หลักการดูแลสุขภาพ


ทฤษฎีการดูแลสุขภาพ โดยหลักธรรมชาติของจีน
คำเกี่ยวข้องที่ใช้ค้นหา:   สุขภาพ    ธรรมชาติ    จีน    แพทย์    ศาสตร์จีน    ตะวันออก


      ความรู้ตามทฤษฎี การดูแลสุขภาพ โดยหลักธรรมชาติ ของจีนบิดาแห่งการแพทย์ แผนตะวันออก ซึ่งมีอายุ ยาวนานกว่า 5 พันปี ได้อธิบายถึง ระบบการหมุนเวียน ของพลังงาน ในร่างกาย (The Organ Clock) ดังนี้ ทฤษฎีการดูแลสุขภาพ โดยหลักธรรมชาติของจีน


เวลา 21.00 - 23.00 น.
เป็นช่วงที่ร่างกายสะสมพลังงาน พลังงานรวมของร่างกาย จะสร้างในช่วงนี้เท่านั้น เพราะฉะนั้นจะ ต้องพักผ่อนในช่วงนี้ โดยเข้านอน ตั้งแต่ตอน 3 ทุ่ม หากไม่เข้านอนช่วงนี้ ร่างกายจะมีพลังงาน ไม่เพียงพอ ที่จะไปช่วยเหลือ กระบวนการ สะสมพลังงาน ของร่างกาย ผลคือ ร่างกายมีพลังงานสะสม ไม่เพียงพอ ในการฟื้นฟูอวัยวะต่างๆ ให้สะอาดแข็งแรง สำหรับวันต่อๆ ไป

เวลา 23.00 - 01.00 น.
พลังงานที่สร้างขึ้น จะเคลื่อนตัวเข้าสู่ ถุงน้ำดี ร่างกายจะนำพลังงานนี้ ไปล้าง ถุงน้ำดี ทำให้ถุงน้ำดีแข็งแรง และนำไปย่อยไขมัน ที่จะเปลี่ยนรูป ไปเป็นฮอร์โมน, กล้ามเนื้อ, กระดูก, เส้นเอ็น, ไขสมอง, น้ำหล่อเลี้ยง ในร่างกายทั้งหมด การย่อยไขมันของร่างกาย จะเกิดในช่วงนี้เท่านั้น หากไม่พักผ่อน ในช่วงเวลา ดังกล่าว ไขมันจะตกตะกอน อยู่ตามร่างกาย เช่น ถุงไขมันใต้ตา, มีพุง, ปวดไหล่, ปวดท้องง่าย บริเวณลำไส้ใหญ่, ท้องเสีย,หรือท้องผูก, สมองเลอะเลือน

เวลา 01.00 - 03.00 น.
พลังงานจะเคลื่อนเข้าสู่ตับ ตับจะเริ่มทำงานโดยใช้พลังงานที่สะสมไว้ ตับจะสะสม อาหารสำรอง ให้ร่างกายผลิตน้ำดี และส่งไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี ถ้าไม่หลับในช่วงนี้ ร่างกาย จะสูญเสียพลังงาน ที่สะสมไว้ ตับจะอ่อนแอลง การสะสมพลังงานสำรอง ลดลง การผลิตน้ำดีลดลง ส่งผลต่อการทำงาน ของตับอ่อน เป็นผลให้การ ผลิตอินซูลินลดลง เกิดโรคความดัน โลหิตแปรปรวน, โรคเกาท์, โรครูมาตอยส์, รูมาติซึม, ภูมิคุ้มกันบกพร่อง, เบาหวาน, หัวใจ, กระดูกเสื่อม

เวลา 05.00 - 07.00 น.
พลังงานจะเคลื่อนเข้าสู่ ลำไส้ใหญ่ เป็นช่วงที่เราจะต้อง ถ่ายอุจจาระ ร่างกายจะต้อง เอาของเสียทิ้งให้หมดก่อน 07.00น. ถ้าร่างกายไม่ถ่ายในช่วงนี้ ร่างกายจะเริ่มดูดซึมของเสีย เข้าสู่ระบบเลือด อันเป็นสาเหตุ ให้เกิดริ้วรอย บนใบหน้า เกิดไขมันที่เสียๆ ที่สำคัญ ควรออกกำลังกาย ภายในช่วงเวลานี้ เพื่อให้ลำไส้ขยับตัว และเพิ่มศักยภาพ ในการขับเคลื่อนของเสีย

เวลา 07.00 - 09.00 น.
พลังงานจะเลื่อนเข้าสู่กระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะทำงานได้สูงสุด ในช่วงนี้เท่านั้น กระเพาะอาหารจะต้องการอาหาร และหลั่งน้ำย่อยมากที่สุด ผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารในช่วงนี้ จะมีโอกาสเป็นโรคกระเพาะ และเกิดโรคหัวใจ เพราะไม่ได้สารอาหาร สำหรับทุกอวัยวะ เพื่อกลับไปสร้าง พลังงานรวม

เวลา 09.00 – 11.00 น.
ม้าม จะเริ่มเป็นพลังงานสำรอง เก็บสารอาหารจากการ ย่อยของกระเพาะอาหาร การที่ไม่รับประทานอาหารเช้า จะดึงพลังงานสำรองออกมาใช้ พลังงานรวม จะหายไป ร่างกายจะอ่อนเพลียไม่มีแรง

เวลา 11.00 - 13.00 น.
พลังงานจะเคลื่อนไปที่ หัวใจ ถ้าร่างกายไม่ได้สารอาหารหัวใจจะทำงานลำบาก หัวใจวายได้ง่ายในช่วงนี้

เวลา 13.00 - 15.00 น.
พลังงานจะเคลื่อน สู่ลำไส้เล็ก ซึ่งจำทำงานโดยเปลี่ยนรูปอาหาร ที่ได้จากตอนเช้า ทั้งคาร์โบไฮเดรท,ไขมัน, เกลือแร่ เป็นพลังงานทั้งหมด ถ้าร่างกายไม่ได้ รับประทานอาหารเช้า อาหารที่มาย่อยในลำไส้เล็กก็ไม่มี ลำไส้เล็กก็จะย่อยตัวเอง และเริ่มอ่อนแอ

เวลา 15.00 – 17.00 น.
พลังงานจะเคลื่อนที่มาสู่ กระเพาะปัสสาวะ ของเสียที่เกิดจากการแปรรูป อาหารที่ลำไส้เล็ก จะเกิดขึ้น กระเพาะปัสสาวะจะทำงานมากที่สุด

เวลา 17.00 – 19.00 น.
พลังงานจะเคลื่อนมาที่ ไต ช่วงนี้ไตทำงานหนัก ไม่ควรออกกำลังกาย การออกกำลังกาย ช่วงเย็นจะทำให้ไตวาย, เวียนหัว, ตาพร่า, ปวดศรีษะบ่อย

เวลา 19.00 – 21.00 น.
พลังงานจะเคลื่อนมาที่ กล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งจะทำงานชะล้างตัวเองทำงานช้าลง ช่วงนี้ต้องพักผ่อน ถ้าไม่พักเลือดจะข้น กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนัก หัวใจโต
คำสำคัญ (Tags): #บุรีรัมย์6
หมายเลขบันทึก: 366091เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2010 17:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท