บัณฑิตศึกษาที่ยอดดอย


          วันเสาร์ที่ ๑๒ มิ.ย. ๕๓ ผมได้รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกับ “ชาวบ้าน” กลุ่มหนึ่ง ที่ยอดดอยของจังหวัดน่าน   สถานที่คือ ในเต๊นท์ชั่วคราวในสนามหญ้าของโรงเรียนบ้านยอด  อ. สองแคว  จ. น่าน  
          สตรีวัยกลางคนท่านหนึ่ง เป็นนายกเทศมนตรีของเทศบาลตำบลที่นั่น   เล่าว่า ท่านกำลังเรียนปริญญาโทของมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง   แต่ยังไม่จบ ยังต้องเขียนวิทยานิพนธ์   ผมถามว่าเสียเงินค่าเล่าเรียนเท่าไร   ท่านบอกว่าเสียไปเกือบสองแสน แต่ยังไม่จบ
          และตอนนี้มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีมาเปิดสอน   บอกว่าแสนสองจบแน่นอน   กำลังเรียนอยู่
          ผมไม่มีโอกาสซักต่อ ว่าการเรียนของ ๒ มหาวิทยาลัยนี้แตกต่างกันอย่างไร   และทำไมเธอจึงเรียนตั้ง ๒ ปริญญาโท   ทั้งๆ ที่ค่าเล่าเรียนก็ไม่ใช่น้อยๆ  
          เอามาเล่าไว้ เป็นข้อมูลสภาพการจัดบัณฑิตศึกษาในประเทศไทย   ว่าเวลานี้มองในมุมหนึ่ง น่าจะ “ทั่วถึง” มากทีเดียว   สิ่งที่จะต้องมีการตรวจสอบดูแลคือเรื่องคุณภาพ
          นี่ก็เป็นโจทย์วิจัยได้
 
วิจารณ์ พานิช
๑๗ มิ.ย. ๕๓
        
         
  
หมายเลขบันทึก: 370485เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2010 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • อาจารย์หมอครับที่กาญจนบุรี อำเภอไกลๆเช่น ทองผาภูมิ สังขละบุรี
  • มีมหาวิทยาลัยนี้มาเปิด
  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีมาเปิดสอน  
  • ครูที่ไปเรียนบอกแบบอาจารย์บอกเลยครับ
  • แต่เรื่องคุณภาพไม่แน่ใจครับ

ที่ชายฝั่งอันดามัน ก็แว่วๆ ว่ามหาวิทยาลัยอันดามันจะเปิดใหม่ ที่กระบี่เช่นกันค่ะ จะ จะ อยู่หลายปีแล้วค่ะ ;)

มหาวิทยาลัยท้องถิ่นน่าจะเน้นเรื่องการมีส่วนร่วม และเป้าหมายหลักคือการตอบสนองความต้องการในชุมชน

ขอบพระคุณค่ะ

เริ่มเรียนป.โทตั้งแต่เป็นครูบนดอยค่ะ พอทำวิทยานิพนธ์โชคดีได้ย้ายกลับบ้านทำให้ใกล้ที่เรียนมากขึ้น

แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนอย่างนึงคือ โรงเรียนบนดอยที่ไปอยู่เกือบ 70 เปอร์เซ็นต์เป็นครูที่จบระดับปริญญาโท

แต่โรงเรียนที่สอนอยู่ปัจจุบันใกล้กรุงเทพแต่ครูเน้นทำผลงานไม่ได้เรียนต่อกันเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท