เกร็ดความรู้ระหว่างประเทศ


ทำได้ถ้าคิดว่าทำได้

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ระบบการบริหารรัฐ
เป็นแนวคิดของอริสโตเติ้ลเกี่ยวกับเรื่องรัฐบาลที่ดีที่สุด จะต้องเป็นรัฐบาลที่ประชาคมตั้งใจเลือกตั้งขึ้นมา เพื่อจะได้ร่วมกันแสวงหาความจริงแท้ด้วยกัน

: สงครามปูนิค
เป็นสงครามระหว่างคาร์เทจกับโรม (ชื่อปูนิคมาจากชื่อที่ชาวโรมันใช้เรียกชาวฟินีเซีย ซึ่งคาร์เทจเคยเป็นอาณานิคมของฟินีเซีย นับเป็นวิกฤตการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์โรมัน สงครามปูนิคครั้งที่หนึ่ง (264-241 ก่อน ค.ศ.) โรมสามารถเอาชนะคาร์เทจทางทะเล และยังสามารถเอาชนะในสงครามทางบกที่คาร์เทจ ซึ่งนับว่าเป็นสงครามทางบกที่โรมันเอาชนะข้าศึก ในดินแดนนอกคาบสมุทรอิตาลีเป็นครั้งแรก สงครามปูนิคครั้งที่สอง (218-201 ก่อน ค.ศ.) ฮันนิบาลยกกองทัพเข้าโจมตีโรม แต่ปรากฏว่าโรมันกลับเอาชนะผู้นำคาร์เถจผู้นี้ได้ สงครามปูนิคครั้งที่สาม (149-146 ปีก่อน ค.ศ.) โรมันได้เผาทำลายคาร์เทจ จนราบคาบ

PLO: Palestinian Liberation Organization: พีแอลโอ, ขบวนการปลดปล่อยปาเลสไตน์
เป็นองค์การก่อการร้ายทางการเมืองอาหรับ ตั้งขึ้นใน ค.ศ.1964 ในการประชุมชาติอาหรับ เพื่อหาทางสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ให้สามารถคงไว้ ซึ่งสมรรถนะในการเป็นกิจกรรมทางการเมือง ขบวนการ พีแอลโอ ประกอบด้วยกองโจรอาหรับหลายกลุ่ม มีจุดประสงค์เด่นชัดคือ เรียกร้องดินแดนที่ถูกยึดครองโดยอิสราเอลคืนมา วิธีการที่ใช้ก่อการร้าย เช่น การจี้เครื่องบิน ทิ้งระเบิด ฆ่าหมู่พลเมืองอิสราเอล และโจมตีกองทหารอิสราเอล หัวหน้าองค์กรคนแรก คือ อาหมัด ชูกายริ (Ahmad Shukairy) จนถึง ค.ศ.1967 เมื่อเกิดสงครามอาหรับ-อิสราเอล มีผู้นำคนใหม่ คือ นายยัตเซอร์ อราฟัต (Yasir Arafat) (ค.ศ.1929- ) ผู้นำกองโจรอัลฟาตาห์ (Al Fatah) มีอิทธิพลเหนือขบวนการอื่นๆ ใน PLO ได้รับการยอมรับใน UN ค.ศ.1974 ระหว่างทศวรรษที่ 1960-1970 กองกำลัง พี.แอล.โอ. เกิดปะทะกับกองทหารจอร์แดน จึงต้องถูกขับออกจากประเทศนั้น ในทศวรรษที่ 1970 ได้ไปตั้งฐานปฏิบัติการที่เลบานอนเพื่อโจมตีอิสราเอล เป็นผลให้อิสราเอลบุกเลบานอนใน ค.ศ.1982 พวกกองโจรถูกขับออกจากกรุงเบรุตใน ค.ศ.1988 ขบวนการ PLO ประกาศตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นแห่งรัฐปาเลสไตน์ มีนายอราฟัตเป็นประธานาธิบดี ประกาศยอมรับการดำรงอยู่ของประเทศอิสราเอล เป็นผลให้มีการดำเนินการต่อมาเพื่อรักษาสันติภาพในตะวันออกกลางให้คงไว้


Panama Canal : คลองปานามา
เป็นคลองขุดยาว 51 ไมล์ บนช่องแคบปานามาในอเมริกากลาง ผู้เริ่มขุด คือ เฟอร์ดินันด์ เดอ เลสเซป (Ferdinand de Lesseps) ผู้ขุดคลองสุเอซ เริ่มขุดคลองนี้ตั้งแต่ ค.ศ.1881 แต่บริษัทของเขาล้มละลายใน ค.ศ.1889 เกิดขัดกันระหว่างสหรัฐ และ อังกฤษที่จะดำเนินการต่อ จนกระทั่งฝ่ายที่สหรัฐสนับสนุนให้จัดตั้ง ในปานามาได้อำนาจ สหรัฐจึงได้รับมอบหมายให้ขุดคลองในเดือนพฤศจิกายน 1903 ขุดสำเร็จใน ค.ศ.1914 ทั้งนี้สหรัฐได้ ตกลงยินยอมให้ปานามาได้มีสิทธิดูแลคลองนี้อย่างเต็มที่ใน ค.ศ.1999

คำสำคัญ (Tags): #กศน.
หมายเลขบันทึก: 365503เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2010 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 04:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท