รพ.หนองม่วง
รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง

การประชุมวิชาการ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 12


แบ่งปันความรู้จากการประชุมวิชาการ

"สวัสดีค่ะ" ชาวหนองม่วงทุกท่าน เป็นโอกาสดีที่เราจะได้มาแบ่งปันความรู้จากการประชุมวิชาการ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 12 วันที่ 21-25 มิ.ย.2553 จัดประชุมโดยสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ พวกเราชาวER ได้รับโอกาสไปประชุมวิชาการที่ถือได้ว่าเป็นการรวมพี่น้องชาวERจากทั่วประเทศทั้งแพทย์ พยาบาล ที่จะจัดขึ้นปีละหนึ่งครั้ง ในการจัดประชุมครั้งนี้ได้จัดให้มีส่วนของเนื้อหาวิชาการและการนำเสนอผลงานวิชาการที่คัดจากผลงานวิชาการจากพี่น้องชาวERทั่วประเทศ การประชุมทั้ง 5 วันมีเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์มากมาย เพื่อนำความรู้มาพัฒนางานของเราในการเพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น ดึงนั้นหากจะนำมาเสนอเนื้อหาทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ในโอกาสนี้ จึงขอนำเสนอ 2 ประเด็นที่คิดว่าพวกเราคงได้ประโยชน์เป็นอย่างยิ่งในหัวข้อดังนี้ ได้แก่

   1.ประสบการณ์การประยุกต์ใช้แนวคิด LEAN ในทางคลินิก(รวดเร็วลดรอยต่อเพื่อผู้ป่วยอุบัติเหตุ

  2.การวางแผนจำหน่ายใน ER

 จากเนื้อหาดังกล่าวได้เขียนไว้ให้ชาวหนองม่วงอ่านเป็นเรื่องๆความรู้วันนี้ที่มาแบ่งปันเป็นเพียงหนึ่งในเนื้อหาที่เราได้รับ ถ้าอย่างไรชาวหนองม่วงท่านใดว่างก็แวะมาที่ERได้นะคะ เรายังมีนวัตถกรรมจากแนวคิดที่ได้ประชุมครั้งนี้มาพัฒนางานอีกด้วย หรือหากสงสัย มีคำถามก็มาพบหัวหน้าแผนกฉุกเฉินของเราได้เพราะเรามีคำตอบและรอยยิ้มให้กับทุกท่านเสมอ.... ว่างเมื่อไหร่ก็แวะมาแวะมาที่ฉุกเฉิน

 1.ประสบการณ์การประยุกต์ใช้แนวคิด LEAN ในทางคลินิก(รวดเร็วลดรอยต่อเพื่อผู้ป่วยอุบัติเหตุ

  Lean คืออะไร แนวคิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ของบริษัทโตโยต้า เพื่อลดขั้นตอน ลดความซ้ำซ้อนในการทำงานที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าในมุมมองของผู้ป่วย ทั้งยังลดต้นทุน และเพิ่มศักยภาพในการผลิต สินค้า สามารถแบ่งเป็นขันตอนต่างๆได้ดังนี้

 -การให้คุณค่าในแต่ละกระบวนการการผลิตในมุมมองของผู้รับบริการ

 -สามาถระบุกระบวนการทุกประการในแผนผังการดำเนินงานเพื่อผลิตสินค้า

- สามารถสร้างสรรค์กระบวนการที่มีคุณค่าในมุมมองผู้รับริการ

 -ใช้ระบบส่งต่อจากผู้รับบริการสู่ผู้ผลิต

- ความสมบูรณ์ ถูกต้องของสินค้า

 -การบริการที่ไม่จำเป็นหรือการผลิตมากเกินความต้องการ

 -ความล่าช้าใจการผลิต และการรอในแต่ละขันตอนการผลิต

-การเคลื่อนไหวเกินความจำเป็น

-กระบวนการผลิตที่มากเกินความำเป็น

-จำนวนสินค้าคงเหลือในคลังสินค้าที่มากเกินความจำเป็น

-การขนส่งที่เกินความจำเป็น

-การไม่ใช้ประโยชน์จากความสามารถในการสร้างสรรค์

ปัจจุบันมีการนำหนักการ Lean มาประยุกต์ใช้ในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย เนื่องจากมีการสำรวจพบว่า ในกระบวนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนั้นมีกระบวนการที่สูญเปล่า(waste)อยู่ประมาณ 30-40 %หากสามารถลดกระบวนการดังกล่าวได้ จะสามารถลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ลดระยะเวลาในแต่ละขั้นตอน

 ก่อนการประยุกต์ใช้ lean

 ห้องฉุกเฉินทีมงานในแผนกฉุกเฉินต้องเล็งเห็นความสำคัญของการให้การดูแลผู้ป่วย อุบัติเหตุหลายระบบ เพื่อให้ได้รับการบริการที่รวดเร็ว ลดการใช้ทรับยากรที่สิ้นเปลืองลง เช่น ลดการใช้กระดาษในการลงบันทึก ลดระยะเวลาในการเดินทำงานเนื่องจากพื้นที่ไม่เหมาะสม ลดการใช้คำสั่งซ้ำซ้อนและทำงานซ้ำซ้อน ลดการลงข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ใช้เวลาสิ้นเปลืองกับการทำงานไม่สมเหตุผล เป็นต้น จะเป็นได้ว่าก่อนกระบวนการใช้ lean ต้องมีการพูดคุยและระดมสมอง ของหน่วยงาน ระดมความคิด

จากนั้นนำข้อมูลที่ได้พูดคุยกันมาเข้าสู่กระบวนการ lean

 การประยุกต์ใช้ในทางคลินิก

  การนำหลักการ lean มาใช้ต้องเริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆดังนี้

1.การเลือกหัวข้อที่ต้องการจำดำเนินการ

2.การเขียนแผนผังการทำงาน

3.การปรึกษาร่วมกันในทิมผู้ดำเนินงาน

4.การเขียนแผนผังงานใหม่

5.วางแผนการดำเนินงาน

6.การดำเนินงาน

7.การประเมินผลการปฏิบัติงาน

8.การสรุปผลการดำเนินงานโดยทีมผู้ดำเนินงาน

ผลที่ได้รับและการปรับปรุง

 จากการประยุกต์ใช้หลักการ มาปรับปรุงขันตอนต่างๆในการดูแลผู้ป่วยหลายระบบที่ห้องฉุกเฉิน ทีมดำเนินงานมองเห็นปัญหาของระบบการดูแล มีเป้าหมายในการดำเนินงานชัดเจนและร่วมกันดำเนินงาน หากมีข้อผิดพลาดก็กลับสู่กระบวนการใหม่ สามารถทำซ้ำได้หลายหน

 lean เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่น่าสนใจการการนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย

 2. แผนจำหน่ายผู้ป่วยฉุกเฉิน

การบริเวณใจห้องฉุกเฉินเปรียบเสมือนด่านหน้า ที่ทำงานแบบ one stop service ที่ทำงานให้เสร็จสิ้น ดังนั้นจะต้องมีการมอบหมายในการทำงานอย่างเป็นระบบและมีแบบแผนในการทำงานซึ่งจะแบบออกโดยทั่วไปได้ดังนี้

 -ศูนย์ประสานงานรับและส่งผู้ป่วย(Refer)

 -ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ(EMS)

 - หน่วยการรักษา ณ จุดเกิดเหตุ(EMS)

 -หน่วยรักษาและห้องสังเกตอาการ

 -การติดต่อประสานงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยอื่นได้แก่ ศูนย์พึ่งได้ และงานชันสูตร การป้องกันภัยภิบัติ งานสอนการปฐมพยาบาลนอกสถานที่ ครูพี่เลี้ยงแก่มูลนิธิและอาสา เป็นต้น

 จะเป็นได้ว่างานฉุกเฉินเองถือว่าเป็นงานที่หนักต้องรับผิดชอบงานทั้งเชิงรับและเชิงรุก ซึ่งถือว่าในหน่วยงานต้องทำการจัดการหลายอย่าง ดังนั้นจะเป็นได้ว่าการรับผู้ป่วยมาในงานค่อยข้างมากบางครั้งถึงขั้นแออัด แต่การรับคนไข้ 10 คนยังไม่เท่ากับการจำหน่ายผู้ป่วยออกเพียง 1 คน  คุณภาพงานที่เข้มข้นจะต้องหาทางออกหรือหาคำตอบในการจำหน่ายผู้ป่วยดังนี้

1.ทำอย่างไรผู้ป่วยและญาติออกจากห้องและกลับมาอีกด้วยที่ทียิ้มแย้ม

2.ทำอย่างไร ผู้ป่วยบางรายที่จำเป็นต้องการอยู่รพ. แต่ไม่ต้องการอยู่

3.ทำอย่างไร ให้ผู้ป่วยยอมรับการรักษา

4.ทำอย่างไร ป้องกันการหนีออกจากรพ.

5.ทำอย่างไร ให้ผู้ป่วยเสียชีวิตยอมรับการตายได้อย่างสมศักดิ์ศรี

คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่หนักหน่วงจะจัดการกับผู้ป่วยได้อย่างไร จะทำให้ผู้ป่วยมาเร็ว ไปเร็วและปลอดภัย กระบวนการและแนวคิดที่ช่วยท่านได้ตั้งแต่ด่านแรก คือพยาบาลคัดกรอง การจำแนกผู้ป่วยให้ได้ระหว่าง Trauma และ Non Trauma การจำแนกประเภทผู้ป่วยด้วยระบบสกีนที่มีคุณภาพ แบ่งระดับความรุนแรงผู้ป่วย เพื่อจะได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ลดความรุนแรงในการบาดเจ็บและการนอนรพ.นานหรือแม้แต่เสียชีวิต

การใช้กระบวนการพยาบาล ( APIRED)โดยเลือกใช้เฉพาะ AIE การบันทึกทางกายพยาบาลใน  nurse not โดยการบันทึกข้อมูลแบบบันทึกทางการพยาบาล มาช่วยในการดูแลผู้ป่วย เพราะข้อมูลเหล่านี้จะช่วยเราได้ว่าจะนำหน่ายผู้ป่วยอย่างไร ตั้งแต่แรกรับ ให้ออกจากห้องฉุกเฉิน ได้แก่ ทุเลากลับบ้านได้ รับไว้รักษา ส่งปรึกษาแผนกต่างๆ หรือเสียชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรี เหล่านี้ล้วนมีปัญหากลับมาให้ได้ขบคิดทั้งสิ้น เช่นไม่กลับมาตรวจซ้ำ กลับมากด้วยอาการที่แย่ลงหรือเสียชีวิต เป็นต้น ที่สำคัญที่สุดถ้ายังแก้ไขปัญหาที่ผู้ป่วยมาไม่สำเร็จ ไม่ควารจำหน่ายผู้ป่วยออกจากห้องฉุกเฉินเพราะมีโอกาสเสี่ยงสูง

  จะเห็นได้ว่ากระบวนการพยาบาล มีความสำคัญ ส่วนแต่ละรพ.เช่น รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป หรือรพ.ชุมชนจะออกแบบการใช้กระบวนการพยาบาลและการบันทึก ตั้งแต่แรกรับผู้ป่วยและการจำหน่าย ต้องมาคิดในงานให้เหมาะสมกับตัวเอง ..

                                               

หมายเลขบันทึก: 371000เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2010 02:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท