของชาวอินเดีย

คำว่าฮินดูมาจากคำในภาษาเปอร์เชีย ในสมัยโบราณหมายถึงคนที่อาศัยในฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสินธุหรือฮินดัส เมื่ออินเดียถูกรุกรานโดยมุสลิมและตามมาโดยอังกฤษ ที่คำว่าฮินดูถูกนำมาใช้ในอินเดีย

ก่อนหน้านั้นคนพื้นเมืองเรียกศาสนาของตนว่า  ‘Sanãtan Dharma’ หมายถึง ศาสนาที่นิรันดร์ the Eternal Religion ด้วยเหตุผลว่าสัจธรรมของศาสนานี้คือสัจธรรมตลอดกาล ก่อนที่จักรวาลจะเกิดและแม้จักรวาลปัจจุบันจะเสื่อมสลายไป สัจธรรมนี้ก็จะยังคงอยู่ต่อไป 

 

ถาม-อะไรคืออหิงสา  Ahinsã

ตอบ-อหิสา มิใช่เพียงไม่ใช้ความรุนแรง แต่หมายถึงการเคารพในชีวิตและสันติภาพ การอยู่อย่างมีความสุขด้วย โดยจะต้องไม่คิดที่จะเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ใช้วาจาส่อเสียด ไม่ใช้กำลัง(ทางกาย) ต่อผู้อื่น

ที่เห็นชัดคือการเป็นมังสะวิรัติ ไม่ทานเนื้อสัตว์ทุกชนิดเพราะเคารพในชีวิตของผู้อื่น

 

ถาม-การทำความเคารพแบบฮินดู Charan Sparsh คืออย่างไร

ตอบ-Charan Sparsh คือการทำความเคารพแบบฮินดูโดยการก้มหัวและตัวลงเอามือแตะที่เท้าของผู้ที่เคารพ คำว่า Charan Sparsh คือการแตะเท้า  Charan คือเท้า ‘feet’ และ sparsh หมายถึงการแตะสัมผัส  ‘touch’

โดยมากนิยมทำกับผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ อาจารย์ ผู้นับถือและสาธุซึ่งจะใช้ทั้งมือแตะ ซึ่งผู้รับก็จะก้มตัวลงเอามือแตะที่ศรีษะ การทำความเคารพแบบนี้ทำทุกครั้งที่ได้พบกับบุคคลและในโอกาสสำคัญของชีวิตและเทศกาล

บางกรณี ในการทำความเคารพ ก็จะกล่าวแนะนำตัวเองและวรรณะของครอบครัวด้วยก็ได้

ในอินเดียมีวิธีการแสดงความเคารพ 5 แบบ

Pratuthana -  ลุกขึ้นยืนให้เกียรติ

Namaskara - ไหว้

Upasangrahan - แตะเท้าผู้ใหญ่หรืออาจารย์

Sashtanga – เต็มรูปแบบด้วยเท้า เข่า ท้อง หน้าอก หน้าผากและแขน Pratyabhivadana - การทำความเคารพตอบ

 

ถาม-วัดฮินดู mandir คืออะไร

ตอบ-Mandir คือสถานที่ชาวฮินดูบูชาพระเจ้า

ในภาษาสันสกฤต  Mandir คือที่ที่ใจสงบ วิญญาณเป็นอิสระเสรีเต็มไปด้วยสันติสุข รื่นรมย์และสบาย เป็นสถานที่ที่ผู้คนจะลืมความความแตกต่างระหว่างกันและพร้อมที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

โรงเรียนมีไว้เพื่อให้ความรู้ โรงพยาบาลมีไว้รักษาโรค หรือสถานที่บันเทิงเริงรมย์ก็มีไว้ให้ความสนุกสนานแก่จิตใจ แต่ที่ใดเล่าที่จะให้ความรู้แก่จิต รักษาจิตและให้ความสงบแก่จิต นั้นคือวัด mandir ซึ่งเป็นเสมือนศูนย์กลางเรียนรู้เกี่ยวกับมนุษย์ ธรรมชาติและพระเจ้า  เป็นสถานที่คนมาฉลองในเทศกาลและมารักษาใจที่ทุกข์ระทม เป็นสถานที่รวมศิลปะชั้นยอด ดนตรีชั้นเยี่ยม วรรณกรรมและรูปปั้นที่งดงามถวายแด่พระเจ้า

 

ถาม-ทำไมต้องสร้างวัดที่ใหญ่โต เสียเงินเสียทองมากมาย

ตอบ-ให้นึกถึงการสร้างบ้านสำหรับครอบครัว เพื่อเป็นที่พักหลับนอนซึ่งถือว่ามีความสำคัญ ต้องเก็บเงินทอง ทุ่มเททั้งชีวิตกว่าจะมีบ้านที่พอใจสมบูรณ์

สำหรับผู้ที่บูชาพระเจ้า ก็เช่นเดียวกัน ก็ทุ่มเททั้งชีวิตเพื่อจะสร้างบ้านให้พระเจ้า ความรู้สึกนี้มีมาแต่โบราณแล้วในการสร้างวัดสำหรับบูชาพระเจ้า ที่เรียกว่า Shilpa Shastras

เปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ สร้างอนุสาวรีย์ใหญ่โตเพื่อให้คนได้เห็นและชื่นชมผู้สร้างและสถาปัตยกรรม ซึ่งก็เพื่อความภูมิใจและเกียรติภูมิของประเทศ เช่นเดียวกับการสร้างวัดฮินดู

การสร้างวัดมากมายก็เพื่อที่จะตอบสนองคนที่นับถือที่อยู่ตามที่ต่างๆ ทั้งในอินเดียและในต่างประเทศจะได้สามารถไปวัดได้สะดวกเพื่อรักษาจิตใจ พัฒนาจิตใจได้วัดสำคัญอย่างไรกับสังคม

วัดเป็นศูนย์กลางของสังคม ทั้งด้านศาสนา วัฒนธรรม การกุศล ในการจัดกิจกรรมต่างๆ  

ถาม-ผู้นับถือสวามีนารายันต้องปฏิบัติตนอย่างไร

ตอบ-ข้อปฏิบัติ 5 ข้อที่สำคัญคือ

ยึดถือสัจธรรม

มีความกรุณาและเมตตา

สันติ ไม่ใช้ความรุนแรง

เคร่งครัดในพรหมจรรย์

ไม่ลักขโมย

ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติของฮินดูที่จะต้องยึดถือปฏิบัติทุกวัน นอกจากนั้นยังต้องไม่ดื่นเหล้าและเนื้อทุกชนิด ไม่ประพฤติผิดในกาม และต้องมีสัมมาทิฐิ ศึกษาธรรมะ สันโดษ ละเว้นจากกิเลสทางโลกและที่สำคัญต้องบูชาพระเจ้า

ฮินดูนั้นถือว่าสัตว์กับมนุษย์ไม่ต่างกันจนกว่ามนุษย์จะถือข้อปฏิบัติทั้ง 5 จึงจะเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐและต่างจากสัตว์

นอกจากนั้น มนุษย์ทั่วไป หากได้ยึดถือหลัก 4 ประการ เพิ่มเติมคือสัมมาทิฐิ ศึกษาธรรมะ สันโดษ ละเว้นจากกิเลสทางโลกและที่สำคัญบูชาพระเจ้า จึงจะถือว่าเป็นสาวกของพระเจ้า

ส่วนสาวกของสวามี จะต้องไม่

1. ไม่ดื่มเหล้า

2.ไม่ทานเนื้อสัตว์ทุกชนิด

3.ไม่ขโมย

4.ไม่ประพฤติผิดในกาม

5.รักษาศีลให้บริสุทธิ์

รายละเอียดเพิ่มเติมคือ ไม่ทานหัวหอม กระเทียม เพราะจะทำให้กิเลสกำเริบ ไม่ทานสิ่งเสพติดทั้งหลายที่มีสารนิโคติน บุหรี่ กัญชา

เคารพผู้ปกครองและอาวุโส

บริจาคทรัพย์ 1 ใน สิบ หรือ 1 ในยี่สิบให้กับองค์กรของนิกาย

ศึกษาท่องหลักธรรมของสวามีทุกวัน

ร่วมกิจกรรมศาสนาของนิกายที่วัดสม่ำเสมอทุกสัปดาห์เพื่อที่จะได้เข้าถึงสัจธรรมมากขึ้น

ต้องอดอาหารในทุกวันที่ 11  ของครึ่งเดือนจันทรคติ ทั้งนี้ความเคร่งของการอดอาหารขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละคนด้วย

ต้องทุมเทพลังศรัทธาให้กับพระเจ้าเท่านั้น

ต้องสวดบูชาทุกเช้า หลังจากอาบน้ำและก่อนที่จะทานอาหารหรือดื่มน้ำ

ต้องทำการบูชาด้วยไฟ arti  ทุกวันที่บ้านหรือที่วัด

ถวายอาหาร thal แก่พระเจ้าทุกวัน ก่อนที่จะทาน

สวดมนต์บูชาสวามีทุกวัน

ต้องบูชาโดยการระลึก (ทางจิต) ถึงพระเจ้าทุกวัน

ต้องขับร้อง kirtans เสมอๆ คือคำร้องสำหรับบูชาสวามี

ต้องไปสักการะบูชาพระเจ้าที่วัด

ต้องอาสาทำงานกุศลเพื่อพระเจ้า งานได้แก่ ดูแลวัด เตรียมอาหาร เสริ์ฟอาหาร ล้างจานชาม ตกแต่งสถานที่ ธุรการ ฯลฯ

ต้องร่วมกันสวดมนต์ในบ้านทุกวัน Ghar Asbha ก่อนบูชาพระเจ้าครึ่ง ชม. โดยการอ่านหลักธรรม สนทนากันและทำความเข้าใจกัน

รวมทั้งฉลองตามเทศกาลต่างๆ ของฮินดู เช่นวันเกิด ดิวาลี เป็นต้น

หลักปฏิบัติเหล่านี้อยู่ในคัมภีร์ Shikshapatri  212 บท เขียนโดยสวามี เพื่อให้เป็นหลักปฏิบัติของสาวก

หลักศรัทธา  Sadhana คือการที่กระทำที่ให้พระเจ้าพอใจ ก็จะทำให้พ้นภัยหรือพ้นบาปนั้นได้

 

ถาม-จะเข้าร่วมนิกายได้อย่างไร

ตอบ-ได้โดยเข้าพิธี Vartman คือรับลูกประคำทำด้วยไม้ มาคล้องคอ และตั้งใจจะเชื่อฟังสวามี ทั้งนี้จะไปที่องค์กรเพื่อพบสาธุหรือสาวกอาวุโสก็ได้ สำหรับสตรีก็ทำได้แบบเดียวกันโดยผ่านทางสาวกสตรีอาวุโส

ในพิธีจะมีการรดน้ำมนต์ลงในอุ้งมือขวา สาธุจะสวดคาถา ผู้รับสวดว่าตาม ดังนี้

Kal maya pap karma yam-doot bhayadaham,

Swaminarayan-sharanam prapannosmi sa patu mam.

(I take refuge of Bhagwan Swaminarayan. May He deliver me from the fear of kal, maya, sin, karma, and evil. May He protect me.)

จากนั้นคล้องลูกประคำ เป็นอันเสร็จพิธี

จุดประสงค์ที่ให้มีพิธีนี้ก็เพื่อทำให้ใจบริสุทธิ์ก่อนจะยอมรับพระเจ้า การเทน้ำบนมือขาวก็เหมือนกับการให้สัตยาบันแก่ ซึ่งเป็นเทพแห่งน้ำ Varundev ให้เป็นพยาน

  

ถาม-มูลนิธิ BAPS Swaminarayan Sanstha ตั้งขึ้นเมื่อไหร่และโดยใคร

ตอบ-Swaminarayan Sampraday กำเนิดเมื่อภควันสวามีนารายัน Bhagwan Swaminarayan ถือกำเนิดมาสู่โลกในวันที่ 2  เมษายน 1781 ตลอดชีวิต Bhagwan Swaminarayan ดำรงชีพด้วยความบริสุทธิ์ ก่อตั้งสาธุ (พระ)ที่ทำงานเพื่อพระเจ้า จนถึงวาระสุดท้าย นอกจากนั้นได้กำหนดผู้สือทอดคำสอนอีกหลายรุ่น ได้แก่องค์ที่ 1 สวามี  Gunatitanand Swami  องค์ที่สองสวามี Pragji Bhakta   องค์ที่สาม สวามี  Shastri Yagnapurushdas (หรือเป็นที่รู้จักแพร่หลายในนาม Shastriji Maharaj) สวามี Shastriji Maharaj ก่อตั้งวัดอีกหลายแห่ง แห่งแรกเริ่มที่ Bochasan เมืองเล็กๆ ใกล้  Anand ในรัฐ Gujarat ทางตะวันตกของอินเดีย พิธีเปิดวัด Bochasan เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 1907 ถือเป็นวันกำเนิดขององค์กร    Bochasanwasi Shri Akshar Purushottam Swaminarayan Sanstha (BAPS) ด้วย องค์ที่ 4 สวามี Yogiji Maharaj ผู้ซึ่งเผยแพร่คำสอนไปในต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ทำให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย  

มีผู้ศรัทธา มากกว่า 1 ล้านคน 680 สาธุ และมีสมาชิกที่ช่วยดำเนินงานมากกว่าสี่หมื่นห้าพันคน

.....................................

เป็นอย่างไรบ้างครับ นิกายนี้ พอจะให้ความรู้เปรียบเทียบกับพุทธของเราไหมเอ่ย

หมายเลขบันทึก: 372286เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2010 20:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

มาตามรอยท่านพระสวามี ต่อค่ะท่านเอกฯ ตะลึงกับภาพแรก งดงาม สะกดใจมากๆ ค่ะ ;)

อ่านคำสอน หลักการสำหรับสาวกแล้วก็คล้ายๆ กับศีล ๕ พุทธศาสนาค่ะ รักษาศีล ทำจิตใจให้บริสุทธิ์

ในส่วนพิธีกรรม คำสวด คล้ายๆ มีส่วนผสมของศาสนาอิสลาม คริสต์ ด้วยนะคะเนี่ย ขอบคุณค่ะ

P poo ครับ
อักชารดาห์มนั้นสวยงามมาก เสียดายที่ว่าห้ามนำกล้องถ่ายภาพ มือถือเข้าไปข้างในครับ
เลยได้แต่ภาพที่อนุญาตให้เผยแพร่มาฝากกัน
คำสอนนั้นเน้นการปฏิบัติ ที่ชอบคือการปฏิบัติในครอบครัวและในชีวิตประจำวัน
แต่ก็อย่างวาครับ ข้อปฏิบัตินั้นส่วนใหญ่ดี แต่ผู้คนไม่ค่อยจะนำไปปฏิบัติตาม
ก็นับว่าเป็นความเก่งของนิกายนี้ที่สามารถทำให้ผู้คนศรัทธาและปฏิบัติตามได้อย่างน่าชื่นชม
ศรัทะนี้เองที่เป็นที่ต้องการในสังคมไทยเช่นกันครับ บางทีอาจจะหย่อนกันเกินไปไหมครับ

เพิ่งกลับมาจาก Kauaii ค่ะ ขอมาลงชื่อไว้ก่อน ...ขอบคุณค่ะ

คุณพลเดชคะ

ทีแรกว่าจะนอนก่อนพอตื่นพรุ่งนี้เช้าแล้วจะอ่านข้อเขียนของคุณ แต่ความที่เวลาที่ฮาวายช้ากว่าคาลิเฟอเนีย 3 ชั่วโมง ยังปรับตัวให้เป็นเวลาของที่นี่ไม่ได้ เลยยังตาสว่างอยู่ ไม่น่าเชื่อนะคะ ไปแค่สองอาทิตย์เอง...

ได้อ่านบันทึก407-จนถึง 410 ก็มีคำถามให้ตัวเองว่าฮินดูคืออะไร? พอมาอ่าน บันทึก 411 ก็ได้คำตอบจากคุณ ฮ่า ฮ่า...เหมือนรู้ใจจังเลย ขอขอบคุณค่ะ

อ่านบันทึกของคุณแล้วเข้าใจง่ายดีค่ะ เลยไม่มีคำถามอะไร แต่ชื่นชมฝีมือคนไทยนะคะ คนไทยเราเก่งเรื่องงานฝีมือมาแต่ดึกดำบรรพ์.

น้าจ้าครับ

แหม ขอบคุณนะครับที่ติดตามอ่านข้อเขียนของผม แม้จะยังปรับตัวเรื่องเวลาไม่ได้

ที่ผมได้จากเรื่องราวต่างๆ นี้ก็คือความศรัทธาของคนที่มีต่อผู้นำของเขา

ไม่จำกัดว่าศาสนาใด ลัทธิใด นิกายใด แต่การที่คนศรัทธา มุ่งมั่นในการทำความดีตามแบบของเขา ทำให้เราอดปลื้มใจไม่ได้

หันมามองสังคมไทย เห็นชัดถึงความขาดศรัทธาตัวนี้ ทำให้ทุกอย่างรวนเรไปหมด

จะมีวิธีไหนที่จะสร้างหรือนำศรัทธาของคนไทยให้กลับคืนมา ต้องช่วยกันคิดครับ

ปล.สนุกไหมครับไปเที่ยวมา

เนตรนารายณ์ เหล่าวัฒนธรรม

สวัสดีคะ

         ได้มีโอกาสคลิกเข้ามาดูวัด สวามีนารายัน และได้อ่านข้อความต่างๆ ที่ได้โพส์ตไว้ ทำให้ได้เห็นว่าในสังคมปัจจุบัน

ยังหลงเหลือคนดีๆ อีกมาก เพียงแต่ไม่ได้มาแสดงตัว หรืออวดให้ผู้อื่นได้เห็นก็ตาม ถูกใจมากกับคำที่ว่า "วัดเป็นที่เยียวยา รักษาใจ"รักษาใจที่ทุกข์ระทม ถ้าเป็นวัยรุ่นก็ต้องบอกว่าโดนใจมากๆๆ เพราะกว่ามนุษย์จะรู้และเข้าใจในชีวิต คงต้องกินเวลา ไปค่อนชีวิต จะมีสักกี่ผู้คนที่ไหวตัวได้ทัน และยอมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมที่ไม่ดีให้หันมาทำความเข้าใจ และแก้ไขให้เกิดสิ่ง ดีๆๆ คงต้องขึ้นอยู่กับบุญกุศล และ กรรมที่ทำมา ไม่ว่าจะเป็นเช่นไรขอให้ทำในสิ่งดีๆกับคนรอบข้างอยู่เสมอโดยไม่ต้องรอว่า จะได้รับการตอบสนอง ขอเพียงแค่ทำดี จิตของเราเองก็จะผ่องใสไม่หนัก ใจของเราจะเบาสะบาย แบบสะบายๆๆๆๆๆ55555555++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                                                                                  หวังว่าคงได้รับความคิดจากคุณบ้าง


                                                                                    เนตรนารายณ์  เหล่าวัฒนธรรม                          

เนตรนารายณ์ เหล่าวัฒนธรรม

ขอบคุณครับที่ติดตามอ่าน 

ยังมีคนดีๆ อยู่ในโลกนี้แน่นอนครับ และขอให้เชื่อมั่นว่าคนดีก็ย่อมดึงดูดคนดีให้มากพบกัน รู้จักกัน เพราะกฏธรรมชาติ พลังบวกย่อมดึงดูดให้เกิดพลังบวก และพลังลบก็ดึงดูดในขั้วเดียวกัน การจัดการพลังในใจขึ้นอยู่กับเราเอง

ชีวิตคนเราในทุกขณะ คือการจัดการพลังขั้วบวกและขั้วลบในใจเราทั้งนั้น ก็ต้องรู้วิธี ฝึกฝนกันไป ผิดพลาดไปบ้างก็ขอให้ความผิดพลาดนั้นเป็นบทเรียนที่จะปรับปรุงหรือแก้ตัวในโอกาสต่อไป ในปุถุชน ไม่มีใครดีร้อยเปอร์เซนต์และเช่นเดียวกันไม่มีใครเลวร้อยเปอร์เซนต์ ขอให้ดูสัญญลักษณ์หยิงหยางนะครับ ในขาวมีดำ ในดำมีขาว เป็นธรรมชาติครับ แต่ทั้งหมดนี้ หากมีปัญญา ก็สามารถทิ้งทั้งขาวและดำได้ในที่สุด

หากเรารักตัวเอง ก็ต้องทำความดีเองครับ ไม่มีใครทำให้เราเท่ากับตัวเราเองทำ ยิ่งทำยิ่งได้ และยิ่งสามารถแผ่กุศลให้คนอื่นได้ครับ

ท้ายสุด อย่าประมาทในชีวิตครับ ทำวันนี้ให้เป้นวันสุดท้ายที่โชคดีที่สุด แล้วพรุ่งนี้จะมาหรือไม่มาก็ช่างมันครับ

เจริญสุขครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท