ตาเหลิม
นาย วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์

34. ประชุมเรื่องบริการคลินิกที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น


การสร้างบริการที่เป็นมิตรสำหรับเยาวชน พวกเราจึงควรส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมกับเราให้มากที่สุด เพื่อประโยชน์สูงสุดที่ทุกฝ่ายจะได้รับ

ความคาดหวัง และความสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วม 

ในบริการที่เป็นมิตรสำหรับเด็กและเยาวชน

(ผมไปนำเสนอในการประชุมที่ เอสดีอเวนิว วันที่ 14 มิย.53 ที่ผ่านมา)

 

สรุปสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้วัยรุ่นเข้าไม่ถึงบริการด้านเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มีอยู่

1.วัยรุ่นไม่รู้ว่ามีสถานบริการที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นอยู่ ?

2.ถึงมีจุดบริการก็ไกลบ้าน ทำให้วัยรุ่นเข้าถึงได้ยาก

3.ไม่มีคนแนะนำข้อมูลบริการในชีวิตประจำวัน

4.วัยรุ่นรู้สึกกลัว และกังวล เรื่องข้อมูลความเป็นส่วนตัว  และการรักษาความลับ จึงไม่ไปรับบริการที่มีอยู่

5.สถานบริการสุขภาพที่มีอยู่ ไม่เป็นมิตรกับวัยรุ่น (พอวัยรุ่นได้รับบริการที่ไม่เป็นมิตร เลยไม่อยากมารับเข้ารับบริการอีก และบอกกันแบบปากต่อปาก)

 6.วัยรุ่นอายที่จะเข้าไปใช้บริการ

7.วัยรุ่นไม่มีความรู้เรื่องโรคติดต่อ-เอดส์ ฯลฯ และไม่ตระหนัก ไม่ได้สนใจถึงความสำคัญของการไปตรวจ

โดยภายใต้ปัญหาแต่ละข้อก็มีปัญหาและทางออกในตัวเอง ดังนี้

1.วัยรุ่นไม่รู้ว่ามีสถานบริการที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นอยู่ ?
  • —การประชาสัมพันธ์มีน้อย เข้าไม่ถึงกลุ่มเป้าหมาย 
  •  —งบประมาณไม่มีให้ออกโทรทัศน์ —
  • ไม่มีคนแนะนำ ไม่มีคนที่ตัวเองรู้จักมาบอก ไม่กล้าคุย (ข้อ 3)

ทางออก

Ø พัฒนาสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ทำคลิปโป๊ๆ ตั้งชื่อเสื่อมๆ แบบ 18+      เพื่อการส่งต่อ พร้อมแนะนำบริการ
Ø จัดบูธ นิทรรศการฯลฯ เข้าถึงแหล่งชุมนุมวัยรุ่น ในพื้นที่นั้นๆ
Ø พัฒนาแกนนำที่เก่งกล้าสามารถฉลาดหลักแหลม ไปบอกต่อ (ข้อ3)
Ø เรื่อง งบประมาณ ท่านต้องหาทางออกเองแล้วล่ะ

ข้อเสนอแนะ ต่อการรณรงค์จากเยาวชนแกนนำ

  • —ควรสนับสนุนกิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่อง โดยแกนนำ เพื่อให้เยาวชนแกนนำได้พัฒนาตนเอง  —
  • ควรมีการสนับสนุนสื่อที่จะใช้ประกอบการรณรงค์อย่างเหมาะสม และเพียงพอ —
  • ควรมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านสื่อมวลชน โดยช่องทางต่างๆ —
  • ควรจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพให้เยาวชนแกนนำ —
  • ควรจัดเวทีประชุมสรุปบทเรียน เพื่อนำไปขยายผลต่อ —
  • ควรมีการขยายเครือข่ายให้เกิดการรณรงค์อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะในเขตโรงเรียน และชุมชนโดยรอบคลินิก —
  • ควรร่วมพัฒนาเนื้อหาการรณรงค์ให้กับเยาวชนแกนนำ
2. จุดบริการก็ไม่ได้ใกล้ ทำให้วัยรุ่นเข้าถึงได้ยาก
  • —บ้านอยู่รามคำแหง 11 ต้องเข้าไปรักษาที่บางรัก นั่งรถเมล์ 3 ชม. ที่อื่นก็ไม่รู้จัก เหนื่อยกว่าจะถึงคลินิก เที่ยงปิดพอดี / ขี้เกียจว่ะ ไม่ไปหรอก / โอ้ย สารพัดจะลำบาก! —
  • มีคลินิกไกลบ้าน แถมไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหน จะโทรไปถามก็ไม่มีเบอร์ ไม่มีคนกระตุ้น ไม่เป็นไร ครั้งนี้ยังไม่ตรวจ หยวนๆ ก็เอาๆกันไปก่อน ครั้งหน้าถ้าเป็นอะไร ค่อยไปตรวจก็ได้

ทางออก

Øข้ออ้างมันเยอะ ปัญหาข้อนี้ไม่ค่อยมี เป็นเพียงข้ออ้าง ที่สำคัญ คือ หากวัยรุ่นมีข้อมูลสถานบริการแล้ว และหากประเมินได้ว่าตนเองเสี่ยง หรือปรากฏอาการของโรค วัยรุ่นจะนึกถึงสถานบริการ และพยายามหาข้อมูลเอง เจ้าหน้าที่ไม่ต้องห่วง ประชาสัมพันธ์ดีๆ ก็พอ
3. ไม่มีคนแนะนำข้อมูลบริการในชีวิตประจำวัน
  • —พ่อแม่ก็ไม่เคยคุยด้วย แถมไม่กล้าพูดถึงอีกต่างหาก กลัวลูกตัวเองจะได้-เสีย(ทั้งชายและหญิงน่ะแหละ) มองว่าเป็นเรื่องไม่ดี นี่แกจะแก่แดดไปไหน อีลูกเวร!
  • ถามครู กูไม่สน  ... ไม่สนิท นี่เลยต้องถามปื๊ด พอไปถามปื๊ด มันรู้ทุกเรื่อง ถูกหรือเปล่าก็ไม่รู้ ปื๊ดเก่ง ปื๊ดรู้หมด ปื๊ดมีข้อมูล จากนั้นปื๊ดก็พาออกทะเล

ทางออก

Øระบบสุขภาพ 4 ด้าน  1.รักษา 2.ฟื้นฟู 3.ส่งเสริม 4.ป้องกัน  สามารถพัฒนาแกนนำโดยใช้งบจากระบบปกติได้ โดยพัฒนาให้เกิดเยาวชนแกนนำ และเวลาที่ต้องมาทำกิจกรรมร่วมกับ รพ. ก็เป็นการพัฒนาระบบการป้องกัน ที่เน้นการสร้างการมีส่วนร่วมจากกลุ่มเป้าหมาย

Øพัฒนาระบบแกนนำที่มีความรู้ ความสามารถเรื่องการป้องกันเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และสามารถถ่ายทอดต่อได้ โดยแกนนำมี ความรู้ ความตระหนัก ทักษะการปฏิเสธต่อรอง สามารถประเมินความเสี่ยง เข้าถึงถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่น มีข้อมูลบริการด้านเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ / เป็นอับดุล ถามได้ตอบได้

4. วัยรุ่นรู้สึกกลัว และกังวล เรื่องข้อมูลความเป็นส่วนตัว  และการรักษาความลับ จึงไม่ไปรับบริการที่มีอยู่

  • —กลัวว่าจะรู้จักพ่อแม่พี่น้อง ญาติสนิทมิตรสหาย อายจัง —
  • พอไปดูที่คลินิก โอยจะเป็นลม ห้องขอคำปรึกษาก็ไม่มี จะคุยทีแทบแทรกแผ่นดินหนี —
  • ไม่มีความเป็นส่วนตัวเลย พูดอะไรทีได้ยินหมดตึก ผมไม่อยากให้ใครรู้ว่าผมเป็นเริมนะ —
  • ถามเยอะมาก ช่วยบอกหน่อยได้ไหม ว่าข้อมูลเอาไปทำอะไร มีใครรู้บ้าง

ทางออก

Ø ประชาสัมพันธ์เน้นเรื่องความเป็นมิตร (ข้อ 5) และการรักษาความลับ
Ø จัดห้องที่เป็นส่วนตัว มิดชิด บรรยากาศเป็นกันเอง สีสันสดใส อาจมีภาพการ์ตูน แทนภาพ จู๋เน่า จิ๋มเน่า (ข้อ 5)
Ø เจ้าหน้าที่ควรให้ข้อมูลอย่างจริงใจ ตรงไปตรงมา ไม่นำทัศนคติส่วนตัวมาสอดแทรก ระหว่างการให้คำปรึกษา (ทุกคนรู้หลักการหมดแล้ว ก็แค่ลดความเป็นผู้ใหญ่ลงซักนิด อย่าตัดสินเค้า และสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นให้ได้)
5.สถานบริการ/การบริการสุขภาพที่มีอยู่ ไม่เป็นมิตรกับวัยรุ่น

กรณีที่ 1

  • —บางที่ มีห้องให้คำปรึกษา แต่พี่พยาบาลจ๋า ถามซะพรุน หนูอาย ถามหนูได้ แต่อย่าทำให้หนูรู้สึกว่าเป็นเรื่องผิดมหันต์ได้ไหมคะ  ตัวอย่าง “เด็กสาวถูกตรวจภายใน โดยเจ้าหน้าที่(ศูนย์แห่งหนึ่ง) ตรวจเสร็จ เจ้าหน้าที่พูดโพล่ง ด้วยเสียงที่พอจะได้ยินไปไกลนับสิบเมตร ว่า   “หนูมีแบคทีเรียในช่องคลอดนะคะ” แล้วก็จ่ายยา หนูถามพยาบาล ว่า “จะหายมั้ย” พยาบาลบอกว่า “โอ๊ย โรคแบบนี้ไม่หายหรอกค่ะ ต้องหมั่นตรวจ/ดูแลสุขภาพเรื่อยๆ” —
  • ประเด็นนี้ไม่ได้อยู่ที่การตรวจ หรือการให้ข้อมูลบริการสุขภาพ แต่อยู่ที่ “พูดเสียงดังให้คนอื่นได้ยินทำไม ฉันไม่ได้อยากให้คนอื่นๆ ที่อยู่ที่นั่นรู้ว่าฉันเป็นโรคอะไร และฉันก็ไม่ได้อยากรู้ว่าใครเป็นโรคอะไรด้วย” คนอื่นเป็นโรคอะไรได้ยินหมด เช่น “เอายาเหน็บไปเหน็บสิ คุณมีเชื้อรานะ” เป็นต้น

กรณีที่ 2

  • —น้องผู้หญิงคนหนึ่งได้ไปตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พี่พยาบาลพูดว่า     “ถ้าน้องมีแฟนหลายคนก็ต้องใช้ถุงยางนะคะ” ผู้ฟังรู้สึก และคิดในใจว่า “ทำไมพูดแบบนี้วะ กูไม่ได้มีแฟนหลายคนซะหน่อย” โดยที่ก่อนพยาบาล   ผู้นั้นจะพูดประโยคดังกล่าว ไม่ได้ถามเรื่องการมีแฟน หรือพฤติกรรมการเพศสัมพันธ์ของน้องคนนั้นเลย —
  • ผล คือ น้องคนนั้นมีทัศนคติทางลบต่อการตรวจรักษา และไม่อยากรับบริการอีก 
  • ประเด็นนี้ คือ อย่าคิดเอาเอง อย่าเหมารวมจากความเชื่อค่านิยมส่วนตัว ว่าใครเป็นอย่างไร ให้สอบถามรับฟังอย่างไม่ตัดสิน แล้วจึงวิเคราะห์ หรือให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้มารับบริการ

ข้อจำกัดอื่นๆ

  • —สภาพของสถานที่ให้บริการ เช่น บางรัก อาคารเหมือนมิติลี้ลับ บรรยากาศอึมครึม 
  • —บุคลิกของผู้ให้บริการบางแห่ง ที่ไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาโหวกเหวกโวยวาย ไม่สุภาพ —
  • สัดส่วนของห้อง หรือสถานที่ให้บริการ ที่ไม่มิดชิด ไม่เป็นส่วนตัว

ทางออก

Ø ควรปรับปรุงสภาพแวดล้อม สถานบริการ ให้มีบรรยากาศที่ดี เช่น มีสื่อสดใส สีสันสดใสไม่อึมครึม ไม่น่ากลัว มีแสงสว่างเพียงพอ
Ø เจ้าหน้าที่บุคลิกยิ้มแย้มแจ่มใส สุภาพ เป็นกันเอง ไม่ใช้สีหน้าแววตาที่ชิงชังรังเกียจผู้มารับบริการ (หมั่นเช็ครอยยิ้ม เช็คอารมณ์กันอย่างสม่ำเสมอ)
Ø ควรแนะนำการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อ ด้วยการพูดคุยถึงวิถีชีวิตทางเพศอย่างเข้าใจไม่ตัดสิน และให้ข้อมูลรอบด้าน วัยรุ่นคิดเองเป็น 
6. วัยรุ่นอายที่จะเข้าไปใช้บริการ 
  • —ถ้าปรับตามข้อ 1 -5 แล้ว ข้อนี้ ต้องพยายาม ทำให้กลไก ข้อ 3 มีประสิทธิภาพ  คือ พัฒนาระบบแกนนำที่มีความรู้ ความสามารถเรื่องการป้องกันเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และสามารถถ่ายทอดต่อได้ โดยแกนนำมี ความรู้ ความตระหนัก ทักษะการปฏิเสธต่อรอง สามารถประเมินความเสี่ยง เข้าถึงถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่น มีข้อมูลบริการด้านเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ / เป็นอับดุล — 
  • —แกนนำ/เจ้าหน้าที่ ต้องทำกิจกรรมเชิงรุก ให้ข้อมูลกับวัยรุ่น คุยแบบเพื่อน กระตุ้นให้อยากมารับบริการ พร้อมกับต้องปรับ หรือ แก้ปัญหาเรื่องทัศนคติเรื่องโรคติดต่อฯ  ต้องทำให้เห็นว่าการมาตรวจ ไม่ใช่เรื่องที่ต้องละอายต่อบาป หรือน่าอายแต่อย่างใด
  • —แกนนำ/เจ้าหน้าที่อาจต้องเพิ่มบทบาทช่วยแนะนำ ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา แก่กลุ่มที่เคยมารับบริการแล้วด้วย
7. วัยรุ่นไม่มีความรู้เรื่องโรคติดต่อ-เอดส์ ฯลฯ และไม่ตระหนัก ไม่ได้สนใจถึงความสำคัญของการไปตรวจ
—เน้นตาม ข้อ 1 ข้อ 3 และ ข้อ 6 

“ดังนั้น การสร้างบริการที่เป็นมิตรสำหรับเยาวชน  พวกเราจึงควรส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมกับเราให้มากที่สุด

เพื่อประโยชน์สูงสุดที่ทุกฝ่ายจะได้รับ”

ในส่วนนี้ผมก็นำเสนอไปเพียงบางส่วน และยังมีๆ นพ.มงคล (สคร.12)  นพ.สุชาติ จาก บ้านร่มเย็น รพ.มส และพี่ๆจาก สคร.นครสวรรค์ มาให้ข้อมูลด้วย 

ซึ่งล้วนเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ทั้งสิ้น 

 

แต่เรื่องที่คิดว่าประสบความสำเร็จที่สุดของวันนั้น ก็คือการแลกเปลี่ยนบนโต๊ะอาหาร 

จนนำไปสู่การเชื่อมประสานระหว่าง รพ.บางรัก และคณะพยาบาล จุฬาฯ  ที่ อ.จ๋า (ผศ.ดร.รัตน์ศิริ ทาโต) จะได้ให้นักศึกษาที่เรียนกับท่าน 

เข้าไปร่วมเป็นแกนนำกับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในคลินิกวัยรุ่นบางรัก 

 

ก็เป็นเรื่องที่ ถ้า อ.จ๋า ทำออกมา จะสามารถเป็นแนวทางไปปรับใช้ได้ในพื้นที่อื่น ในอนาคต คงไปช่วย อ.จ๋า วางแผนต่อไป 

 

ก็รอดูกันต่อ ผมรู้สึกว่าผมบันทึกงงๆ นิดหน่อย นะเนี่ย 

เอาละ บ่ายสองครึ่ง ทำงานต่อแล้วนะ

หมายเลขบันทึก: 367183เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2010 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท