โรคหอบหืด


งานโรคหอบหืดในมุมที่ได้เรียนรู้เพิ่ม(จริงๆ)

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2553  ดิฉันได้มีโอกาสได้เข้าร่วมในการประชุมหารือเพื่อหาแนวทางจัดทำคู่มือในการดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืดในรพ.สต. และโรงพยาบาลชุมชน ของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งโอกาสดีๆที่ดิฉันได้รับนี้ต้องขอบคุณ พี่รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์(หมออ้อ...เจ้าแม่เบาหวานโรงพยาบาลพุทธฯ) ที่นำทีมของโรงพยาบาลพุทธชินราชไปมีส่วนร่วมในการระดมความคิด ดิฉันเป็นตัวแทนของผู้ทำงานโรคหอบหืดในโรงพยาบาลศูนย์ที่เชื่อมต่อกับPCU เครือข่าย ส่วนพี่วาสนา เกตุมะ,พี่ศิริรัตน์ มีแสงเป็นตัวแทนของผู้ทำงานในPCUซึ่งเป็นผู้จัดการโรคหอบหืดในPCUมานาน  ซึ่งการเป็นตัวแทนในครั้งนี้ ดิฉันและพี่วาสนาได้เล่าเรื่องการจัดระบบการทำงานในการดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืดของเราทั้งในโรงพยาบาลพุทธชินราช และPCU เครือข่ายฯซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติจริงกับผู้ป่วย

จากการที่ได้เข้าร่วมรับฟังการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานของแต่ละท่าน ทั้งหมดนั้น... ทำให้ดิฉันเข้าใจระบบการจัดการและดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืดมากขึ้นเลยทีเดียว ดังเช่นคำพูดของ น.พ ชาญชัย  จันทร์วรชัยกุล ท่านว่าหากรพ.สต.ไหนไม่สามารถจัดตั้ง Asthma clinicได้ ก็ให้จัดเป็นรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหอบหืดแบบเป็นระบบให้ชัดเจนก็ได้ นั้นหมายถึงรพ.สต. นั้นต้องมี...

  1. การดูแล รักษาผู้ป่วยโรคหอบหืดให้เป็นมาตรฐานรูปแบบเดียวกันกับโรงพยาบาล
  2.  มีฐานระบบข้อมูลผู้ป่วยเดียวกันทั้งโรงพยาบาลและรพ.สต.ซึ่งระบบข้อมูลนั้นสามารถนำมาจัดกลุ่ม,จำแนกประเภทผู้ป่วยโรคหอบหืดแต่ละประเภทได้ 
  3. มีระบบการส่งต่อ/การสื่อสาร 2 ช่องทางในการติดตามปัญหาและพัฒนาการดูแลต่อเนื่องระหว่างโรงพยาบาลและรพ.สต.

และน.พ วัชรา บุญสวัสดิ์(อาจารย์โรคหอบหืด..ตัวจริง! เสียงจริง!)ได้กล่าวเสริมสั้นๆว่า ..ประโยชน์ของการจัดระบบที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น... เพื่อเพิ่มความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วย, เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแก่ผู้ป่วยนั้นเอง ซึ่งพอดิฉันฟังแล้วรู้สึก...เข้าใจชัดเจน!จริงๆคะ

และวัตถุประสงค์ในการสร้างระบบเครือข่ายคือ

  1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหอบหืดได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องใกล้บ้าน
  2. เพื่อให้เครือข่ายและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคหอบหืด
  3. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหอบหืดได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบเหมือนโรงพยาบาล

และวัตถุประสงค์ สุดท้ายจริงๆนั้น เรา...ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สภาพแวดล้อมผู้ป่วยให้สามารถคุมอาการหืดกำเริบให้ได้ ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ทีมสุขภาพเราจะไปจัดการได้...ซึ่งเรื่องง่ายๆที่เราจะจับก่อนนั้นคือเรื่องบุหรี่ สิ่งแวดล้อมในบ้าน สัตว์เลี้ยงต่างๆในบริเวณบ้านเพราะสิ่งแวดล้อมในครอบครัวและชุมชนนั้นเราสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าระบบอื่นๆ

อาจารย์แพทย์หญิงสุพัตรา ศรีวณิชชากร ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ได้ถามประโยคอยู่ประโยคหนึ่งว่า!  ทำไมเราถึงมาทำเรื่องหอบหืดในรพ.สต. คำตอบ...จากทีมคือในรพ.สต. ผู้ป่วยเข้าถึงบริการง่าย, โรคหอบหืดเป็นโรคที่ไม่ยากต่อการรักษา รพ.สต.ทำได้ , ลดการแออัดของผู้มารับบริการที่โรงพยาบาล, ป้องกันหอบกำเริบจากการขาดยา

    ซึ่งทั้งหมดที่ได้จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของการทำงานร่วมกันแล้ว ดิฉันคิดว่าโรงพยาบาลพุทธชินราชได้เริ่มทำมาเรื่อยๆแล้วจนน่าจะครอบคลุมครบทั้งระบบแล้วนะคะ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหอบหืดให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันกับโรงพยาบาลพุทธชินราช ซึ่งระบบการรักษานี้เราได้ น.พรัฐภูมิ ชามพูนท เป็นผู้คิดระบบให้ รวมทั้งระบบการส่งต่อผู้ป่วยจาก PCU มาร.พ อีกทั้งเครือข่ายชุมชน ที่มีชมรมชุมชนคนปลอดบุหรี่โดยเริ่มต้นจาก PCU สมอแขและบ้านป่าที่เป็น CU ครือข่ายฯก่อน แต่เรื่องของระบบข้อมูลต่างๆยังมีไม่มากนักเนื่องจากเราเพิ่งเริ่มต้นจัดเก็บข้อมูลจริงๆจังๆกันประมาณ 1 ปีเท่านั้น (ใน PCU)  อย่างไรก็ตามงานที่เราจะต้องทำต่อไป ซึ่งเป็นงานที่สำคัญมากเช่นกันคืองานเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคหอบหืด ซึ่งเราต้องทำให้ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันหืดกำเริบ การรักษาที่ต่อเนื่องเพือ่คุณภาพที่ชีวิตที่ดีของผู้ป่วยนั้นคือผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติไม่มีภาวะหืดกำเริบจนต้องมาพ่นยาฉุกเฉินบ่อยๆ หรือต้องนอนโรงพยาบาลซ้ำและซำอีก  

                                    (ขอบคุณนะคะ...พี่อ้อ)

คำสำคัญ (Tags): #โรคหอบหืด
หมายเลขบันทึก: 366480เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2010 18:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

วันนี้คงมีเจ้าแม่เกิดใหม่ 1 คน ใช่เลย เจ้าแม่ easy asthma ณ PCU พิษณุโลกอุ๋ย ... อ.นิพัธ มอบหมายให้อุ๋ยทำ พี่ว่ามันใช่เลย เพราะอุ๋ยทำเรื่องยากให้มันง่ายแสนง่ายได้ พี่ก็ตั้งใจแล้วว่าถ้าอุ๋ยไม่ยอมมากับพี่ ก็จะมอมยาแล้วลากขึ้นรถมาจริงๆ .....หายเหนื่อยเลยใช่เปล่า ได้พลังมาอีกเยอะเชียว  โชคดีของคนไข้asthma พิ,โลกจริง

เจอะเจอบล็อก คุณปิลันธนา ด้วยอะค่ะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

เพิ่งได้รับมอบหมายให้รับงานนี้เมื่อเช้า อยากทำความรู้จักค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท