แผนที่การวิจัยด้านการเสริมสร้างสุขภาพ,,,เพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ระยะที่ 2 พ.ศ. 2551-2554


วันที่ 19 มิถุนายน 2553

ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านหัวหน้าพยาบาล พี่จินตนา บุญจันทร์ ให้ไปร่วมประชุม เพื่อปรึกษาหารือ

 

เป็นการทบทวนแผนที่การวิจัยด้านการเสริมสร้างสุขภาพเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ระยะที่ 2 พ.ศ. 2551-2554 ..สำหรับวิชาชีพพยาบาลและจัดลำดับความสำคัญของประเด็นการวิจัย

 

ที่ห้อง Sapphire โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

สภาการพยาบาล โดย..สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบการพยาบาล (สวพ) Thailand Nursing System and Development Research Institute   ร่วมกับแผนงานพัฒนาเครือข่ายพยาบาลศาสตร์ เป็นผู้จัดประชุมค่ะ 

 

ผู้ที่สนใจจะฝากแนวคิด เพื่อเข้าประชุมครั้งนี้ เชิญทิ้งร่องรอยไว้ให้ด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

 

        

      อุบล จ๋วงพานิช

    15 มิถุนายน 2553

หมายเลขบันทึก: 366583เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2010 05:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
เครือข่ายวิจัยโรงพยาบาลภาคเหนือ

จากประสบการณ์ที่ได้ตระเวนสอนการทำวิจัยคลินิกจากงานประจำตามโรงพยาบาลจังหวัดในภาคเหนือมาหลายปี หลายแห่ง และหลายครั้ง สังเกตเห็นว่าพยาบาลประจำการสามารถทำวิจัยคลินิกดีๆ (clinical nursing) ได้ไม่แพ้หมอ หรืออาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ งานแต่ละชิ้นออกมามีคุณค่า นำไปใช้ได้จริงทั้งนั้น จึงขอฝากนำเข้าไป comment ในสภาพยาบาลด้วยว่า การที่คณะพยาบาลหลายแห่ง พยายามยัดเยียดไอเดียของการทำวิจัยทางสังคม (ปลอมๆ) ประเภท ความรู้ ความคิดเห็น ทัศนคติ พฤติกรรม การยอมรับ อัตตมโนทัศน์ อัตตลักษณ์ การรับรู้ ฯลฯ อะไรทำนองนี้ ให้กับนักเรียนพยาบาล ทั้งปริญญาตรี และโดยเฉพาะปริญญาโทและปริญญาเอก เป็นเรื่องที่ผิดวิสัย (และน่าละอาย) เป็นอย่างยิ่ง เพราะนักเรียนพยาบาลที่จบมาแล้ว ต้องทำงานบนคลินิก อยู่กับคนไข้ งานวิจัยทางคลินิก (clinical nursing) ต่างหาก ที่เป็นหน้าที่ต้องทำ ไม่ใช่ไปแย่งงานวิจัยของนักสังคมศาสตร์การแพทย์มาทำ ถ้าพยาบาลไม่ทำ clinical nursing research เสียแล้ว ใครจะทำล่ะครับ

เครือข่ายวิจัยโรงพยาบาลภาคเหนือ

ขอบพระคุณที่ให้แนวคิดดีดีค่ะ

การวิจัยอาจทำได้หลายประเด็น แต่ประเด็นที่สำคัญของพยาบาลในคลินิก คือ การทำ R2R ซึ่งเป็นการนำงานประจำมาทำให้เป็นงานวิจัย จะได้ใช้ประโยชน์สูงสุดค่ะ

จะได้นำแนวคิดไป ลปรร ต่อไปค่ะ

หากว่าเราได้นำแนวคิดเรื่อง R2R มาใช้ในการขยายผลเพื่อพัฒนางานประจำทางการพยาบาลได้อย่างแพร่หลายนั้นคงจะเป็นเรื่องที่น่ายินดี

กะปุ๋มฝากแพร่กระจายแนวคิดเรื่อง R2R นะคะพี่แก้วขา

(^__^)

กะปุ๋ม

P

ยินดีที่จะนำแนวคิดนี้สู่องค์กรวิชาชีพค่ะ

อาจเป็นเพราะเราคุยกันในรถแทกซี่ในวันนั้น

ทำให้พี่ได้มีโอกาสนำเรื่องที่เราคิดและปรารถนาร่วมกัน...สู่องค์กรและผู้นำวิชาชีพทางการพยาบาลได้

แล้วพี่แก้วจะเล่าเรื่องให้ฟังนะคะ

 

บรรยากาศการประชุม

นายกสภาการพยาบาล เปิดประชุม

นพ สุธรรม ศรีธรรมา เปิดงาน

รศ ดร วรรณภา ศรีธัญรัตน์ เกริ่นนำกระบวนการ

รศ ดร ขนิษฐา นันทบุตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบการพยาบาล สภาการพยาบาล นำเสนอแผน

 

แผน

 

ช่วยกันเขียนโจทย์การวิจัย

อรุณสวัสดิ์ค่ะพี่แก้ว ไว้จะมาอ่านรายละเอียดอีกครั้งค่ะ น่าสนใจมากมาย ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆ ที่พี่แบ่งปันเสมอนะคะคุณแม่ยังสาว ;)

การประชุม R2R ตรงกับ APNs เลยไม่ได้มากับพี่แก้ว สบายดีนะคะ เพราะพึ่งกลับมาก็ต่อการประชุมเลย

Dsc09774

http://gotoknow.org/blog/pedapnkesanee/375168 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท