ความเป็นมาของปฏิทินไทย....ความใส่ใจเกร็ดความรู้ที่ค้นหายาก


ความเป็นมาของปฏิทินไทย....ความใส่ใจเกร็ดความรู้ที่ค้นหายาก

ความเป็นมาของปฏิทินไทย....ความใส่ใจเกร็ดความรู้ที่ค้นหายาก 

        ในการนับวันเดือนปีก่อนจะมีการใช้ปฏิทิน  คนยุคโบราณใช้ดวงดาวบนท้องฟ้าเป็นเครื่องกำหนดนับวันเดือนปี  เดิมทีมนุษย์ดำรงชีวิตตามสัญชาตญาณ แต่เมื่อเกิดภัยธรรมชาติที่รบกวนวิถีชีวิตปกติ ทำให้มนุษย์เริ่มสังเกตสิ่งรอบตัว รวมทั้งท้องฟ้าและดวงดาว กระทั่งพบว่าบางครั้งภัยธรรมชาติมาพร้อมกับดาวบางดวงบนฟ้า จึงเริ่มสนใจสิ่งที่อยู่บนฟ้า และนำมาเทียบเคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของพวกเขา ซึ่งมีทั้งที่ตรงและไม่ตรง แต่สิ่งที่ตรงตามการคาดคะเนก็ถูกจดจำต่อเนื่องเรื่อยมา จนกระทั่งรู้การครบรอบของสิ่งที่อยู่บนฟ้า เช่น ...รอบของดวงจันทร์ข้างขึ้นข้างแรม  ครบรอบของดวงอาทิตย์  เป็นกลางคืนกลางวันเป็นต้น

       

       ประเทศไทยเริ่มนำปฏิทินจูเลียน-เกรกอเรียนซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวมาก ก็จะตัดออกไป  โดยจะเริ่มเฉพาะนำมาใช้ในประเทศไทยเท่านั้น  ประเทศไทยได้ใช้ปฏิทินใช้อย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2431 โดยนำมาปรับใช้ร่วมกับปฏิทินจันทรคติที่ใช้กันมาแต่เดิม ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาของอินเดียในการใช้ดวงจันทร์เป็นเครื่องกำหนดเวลาและประกอบพิธีทางศาสนาและประเพณีต่างๆ โดยยึดเอาวันมหาสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 หรือประมาณช่วงกลางเดือน เมษายนของทุกปี

         การพิมพ์ปฏิทินครั้งแรกในประเทศไทยมีขึ้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 ตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งไม่ได้ระบุว่าใครเป็นผู้พิมพ์ แต่คาดว่าน่าจะเป็นหมอบรัดเลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์
       ในปี พ.ศ.2432 รัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนให้วันที่ 1 เมษายนของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินสุริยคติที่เริ่มนำมาใช้กัน และต่อมาจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนให้วันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี ตามแบบสากล โดยเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 เป็นต้นมา
        ทั้งนี้ ปฏิทินสุริยคติ เป็นปฏิทินบอกฤดูกาลจากการสังเกตดวงอาทิตย์ โดยมีกลุ่มดาวจักรราศีเป็นตัวช่วยในการกำหนดนับ ซึ่งเมื่อเห็นดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวใด ก็จะรู้ได้ว่าเดือนนั้นเป็นเดือนอะไร และดวงอาทิตย์จะกลับมาปรากฏที่ตรงตำแหน่งเดิมบนท้องฟ้าทุกๆ 1 ปี และจากการที่ดวงอาทิตย์ให้พลังงานแก่โลก และแกนสมมติของโลกเอียงทำมุมกับดวงอาทิตย์ ทำให้ภูมิอากาศในแต่ละเดือนแตกต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่างๆ
       
       ส่วนปฏิทินจันทรคติ มีที่มาจากการสังเกตดวงจันทร์ โดยเทียบเคียงกับกลุ่มดาวจักรราศีเช่นกัน แม้จะบอกฤดูกาลได้ไม่ตรง แต่มีความเกี่ยวเนื่องกับการประกอบประเพณีและพิธีทางศาสนาต่างๆ มาตั้งแต่อินเดียสมัยโบราณ จึงใช้ปฏิทินจันทรคติเพื่อบ่งบอกเทศกาลและวันสำคัญต่างๆ เช่น วันสำคัญทางศาสนา วันลอยกระทง เป็นต้น
       
       ปฏิทินในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ เช่น ปฏิทินแขวน ปฏิทินตั้งโต๊ะ ปฏิทินโปสเตอร์ ปฏิทินพก และปฏิทินสมุดบันทึก ซึ่งปฏิทินไม่ใช่เพียงแค่เครื่องมือบอกวันเดือนปีแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นสื่อที่บอกเล่าเรื่องราวได้อย่างหลากหลายให้ผู้คนในสังคมได้รับรู้ รวมทั้งสะท้อนให้เห็นวิวัฒนาการและความเป็นไปของสังคมในยุคสมัยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และอาจบอกได้ว่า ปฏิทินคือสิ่งหนึ่งที่มีคุณค่าเหนือกาลเวลาได้ด้วย
       
       ที่มาของข้อมูลนี้ได้จากการสรุปการบรรยายพิเศษเรื่อง "ดวงดาว...กำเนิดปฏิทินโลก สู่ปฏิทินไทย" โดยอาจารย์สิทธิชัย จันทรศิลปิน หัวหน้าฝ่ายท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพฯ ในงานเสวนา "ปฏิทินโลก ปฏิทินไทย" สู่เส้นทางชีวิต : 3 ทศวรรษรางวัลสุริยศศิธรวันที่ 25 มกกราคม 2553 ณ ห้องประชุมเอนกประสงค์ อาคารหอประชุม กรมประชาสัมพันธ์ แต่ไม่ได้นำส่วนที่เกี่ยวของปฏิทินโลกนำมาแบ่งปันอันเนื่องมาจากความยาวของเนื้อหาดังกล่าวแล้วข้างต้น

       เกร็ดเล้กเกร็ดน้อยเหล่านี้รู้ไว้ก็จะเป็นการดี ยิ่งผู้มีลูกหลานก็จะได้คุยเรื่องภูมิรู้กันบ้างก็จะทำให้เกิดความรักความศรัทธา ความเชื่อมั่น และโอกาสต่อไปลูกหลานมีข้อข้องใจเรื่องอะไรเราก็มีคำตอบให้ทุกครั้ง ลูกหลานก็จะมาหามาถามบ่อย เราจะได้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น  ลูกหลานก็มีความอบอุ่นมากขึ้น  แต่มิใช่จะรู้แตเรื่องนี้แล้วจะเป็นอย่างที่กล่าวถึงได้เท่า  เราต้องขวนขวายจัดหาสะสมเป็นกองทุนกักตุนไว้ในสมองของเราให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นการดีที่สุดเช่นกัน

  แหล่งอ้างอิงที่......ผู้จัดการออนไลน์   21  มิถุนายน  2553

...............................................................................................................

                                          เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยค่อยค่อยรู้

                                          หาอ่านดูจากประวัติชัดหลักฐาน

                                          เช่นปฏิทินยินเล่ามายาวนาน

                                              สังเกตการณ์ดาวบนฟ้าจึงมามี

                     อาศัยเหตุเกิดประจำธรรมชาติ

                     บันทึกวาดเกิดเป็นหลักจักรราศี

                     กำหนดวันเวียนเลื่อนเป็นเดือนปี

                     เกิดสิ่งดีโลกตกลงนับตรงกัน

                                      ธนา   นนทพุทธ

                                         จักสานอักษร

หมายเลขบันทึก: 368315เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2010 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 10:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เยี่ยม มาก ๆ เลย ครับ

เรื่องบางเรื่องเราสัมผัสอยู่ทุกวันแต่ ไม่รู้ว่ามีจุดเริ่มต้นมาจากไหน อย่างไร

เช่นเรื่องความเป็นมาของปฏิทินไทย นี่แหละครับ ขอบคุณมาก ๆ ครับผม

น่าจะมีลิงค์ ของเว็บอ้างอิงด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท