สร้างความเข้าใจในKM TEAM


 

 

วันนี้ ( 21 มิถุนายน 2553) คณะทำงานKm Team จังหวัดกำแพงเพชร ด้านการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวอย่างยั่งยืนของจังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดเวทีประชุมเสวนาคณะทำงาน ณ.ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร 

  

 

       โดยมี ท่านสุชาติ ทองรอด เกษตรจังหวัดกำแพงเพชร หัวหน้าคณะทำงาน ได้สร้างความเข้าใจแก่ Km Team  ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวอย่างยั่งยืน เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัด ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวกำแพงเพชร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่2.พิษณุโลก ศูนย์บริหารศัตรูพืชพิษณุโลกสาขากำแพงเพชร สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร โครงการชลประทานกำแพงเพชร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกำแพงเพชรและสำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร รวมทั้งปราชญ์ชาวบ้านด้านการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว  จึงนับได้ว่าเป็นความก้าวหน้าอีกระดับหนึ่งที่มีการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการเตรียมสร้างคุณอำนวยต่างหน่วยงานควบคู่กันไปนั่นเองครับ

 

  

      สำหรับประเด็นที่มีการทบทวนและสร้างความเข้าใจร่วมกันของ Km Team ประกอบด้วย 

1. Concepe KM   ซึ่งมีคุณสิงห์ป่าสักเป็นวิทยากรและนำเสนอในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องKm โดยมีเป้าหมายคือการนำKmไปเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวในเขตจังหวัดกำแพงเพชร รวมทั้งการนำKMไปเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน งานและองค์กร

 

2.  การทบทวน KM Action Plan  ซึ่งประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอน เช่น การค้นหาหัวข้อความรู้(การบ่งชี้ความรู้ )  การสร้างและแสวงหาความรู้   การความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลและกลั่นกรองความรู้  การเข้าถึงความรู้  การแบ่งปัน  การแลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้ ในแต่ละขั้นตอน ทางหัวหน้าทีม( นายสุชาติ ทองรอด ) ได้เปิดโอกาสให้ Km Team ทุกคนต่าง ได้เสนอความคิด และข้อแลกเปลี่ยนแบบบรรยากาศเป็นกันเองสบายๆ  รวมทั้งมีการมอบหมายเจ้าภาพในการสืบค้นหาองค์ความรู้แต่ละประเด็น  อีกทั้งก็ให้ความสำคัญกับปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เชิงประสบการณ์ได้เข้ามาร่วมKM Team ในครั้งนี้ด้วย

                    คุณถวิล สีวัง(ปราชญ์ชาวบ้านด้านการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล)

 3. การดำเนินการวางแผนการสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในระดับเจ้าหน้าที่และKm Team รวมไปถึงการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเกษตรกรและปราชญ์ชาวบ้าน  โดยมุ่งเน้นให้มีการนำความรู้ที่ได้ ทั้ง 2 ระดับ ไปประยุกต์ใช้ตามแนวทางการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว  ทั้งนี้ต้องตั้งเป้าหมายในขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืนต่อไป โดยหลักการแล้วก็พยายามที่นำKM สวมลงในการประจำนั่นเอง การสร้างทีมคุณอำนวยต่างหน่วยงาน ซึ่งจะต้องลงไปAction ในพื้นที่  ในขณะเดียวกันก็จะต้องกระตุ้นให้ชุมชนได้กำหนดโจทย์ ควบกับ คุณอำนวยก็ต้องกำหนดโจทย์เช่นกัน เพื่อพัฒนาการไปสู่ PAR ต่อไป

 

4.  การสร้างและพัฒนาคลังความรู้ ใน Km Team ต่างก็ให้ข้อคิดที่มีประโยชน์ตลอดจนต้องพัฒนาบุคลากรของหน่ายงานที่เกี่ยวข้อง ได้เกิดการเรียนรู้ต่อไป (รวมทั้งการพัฒนาคุณลิขิต คุณอำนวย  การสร้าง wep blog ควบคู่กันไป )

 

5.การนำความรู้ไปใช้และการเผยแพร่ ทุกคนในKm  Team ต่างก็ให้ความสำคัญร่วมกัน ซึ่งจะมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครั้งต่อไปและยังจะต้องมีการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้เกิดการไหลขององค์รู้อย่างไม่หยุดยั้ง

 

 

     จากการที่ได้มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในครั้งนี้ ทำให้ Km Team(เหล่าคุณอำนวย) ต่างได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและหลังจากนี้ไป เราได้กำหนดแผนที่จะลงไปจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอาชีพการผลิตข้าว GAP ซึ่งเป็นจุดนำร่องการปฏิบัติงานการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวอย่างยั่งยืน   ของจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน  3 จุด  หรือที่เรียกว่า  ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน นั่นเองครับ อย่างน้อยคนที่อยู่ในชุมชนเองก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานมิใช่ปล่อยให่แต่หน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการเพียงอย่างเดียว

 

 

       สำหรับการนัดหมายครั้งต่อไปที่ Km Team จะต้องนำผลความก้าวหน้าที่มีการมอบหมายและสร้างความเข้าใจกันในครั้งนี้  เมื่อลงไป Action แล้ว จะต้องนำผลมาแถลงในเวทีประชุมเสวนา Km Team ครั้งต่อไปประมาณ ต้นเดือนสิงหาคม และกำหนดจัดWork Shopและตลาดนัดความรู้ ราวปลายเดือนกันยายน 2553 

 

 

        ทั้งนี้ สำหรับการนำเสนอความก้าวหน้าทาง  Wep Blog  ซึ่งทาง Km Team ที่ทำหน้าที่คุณลิขิต เช่น เขียวมรกต  สิงห์ป่าสัก  จันทร์ฉาย  เพชรน้ำหนึ่ง เป็นต้น ที่จะทำหน้าที่เผยแพร่ความก้าวหน้าทางwep blog G2K นี้ คอยติดตามตอน ต่อไปนะครับ ...

 

 

เขียวมรกต

21 มิย53.

 

   

 

 

หมายเลขบันทึก: 368338เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2010 18:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ตกลงเราจะทำอย่างไรให้เพลี้ยกระโดดลดลง และช่วยเหลือเกษตรกรได้จริงๆคะ

  • ขอบคุณท่านอาสาสมัครเกษตรกร
  • ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนและทักทายกัน
  • อาจจะเป็นก้าวแรกที่มีการพูดคุยกันสำหรับผู้ปฏิบัติ(คุณอำนวย)ของแต่ละหน่วย
  • การบูรณาการการทำงานด้วยกันก็ต้องค่อยพัฒนากันไป
  • การที่จะแก้ไขเรื่องเพลี้ยกระโดดฯนั้น ต้องได้รับความร่วมมือกันอย่างจริงจังและจริงใจของภาคีทุกภาคส่วน
  • แต่ก็ยังเชื่อว่าหากใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดฯหากใช้เกินความจำเป็น ก็จะไม่สามารถแก้ไขได้
  • การทำงานร่วมกัน โดยใช้KMเป็นเครื่องมือน้น ก็ต้องอยู่ที่ใจเช่นกัน หากมีใจมาก็แน่จะทำงานเชิงบูรณาการกันได้ครับ
  • แต่ข้อสำคัญเกษตรกรต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันกำจัดฯอย่างยั่งยืน ชุมชนจะเป็นผู้บอกครับ
  • ขอบคุณนะครับคอยติดตามความก้าวหน้าซึ่งทางKMTeam จะนำเสนอต่อไปนะครับ

ขอชื่นชมหน่วยงานนี้ที่ใช้KMเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานอย่างเต็มรูปแบบ

และได้รับความร่วมมือที่ดี

ยังไม่รู้จักสำนักงานเกษตรจังหวัดค่ะ ทั้งที่ไปราชการที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด กพ.ทุกเดือน

อยู่แถวศาลากลางหรือเปล่าคะ

  • ขอบคุณ อ.nana
  • ที่ได้มาทักทายและลปรร.กันเสมอมา
  • สนง.เกษตรจังหวัดฯ ตั้งอยู่บริเวณหน้าที่ว่าการอ.เมืองครับแต่ไม่ได้อยู่ที่ศาลากลางฯ
  • หากมีโอกาสเชิญแวะเยี่ยม ยินดีต้อนรับครับ

รบกวนอยากทราบข้อมูลของเพลี้ยกระโดด การแพร่ระบาด และวิธีการกำจัด ในจังหวัดกำแพงเพชรมีพื้นที่ที่โดนเพลี้ยกระโดด และมีหน่วยงานไหนบ้างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง รบกวนพี่ส่งทางเมล์ให้หน่อยได้ไหมค่ะ หรือรบกวนขอเบอร์โทรคณะทำงาน KM Team ส่งทางเมล์ให้หน่อยนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท