ความตึงเครียด


         “ความตึงเครียด” เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่ใช่ว่าจะเลวร้ายไปเสียทั้งหมด .. เพราะการออกกำลังกายนาน 20 นาที ของคนอายุ 65 ปี ที่มีสุขภาพดีและมีโครงสร้างร่างกายที่ดี ยืนตรงสมสัดส่วนนั้นถือว่าเป็นความตึงเครียดที่ดี (Good Stress) ขณะที่การออกกำลังกายในระยะเวลาที่เท่ากันของคนอายุ 35 ปี แต่มีระบบโครงสร้างร่างกายที่แย่ ไม่ได้สัดส่วนนั้นจะเป็นความตึงเครียดที่ไม่ดี (Bad Stress) โดยปกติแล้วปฏิกิริยาของคนเราต่อความตึงเครียดนั้นจะเป็นไปตามความพร้อมและ สุขภาพโดยรวมของเรา ความตึงเครียดของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ ความตึงเครียดทางกาย อารมณ์ และเคมี พูดถึงความตึงเครียดทางกาย : การได้รับบาดเจ็บแบบ whiplash จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นที่มาอันชัดเจน เช่นเดียวกันกับการเคลื่อนไหวที่ทำซ้ำๆ การลื่นล้ม การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่พอเพียง หรือการทำสวนอย่างหนักจนเกินไป ตั้งแต่ช่วงต้นๆ การหัดเดินหรือหัดถีบรถจักรยาน และแม้แต่กระบวนการในการให้กำเนิดเองนั้นก็เป็นที่มาของความเครียดทางกาย ขณะที่ความตึงเครียดทางอารมณ์ : ความกลัว ความเศร้า ความโกรธ และอารมณ์อื่นๆ นั้นมีผลต่อร่างกายทั่วสรรพางค์ของเรา สามารถสังเกตได้ โดยเฉพาะท่าทางการทรงตัวของบางคนที่มีความเศร้า หรือหดหู่ ความหงุดหงิด ท้อถอย หรือความรู้สึกว่าไร้อำนาจในที่ทำงานนั้น เป็นรูปแบบที่พบมากที่สุด ซึ่งร่างกายจะตอบสนองและแสดงให้เห็นถึงสภาพของอารมณ์ได้อย่างชัดเจน หลายรายไม่สามารถยืนเหยียดตรงได้ ต้องนั่งพิงกำแพงราวกับคนหมดแรง ส่วนความตึงเครียดนั้นจะมีผลต่อกระดูกสันหลังอย่างไร “นึกภาพว่าไขสันหลังของท่าน เป็นสายกีตาร์ ที่ยิ่งตึงมากเท่าใดโน้ตก็สูงขึ้นเท่านั้น ระบบประสาทของมนุษย์มี “ความตึง” เช่นกัน ด้วยสิ่งที่ทำให้เกิดความตึงเครียดแต่ละอย่างจะทำให้ร่างกายมีสภาพแน่นตึง ขึ้น เหมือนท่านกอดตัวเองไว้เพื่อให้เกิดส่วนโค้งที่แน่นๆ เวลาที่ท่านนั่งรถไฟเหาะฉันใดก็ฉันนั้น ข้อที่อ่อนแอที่สุดของกระดูกสันหลังจะถูกผลักดันออกจากตำแหน่งปกติของมัน ซึ่งเช่นเดียวกับโน้ตเสียงแหลมๆ ที่ออกมาจากสายที่ถูกขึงจนตึงเกินไปนั่นเอง สภาพการณ์ดังกล่าวส่งผลทำให้สมรรถนะของร่างกายในการที่จะตอบสนองต่อความตึง เครียดลดลง”

        ธรรมชาติบำบัด ด้วยศาสตร์ไคโรแพรคติก ช่วยได้ ในการบำบัดรักษาผู้มีความตึงเครียดนั้น หากไม่ต้องการใช้ยา มนุษย์มีทางเลือกโดยใช้ศาสตร์ธรรมชาติบำบัดที่เรียกว่า ไคโรแพรคติก เป็นการรักษาแบบองค์รวม ที่ให้ความสนใจการทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบโครงสร้างร่างกาย กล้ามเนื้อและระบบประสาท การรักษานั้นไม่ได้มุ่งไปที่การขจัดความตึงเครียด แต่มุ่งเพิ่มขีดความสามารถของร่างกายในการที่จะรับมือกับความตึงเครียดต่างๆ เพราะเมื่อกระดูกสันหลังและระบบประสาท กลับคืนสู่สภาพอันสมบูรณ์ กลไกอัจฉริยะต่างๆ ของร่างกายก็จะทำงานได้เต็มที่ ส่งผลให้ร่างกายสามารถรับมือกับความตึงเครียดทางอารมรณ์และสารเคมีที่มากระ ทบได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของมนุษย์แต่ละคนและระดับความเครียดต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งแน่นอนว่าหากมีการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และมีการดูแลโครงสร้างร่างกายให้มีสมรรถนะดีเสมอ โอกาสที่ความเครียดที่ไม่ดีจะออกทำงานก็น้อยลง ถึงแม้เกิดขึ้นร่างกายก็จะรับรู้ในทางบวก คือเป็นเรื่องที่ท้าทายที่พร้อมสามารถจัดการได้ มากกว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัว หรือเลวร้าย

คำสำคัญ (Tags): #สกลนคร3
หมายเลขบันทึก: 367462เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2010 18:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท