ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

พืชใบด่างสร้างอาหารได้หรือไม่


ความตกใจที่คุ้น ๆ เคย

พืชเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์มากใช่หรือไม่นักเรียน... คำนี้ที่ครูกล่าวขึ้นต้น ทำให้นักเรียนงงและสังสัยมาก ทำไมครูขึ้นต้นมาก็เอ่ยประโยคดังกล่าว  แทนที่ครูจะกล่าวประโยคที่สอดคล้องกับหนังสือเรียน

   "นักเรียนลองมองออกไปนอกหน้าต่างดูซิ นักเรียนเห็นต้นไม้หรือไม่ มันมีสีอะไร"

    "และวันนี้นักเรียนได้เตรียมใบไม้สีอะไรมาบ้าง สีเขียวที่นักเรียนเห็น น่าจะเกี่ยวข้องกับการสร้างอาหารของพืชได้หรือไม่"

    นักเรียนต่างก็ชูใบไม้ชนิดต่าง ๆ ที่นักเรียนได้เตรียมมาจากบ้าน

   "วันนี้เราจะทำการตรวจสอบว่า ใบไม้ที่มีสีเขียว กับใบไม้ที่มีสีขาวด่าง หรือ สีอื่น ๆ จะพบอาหารที่ใบหรือไม่"

    "ครูคงไม่บอกอีกนะว่า จะทำอย่างไรจึงจะทราบว่าอาหารที่เป็นแป้งทดสอบอบ่างไร"

   "ครูครับมันไม่ใช่เผือกครับที่ผมจะผ่าแล้วเห็นเนื้อ  จึงจะหยดไอโอดีนลงไป"

   "ว้าวเป็นประโยคที่ครูต้องการได้ยินพอดี"

   "ครูมีวิธีที่จะทำการพิสูจน์แป้งที่ใบ มันอาจจะยุ่งยากหน่อย แต่ก็สนุกท้าทายไม่ใช่เล่นเลย  นักเรียนพร้อมที่จะทำการทดลองที่ยากที่สุดในชั้นป ๔ ได้หรือยัง"

นักเรียนจัดเตรียมอุปกรณ์ตาม Direction Lab และเลือกใช้อุปกรณ์ที่นักเรียนคิดว่าเหมาะสม

  ครูอธิบายและชี้แจงข้อพึงระวังต่าง ๆ แก่นักเรียนโดยเฉพาะการใช้แอลกอฮอล์ และตะเกียง

    ครูทำการสาธิตอย่างคร่าว ๆ ให้นักเรียนดูถึงขั้นตอนปฏิบัติการโดยใช้เวลาประมาณ 5 นาทีของการสาธิตที่ไม่ต้องรอบางอย่าง

   นักเรียนพร้อมแล้วก็เริ่มดำเนินการ

    ๑.นำดอกไม้ด่างมาวาดรูประบายสีตามที่สังเกตได้

    ๒.นำใบไม้มาต้มในน้ำเดือดประมาณ ๒ - ๓ นาที

    ๓.ใส่ใบไม่ที่ต้มแล้วลงในหลอดทดลองที่มีเอทิลแอลกอฮอลล์ ๗๐ - ๙๔ % ต้มใจใบซีดขาว

   ๔.นำใบไม้ที่ต้มด้วยแอลกอฮอล์ไปล้างด้วยน้ำเปล่า แล้วหยดทิงเจอร์ไอโอดีน ๒ % ลงไป สังเกตการเปลี่ยนสี  วาดภาพ

    ขณะที่กำลังทำการทดลอง สิ่งที่ครูพยามย้ำเตื่อนก็เกิดขึ้น

  

ไฟลุกท่วม

    มันเป็นเหตุการณ์ที่ครูพยายามอยากให้เกิด มากกว่าการไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ครูจะใช้สถานะการณ์ดังกล่าวได้สอนศิษย์ ที่รั้น ... ด้วยเหตุ แต่ครูจำเป็นต้องคุ้นเคยกับเหตุการณ์แบบนี้บ่อย ๆ ห้ามตกใจ

     เพราะความตกใจอาจจะทำให้นักเรียนไม่อยากที่จะทดลองอีกต่อไป

 

 

จากเหตุการณ์ดังกล่าวพบข้อสังเกตได้ว่า 

๑.นักเรียนเลือกขนาดของบิกเกอร์น้ำที่เล็กเกิน

ไป (เหตุผลที่นักเรียนเลือก เนื่องจากบีกเกอร์เล็กจะทำให้น้ำเดือดเร็วกว่า)

๒.ปริมาณเปลวไฟที่มากกว่าปกติเนื่องจากนักเรียนดึงใส้ที่ยาวมากเกินไป (เหตุผลที่นักเรียนกระทำดังเช่นข้อ ๑)

 ๓.เติมปริมาณแอลกอฮอลในหลอดทดลองที่มากเกิน โดยไม่คาดคะเนเวลาที่แอลกอฮอลล์เดือด (เหตุผล กลัวว่าใบพืชจะลอย)

  ๔.และเหตุผลอื่น ๆ ของนักเรียนที่พยามยามใช้เวลาอันสั้นในดารดำเนินการ

  การดับเปลวไฟที่ปลายหลอดทดลอง มีวิธีที่ง่ายคือ ใช้จุกของตะเกียงครอบที่ปลายหลอดทดลอง ไฟก็ดับได้โดยง่าย

  หลอดทดลองที่มีคุณภาพจะทนความร้อนและทนต่อการแตกระเบิดจากไฟที่ติดได้ นี่เป็นสิ่งที่ต้องวางแผนล่วงหน้าได้ว่าอันตรายจะเกิดขึ้น และเมื่อเกิดขึ้นก็ควบคุมได้ หรือ Control Lab ได้

คำสำคัญ (Tags): #elc
หมายเลขบันทึก: 371475เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2010 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โครงสร้างภายในของคลอโรพลาส

ทีมาhttp://www.emc.maricopa.edu/faculty/farabee/biobk/biobookps.html

แล้วคลอโรพลาสอยู่ในส่วนใดของพืช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท