เด็กสนใจ "สื่อ"ประเภทใด


เว๊บ ซีดี โทรทัศน์

 

เด็กสนใจ "สื่อ"ประเภทใด

         เช้าวันนี้ ผมเดินทางไปประชุม "คณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์" คณะนี้ตั้งขึ้นตามกฎหมาย มีรองนายกรัฐมนตรี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ทำหน้าที่ประธานและกระทรวงวัฒนธรรมทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ  ผมเองเป็นหนึ่งในคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

         คณะกรรมการชุดนี้จะประชุมกันที่ทำเนียบรัฐบาล ประมาณ 3 เดือนต่อครั้ง 

         การประชุมวันนี้ มีข้อมูลหนึ่งที่ผมคิดว่ามีประโยชน์และควรนำถ่ายทอดผ่านบล๊อกให้ได้รับทราบโดยทั่วกัน ดังนี้

         ในคณะกรรมการชุดใหญ่ ได้แบ่งการทำงานเป็นอนุกรรมการหลายชุด ข้อมูลที่ผมจะนำเสนอ ได้มาจากชุด "คณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์" นั้น มีประเด็นเกี่ยวกับเด็กๆ ดังนี้

         เรื่องที่หนึ่ง "การใช้เวลาของเด็กกับสื่อ"

         1.เด็กๆ ใช้เวลากับโทรทัศน์วันละ       5.7  ชั่วโมง

         2.เด็กๆ ใช้เวลากับอินเตอร์เน็ตวันละ   3.1  ชั่วโมง

         3.เด็กๆ ใช้เวลากับหนังสือพิมพ์วันละ  0.9  ชั่วโมง 

         เรื่องที่สอง "สาระเกี่ยวกับเด็กในสื่อ"

         1.รายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับการศึกษาและการเรียนรู้ มีเพียงร้อยละ 5

         2.เกมส์ที่เด็กเล่นร้อยละ 90 เป็นเกมส์เน้นความรุนแรงและเพศ

         3.รายการวิทยุที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน มีเพียงร้อยละ 1 

         เรื่องที่สาม  "การใช้เว็บเพื่อการเรียนรู้ของเยาวชน"

         อันดับ 1  ได้แก่ "เว็บ Sanook"

         อันดับ 2  ได้แก่ "เว็บ Kapook"

         อันดับ 3  ได้แก่ "เว็บ Charkam"

         อันดับ 4  ได้แก่ "เว็บ GotoKnow"

                       ลองพิจารณาดูนะครับว่า เยาวชนเขาได้เรียนรู้อะไร  

        

หมายเลขบันทึก: 370229เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2010 19:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
  • สวัสดีคะคุณครูหยุย
  • มีเด็กนักเรียนที่โรงหลายคนที่เรียนไม่จบเพราะติดเกมส์ต้องออกจากโรงเรียนกลางคันทั้งที่ทางโรงเรียนได้เฝ้าระวังเป็นพิเศษแล้ว ในที่สุดก็กลายเป็นภาระของผู้ปกครองโดยเลี่ยงไม่ได้ น่าสงสารคะ
  • ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลายควรให้ความตระหนักและร่วมกันแก้ปัญหาอย่างจริงจังก่อนที่จะสายเกินไป
  • ขอบคุณมากๆคะที่ครูหยุยแวะไปทักทาย...

สวัสดีค่ะครูหยุย เราคง"แพ้" สื่อที่เป็นครูที่แสนอำมหิตของบ้านเราวันนี้เสียแล้วกระมัง ใครจะช่วยเยาวชนไทยได้ หาก"ครอบครัว"และโรงเรียนไม่เปิดพื้นที่ หาข้อเรียนรู้และจัดการร่วมกันอย่างจริงจัง

สวัสดี ค่ะ ที่แวะมาเยี่ยม เด็กสนใจเล่นเกม ก็ไม่รู้จะแก้ไขอย่างไรดี

หนูไม่เคยดื่มของมึนเมาและน้ำอัดลมน้อยครั้งที่ดื่มรักษาสุขภาพค่ะ

สัวสดีค่ะครูหยุย เด็กทุกวันนี้ ขี้เกียจ ดิฉันใช้คำที่รุนแรงหน่อยนะคะแต่ไม่ทราบว่าจะใช้คำศัพท์ถึงจะตรงกับพฤติกรรมมากที่สุด เด็กส่วนใหญ่ทุกวันนี้ไม่อยากทำงาน อยากสบาย แต่ไม่อยากทำงาน เพราะทุกวันนี้เขาไม่ได้รับผิดชอบมากเหมือนเด็กสมัยก่อน เป็นเพราะอะไร สื่อเสนอแต่เรื่องความสะดวกสบาย ละครก็มีแต่ความรุนแรง เกมส์ก็ต่อสู้กัน สังคมที่ผู้ใหญ่ชอบดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ แล้วเด็กเห็นเป็นเรื่องธรรมดา สังคมบ้านเราน่าเป็นห่วง อยากให้โครงสร้างทางสังคมบ้านเราร่วมกันแก้ปัญหาให้เด็กได้เห็นความถูกต้องในการดำเนินชีวิต อย่าโยนความผิดที่ครู ทุกหน่วยงานต้องช่วยกัน

//////////ครูพรเพ็ญครับ ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยียน เรื่องเด็กติดเกมส์เป็นเรื่องใหญ่ หลายฝ่ายกำลังพยายามแก้ไขอยู่ครับ อย่าเพิ่งท้อนะครับ

/////////ครูแมวครับ ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยียนนะครับ เป็นข้อเสนอที่ดีมากครับ สำหรับการเปิดเวทีพ่อแม่และโรงเรียนในการเรียนรู้เรื่องนี้ร่วมกัน

/////////คุณจอยครับ การไม่ดื่มน้ำที่มีแอลกอฮอร์หรือกระทั่งน้ำอัดลมเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วครับ สำหรับเด็กติดเกมส์นั้น หลายฝ่ายกำลังดำเนินการอยู่ครับ

/////////คุณกนกวรรณครับ ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยียนนะครับ เรื่องความขี้เกียจของเด็กนั้น เป็นเรื่องใหญ่ครับ การปลูกฝังความขยัน ความกตัญญูและความใฝ่รู้ จะเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับอนาคตของชาติเลยครับ

สวัสดีค่ะ

เรื่องสื่อโทรทัศน์ มีเรื่องหนึ่งที่ดิฉันอึดอัดด้วยทำอะไรไม่ได้ค่ะ คือเรื่องภาพยนตร์โฆษณา ที่อาจปลูกฝังทัศนคติที่ไม่เหมาะสมกับผู้ชมโดยไม่รู้ตัว

เช่น โฆษณาเรื่องหนึ่ง หญิงสาวตัวเอกของเรื่องทราบดีว่ากำลังมีการถ่ายแบบอยู่ โดยมีหญิงสาวผู้หนึ่งเป็นนางแบบ แต่เธอตั้งใจการชิงความเด่นจากนางแบบเพียงเพื่อความสนุกสนานแล้วเดินจากไป (อย่างที่เรามักเรียกกันว่า ขโมยซีน)

ซึ่งดิฉันมองว่าขัดต่อหนึ่งในหลักสัปปุริสธรรม 7 ก็คือ ไม่จักกาล ไม่รู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร

หรือการขายความคิดที่ว่า ถ้าไม่เป็นหนี้ ก็จะเกิดเรื่องทุกข์ใจเพราะขาดความสะดวกสบายตามมา เช่น การทะเลาะวิวาทของคนในครอบครัว (แต่ทุกข์ใจเพราะหาเงินใช้หนี้ คงไม่มีใครกล้าบอก)

ดูเหมือนว่าโฆษณาไม่ได้บอกแค่ลักษณะเด่นของสินค้า แต่พยายามชี้นำคนเราให้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผู้บริโภค คงต้องตั้งสติกันเอง เพื่อให้รู้ทันโฆษณา

จึงมองว่าหลักธรรมในศาสนายิ่งจำเป็นสำหรับบุคคลในยุคนี้ค่ะ

มีดอกไม้มาฝากด้วยค่ะ

 

สวัสดีครับ ครูหยุย

ผมคิดย้อนไปในอดีต... มหาอำนาจใช้ฝิ่นทำลายชาติเป้าหมาย... ได้ทั้งเงินและผลประโยชน์มากมาย...

ปัจจุบันสิ่งเสพติดยังเป็นปัญหาที่ยังต้องแก้กันต่อไป... เป็นภัยร้ายจากกลุ่มคนเห็นแก่ตัว...

เกมส์เป็นรายได้ก้อนใหญ่ของคนกลุ่มหนึ่ง... ที่ทำลายคนอีกกลุ่มหนึ่ง... เป็นสิ่งเสพติดอีกประเภทหนึ่ง... ภัยใกล้ตัว...

น่าจะมากฎหมายปราบปราม... ถ้าไม่ทำเยาวชนจะเป็นอย่างไร?

สุดท้ายนี้ http://gotoknow.org/blog/cai-animation/288964 ขอเรียนเชิญแสดงความคิดเห็น ติติง แนะนำ นะครับครู

/////////// คุณณัฐรดาครับ เรื่องโฆษณาลักษณะดังกล่าวเป็นปัญหาประเภทซึมลึกครับ คนส่วนใหญ่มองไม่เห็นปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่ครับ เอาผิดก็ไม่ได้ ทำได้แต่เพียงวิจารณ์ว่าไม่ดีเช่นนั้นเช่นนี้ วิธีการป้องกันแก้ไขคือ ต้องสีร้างสำนึกผู้บริโภคให้มากๆ เหมือนประเทศย่านยุโรปที่เขาจะลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิที่ถูกสื่อละเมิด

ขอบคุณมากๆ สำหรับดอกไม้ที่งดงาม ได้เห็นก็ชื่นใจ สงบใจดีครับ

//////////ลุงรุนครับ ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยียนนะครับ กฎหมายมีครับที่จะจัดการร้านเกมส์ที่ไม่ขออนุญาตเปิดอย่างถูกต้อง รวมถึงกำหนดเวลาให้แต่ละช่วงอายุที่เข้าเล่นได้ มีทั้งการจัดการเอาโทษหากเผยแพร่เกมส์ที่สื่อความลามกหรือผิดกฎหมาย แต่สิ่งที่เป็นอยู่คือ "ประเทศไทยมีการบังคับใช้กฎหมาย"ที่แย่มาก

 

  • ไม่อยากให้เป็นเหมือนเวียตนามเลยขอรับ ที่แก้ปัญหาโดยการกั้นการใช้งาน facebook

สัวสดีครับพี่หยุย นานแล้วไม่ได้พบหน้าแต่ยังคงความหล่อไว้ได้อย่างเหนียวแน่นเหมือนเดินเชียว เรื่องสื่อประเภทไหนที่เด็กสนใจ ผมไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่พี่นำเสนอนั้นเป็นเด็กอายุกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษไหม? หรือคละกลุ่ม? แล้วทางออกที่พี่สามารถแนะนำได้สำหรับผู้ปกครอง ว่าควรจะทำอย่างไร? เพื่อที่สถานการณ์ของเด็กจะผ่อนคลายไปในทางที่ดี ผมเองก็มีลูกที่เข้าข่ายอยู่สอง สามเรื่องด้วย จึงเรียนมาขอคำแนะนำครับ

ด้วยความนับถือ

ต้นไม้

//////////คุณเด็กข้างบ้านครับ ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยียนนะครับ สำหรับสถานการณ์ของประเทศเวียตนามนั้น ผมไม่มีข้อมูลครับ แต่ถ้าเป็นดั่งที่พูดก็น่าเป็นห่วงครับ

//////////พ่อใบไม้ครับ ผมนะแก่ตัวลงตามอายุไปเรื่อยๆ ครับ สำหรับข้อมูลนั้นเป็นการสำรวจตามหลักวิจัย กระจายเด็กทั่วไป ไมได้เจาะจงเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สำหรับทางป้องกันแก้ไขนั้น จุดเริ่มก็น่าจะอยู่ที่พ่อแม่ในการเลือกสื่อให้เด็กเรียนรู้ตั้งแต่ยังเล็ก สำหรับเด็กที่โตแล้ว ก็คงต้องปากเปียกปากแฉะในการชี้แนะล่ะครับ ส่วนในภาพกว้างนั้นก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในการกำกับดูแล โดยมีเครือข่ายต่างๆ เฝ้าระวังร่วมด้วย

อาจารย์คะ หนูมาสอบถามเรื่อง กลุ่ม"แสงจันทร์ตะวันฉายค่ะ "

มีเปลี่ยนแปลงหมายเลขบัญชี ใหม่ค่ะ

หนู paula ครับ ทำโครงการส่งมาที่ "มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก"นะครับ อนุมัติให้แล้วตามที่ต้องการใช้จ่าย 10,000 บาท

ร่วมเป็นกำลังใจนะครับ

ดีใจมากเลยค่ะ อาจารย์ ขอบคุณค่ะ

คุณ paula ครับ อย่ามัวแต่ขอบคุณและดีใจ จนลืมทำโครงการส่งไปนะครับ

เรียนพี่หยุย (อีกหลายครั้ง) เรื่องสื่อขอบคุณมากครับที่ตอบเมล วันนี้มีเรื่องทั้งเล่าให้ฟังหร้อมถามพี่เืพื่อทางออกที่ดีครับ เรื่องมีอยู่ว่า ที่โรงเรียนลูกชาย (ป.1) หลังเลิกเรียนมักมีพ่อค้าแม้ขายมักมานั่งขายของเล่นที่ราคาไม่แพง ติดกับกำแพงโรงเรียน ! ลูกชายที่อายุ 6 ขวบกว่า มักหาโอกาสที่แวะเวียนหาซื้อของเล่นบ่อยครั้ง จนมากเกินความจำเป็น ส่วนหนึ่งพยายามบอกลูกชาย กำชับ แล้วแต่เมื่อเวลาผ่านไปไม่นานก็จะกลับมาซื้ออีก สอบถามกับทางโรงเรียนว่าโรงเรียนมองเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาไหม? สิงเหล่านี้กำลังทำอะไรกับเด็กๆบ้าง? โรงเรียนรับทราบปัญหา แต่ทางออกทำได้ไม่มากครับ แค่บอกกล่าว คอยเตือนไม่ให้เด็กเฃไปซื้อของเท่านั้น อีกประกาณหนึ่งเขตที่พ่อต้าแม่ขายวางแผงกันอยู่นั้น มันเลยเขตที่โรงเรียนจะสามารถควบคุมได้ นอกจากลูกชายผมแล้วยังมีเด็กรุ่นเดียวกันเยอะมากครับที่ซื้อของเล่นกันแทบทุกวัน เด็กที่ไม่มีผู้ปกครองมาด้วยแม่ค้าให้ติดไว้ได้อีก ไม่ต้องจ่าย ค่อยมาจ่ายวันหลัง ! ผมเห้นว่าเรื่องนี้กำลังคุกคามความอ่อนเยาว์ของเด็กอย่างไม่เห็นแก่ไรทั้งสิ้น ! ผมเองเคยทำหนังสือถึงโรงเรียน และเทศบาลเพื่อขอให้ช่วยทำอะไรสักอย่าง ที่จะช่วยเด็กๆ แต่ก็เงียบครับ พี่พอมีคำแนะนำบ้างไหมครับที่จะช่วยให้เด็กได้รับการปำิบัติอย่างถูกต้องและสมควรครับ

ขอบคุณมากครับ

พ่อใบไม้

คุณพ่อใบไม้ครับ นี่เป็นปัญหาที่ระบาดอยู่ทั่วไป แต่เดิมก็มีในโรงเรียนขายของสร้างปัญหาแก่เด็กทั้งสุขภาพและของเล่นที่ไม่มีประโยชน์ สู้กันมานานจนกระทรวงศึกษาฯออกเป็นนโยบาย แก้ได้ในระดับหนึ่ง ต่อมามีร้านเกมส์เกิดใกล้โรง

เรียน จนต้องมีระเบียบควบคุมการเข้าเล่นของเด็กให้อยู่ในบางช่วงเวลา ก็พอไปได้ แต่การบังคับให้เป็นไปตามระเบียบนั้นย่อหย่อนในหลายพื้นที่ ต้องตามจี้กันต่อไป

เรื่องขายของเด็กเล่นหน้าโรงเรียน โรงเรียนและผู้ปกครองส่วนใหญ่มองไม่ค่อยเห็นพิษภัย จึงใส่ใจน้อย กฎหมายเอาผิดไม่ได้ครับ ทางออกน่าจะอยู่ที่การใช้ประชาคมผู้ปกครองนักเรียนหารือเป็นทางการกับทางโรงเรียน ออกมาตรการบางอย่าง เช่นประกาศหน้าเสาธงไม่ให้ซื้อด้วยการชี้ให้เห็นถึงโทษ มีนักเรียนบางส่วนเป็นเวรตรวจห้ามพร้อมครูคล้ายสารวัตรนักเรียน อีกประการที่ทำได้คือใช้หลักหนามยอกเอาหนามบ่ง คือให้สหกรณ์โรงเรียนหาของเล่นที่เสริมพัฒนาการมาขายแทน หรือเน้นนโยบายออมทรัพย์เพื่ออนาคต ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท