สังวาลย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังวาลย์ ตุกพิมาย

“ชินวรณ์” ชี้ขาดช.พ.ค.6เพิ่ม-ลดหนี้สินครู


14มิ.ย.) นายชินวรณ์  บุณยเกียรติ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ. ว่า สำนักงานคณะกรรมการสวัสดิการ และสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ได้รายงานความคืบหน้าในการทำงานในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตครู ที่ดำเนินการมาแล้วและกำลังดำเนินการในปี 2553 ว่าสกสค.ได้ทำอะไรไปบ้าง เช่น แก้ไขปัญหาภาระทางการเงินของครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การจัดกิจกรรมศึกษาดูงาน การจัดโครงการสร้างวินัยทางการเงิน สนับสนุนการทำบัญชีรายรับรายจ่าย การจัดคลินิกทางการเงิน เพื่อให้คำปรึกษาแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเปิดจุดบริการ 18 จุด นอกจากนี้ ยังได้จัดทำการสำรวจผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ของครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 4 แสนราย รวมถึงการติดตามหนี้ค้างชำระ จำนวน 198 ล้านบาท เป็นต้น

 อย่างไรก็ตาม ในการครั้งนี้ ได้มอบนโยบาย 3 ประเด็นให้ สกสค.เป็นแนวทางในการนำไปดำเนินงาน คือ 1. ให้สกสค.ดำเนินงานทุกอย่างตามกฎหมายเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของเพื่อนครู 2.ให้สกสค.ไปติดตามการบริหารงานขององค์การค้า สกสค. โดยให้ไปดูว่าจะทำอย่างไรที่จะยกฐานะขององค์การค้า สกสค. ให้สามารถดำเนินงานเพื่อสนองตอบต่อนโยบายของ ศธ.ทั้งเรื่องการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 และสามารถดูแลการผลิตสื่อทางการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ และ 3. โครงการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ซึ่งเน้นย้ำว่าการแก้ปัญหาหนี้สินครูจะต้องมองภาพรวมทั้งระบบและต้องเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน โดยให้ยึดตามหลักการของศูนย์พัฒนาชีวิตครูตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักและให้สกสค.ดูแลหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำซึ่งอย่างน้อยต้องเป็นดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าโครงการอื่นที่เคยมีมาแล้ว

 ผู้สื่อข่าวถามว่า สกสค.ได้รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับโครงการเงินกู้สมาชิกกองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา(ช.พ.ค.) 6 ที่ปล่อยกู้เพิ่มเป็น 1,200,000 บาท จากเดิมรายละ600,000 บาท พร้อมกำหนดให้ทำประกันเพื่อประกันหนี้สินคาดว่าจะเริ่มในเดือนสิงหาคมหรือไม่ นายชินวรณ์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังไม่มีการหารือในเรื่องนี้ สกสค.เพียงแต่รายงานการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาชีวิตครูที่ได้ดำเนินการในปี 2553 เท่านั้น

 “หากจะดำเนินการจริงจะต้องเป็นไปตามแนวทางแก้ปัญหาที่ผมได้ย้ำไปแล้วคือจะต้องเป็นการแก้ปัญหาที่ภาพรวมทั้งระบบ มีแนวทางพัฒนาชีวิตครูที่ชัดเจน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน และขอให้ประสานกับกระทรวงการคลังเพื่อหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ และหากยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามนี้ก็คงต้องหาแนวทางอื่นที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับโครงการ ช.พ.ค.รุ่นที่ 6 นั้นยังเป็นแนวความคิดที่ยังไม่ตกผลึก เพราะแนวทางสำคัญคือลดภาระหนี้สินให้แก่ครู มีดอกเบี้ยที่ต่ำและหาแนวทางเสริมแก้ไขปัญหาให้ครูอย่างแท้จริง และหากจะทำโครงการ ช.พ.ค.รุ่นต่อไปก็ต้องตอบคำถามได้ว่าเป็นการทำเพื่อเพิ่มปัญหาหรือลดภาระหนี้สินครู ซึ่งส่วนตัวแล้วเห็นว่า สกสค.จะทำโครงการต่อหรือไม่ขอให้อยู่บนหลักเหตุผล 3 ประการที่ให้ไว้”นายชินวรณ์ กล่าว

ที่มา: http://www.komchadluek.net/detail/20100614/62848/%E2%80%9C%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E2%80%9D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%8A.%E0%B8%9E.%E0%B8%84.6%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9.html

คำสำคัญ (Tags): #ชพค#ชพค โครงการ6
หมายเลขบันทึก: 366637เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2010 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท