จิ้งจัง


จิ้งจัง เป็นอาหารพื้นบ้านภาคใต้อย่างหนึ่งที่ทำด้วยปลาเล็กๆ เช่น ปลาลูกเมละ (มะลิ หรือไส้ตัน หรือปลาเกล็ดขาว )หมักเกลือ

จิงจัง, จิ้งจัง (ถิ่น-ภาคใต้)

หลายคนยังเข้าใจผิดกับคำว่า “จิ้งจัง” มักนำไปเรียกเรียกปลากะตักตัวเล็กๆที่ตากแห้งหรืออบกรอบว่า “ปลาจิ้งจัง” แท้ที่จริงปลากะตักอบกรอบสมุนไพร หรือตากแห้ง สำเนียงที่เรียกออกเสียงใต้ฝั่งอันดามัน แถบพังงา ภูเก็ต คือ ออกเสียงว่า “ปลาฉิ้งฉั้ง หรือ ฉิ้งฉ้าง” ซึ่งแตกต่างกันทั้ง สำเนียง ความหมาย ชนิดปลา กรรมวิธีการทำ และการนำไปปรุงเป็นอาหาร

จิ้งจัง เป็นอาหารพื้นบ้านภาคใต้อย่างหนึ่งที่ทำด้วยปลาเล็กๆ เช่น ปลาลูกเมละ (มะลิ หรือไส้ตัน หรือปลาเกล็ดขาว )หมักเกลือ และข้าวคั่ว คล้ายกับปลาจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม,จุ้งจัง ก็ว่า จะพบมากทางฝั่งทะเลอ่าวไทยแถบจังหวัดสงขลา

ปลาลูกเมละ ปลามะลิ หรือปลาไส้ตันที่ชาวสงขลานิยมใช้ทำ "จิ้งจัง"

        ส่วน “ปลาฉิ้งฉั้ง หรือ ฉิ้งฉ้าง” หมายถึงปลาแห้งหรืออบกรอบ เป็นปลาที่ทำมาจาก “ปลากะตัก” ตัวเล็กๆเป็นปลาทะเลขนาดจิ๋ว ยาวไม่เกิน ๑๐ ซม. มีอายุประมาณ ปีสองปีเท่านั้น แต่เป็นปลาที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์จากปลาชนิดนี้ ๒ ทางด้วยกัน คือ นำไปเป็นวัตถุดิบในการทำน้ำปลาและทำปลาตากแห้งขายทั่วไป ทั้งใน และต่างประเทศ สำหรับในตลาดท้องถิ่นอาจนำมาหมัก ทำบูดู จิ้งจัง ขายอีกส่วนหนึ่งด้วย ซึ่งชาวประมงเพิ่งจะมีการจับปลากะตักมาทำปลากรอบแห้งเมื่อประมาณ หลังปี ๒๕๓๐ เนื่องจากมีความเชื่อจากชาวจีนว่า "ปลาฉิ้งฉั้ง" เป็น ยาบำรุงทางเพศ หรือ ยาโป๊ว ซึ่งการจับปลากะตักมีมาแต่ดั้งเดิม ทางฝั่งทะเลตะวันตก โดยใช้เรืออวนล้อมจับปลาในเวลากลางวัน ซึ่งเป็นการทำประมงที่ไม่ ทำลายล้างเพราะเกือบ ๑๐๐ % ที่จับได้ คือปลากะตัก จากความต้องการของตลาดและจากความเชื่อดังกล่าว จึงทำให้การจับปลากะตักในปัจจุบัน โดยการใช้เครื่องปั่นไฟในทะเลเวลากลางคืน จึงไม่เพียงดึงดูดเอาปลากะตักขึ้นมาเท่านั้น ลูกกุ้ง ลูกหมึก และลูกปลานานาชนิด ที่ตามมาเล่นแสงไฟเช่น ปลาอินทรีย์ ปลาสีกุน ปลาหลังเขียว ปลาทู ก็ถูกจับด้วยเวลาอันก่อนวัย

 ปลาฉิ้งฉั้ง หมายถึงปลากะตักอบแห้ง หรือปลาอบกรอบ

    “ปลากะตะ”หรือ “ปลากะตัก” เป็นชื่อปลาที่เรียกกันในหมู่บ้านชาวประมงและหมู่บ้านใกล้เคียง เป็นปลาชนิดเดียวกับปลาไส้ตัน นำมาทำเป็นปลาแห้ง เรียกว่าปลา “กะตะ” หรือ “กะตัก” สาเหตุที่ชาวบ้านประกอบอาชีพการทำปลากกะตักแห้งกันมาเนื่องจากมีการส่งเสริมและนิยมทำปลา “กะตักแห้ง” เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเดิมปลากะตัก จะมีมากทางฝั่งทะเลตะวันตก เช่น ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง ระนอง แต่ช่วงหลังมีการจับ ปลากะตัก ทางทะเลตะวันออกกันมาก เมื่อมีผู้ทำปลากะตักแห้ง

หมายเลขบันทึก: 370523เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2010 19:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท