มาลีพันธุ์ ภูมา โรงเรียนวัดท่างาม อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
Mrs. Maleephan มาลีพันธุ์ ภูมา โรงเรียนวัดท่างาม อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช Pooma

ศาสนาอิสลาม


สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ

                                            ศาสนาอิสลาม 

 

     

                “อิสลาม  แปลตามรูปศัพท์ว่า  การยอมมอบตนตามประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าโดยสิ้นเชิง  ผู้นับถือศาสนาอิสลามเรียกว่า “มุสลิม”  แปลว่า  ผู้ยอมมอบตนตามประสงค์ของพระเจ้าโดยสิ้นเชิง

 

 

ประวัติศาสดา

 

      ศาสดาของศาสนาอิสลามคือ ท่านนบีมุฮำมัด   

นบี   หมายถึง ผู้แทนของพระอัลเลาะห์ มุฮำมัด หมายถึง ผู้ได้รับการสรรเสริญ 

    ท่านนบีมุฮำมัด  เป็นชาวอาหรับเผ่าคูเรช  เกิดเมื่อพ.ศ.1113  ท่านนบีมุฮำมัด  แต่งงานกับนางคอดียะ  นางคอดียะเป็นกำลังสำคัญในการประกาศศาสนาของท่านนบีมุฮำมัด  ท่านได้พูดถึงภรรยาของท่านเสมอว่า”เธอเชื่อฉันในขณะทีไม่มีใครเชื่อ  เธอเป็นมิตรและเป็นเพื่อนคู่ใจในขณะที่คนทั้งโลกเป็นศัตรูต่อฉัน”

 คัมภีร์สำคัญ

                 คัมภีร์สำคัญของศาสนาอิสลามคือคัมภีร์อัล-กุรอาน(Al-Quran) เป็นคัมภีร์บันทึกคำสอนซึ่งชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นโองการจากอัลเลาะห์โดยผ่านทางท่านนบีมุฮำมัด  คัมภีร์อัล-กุรอาน(Al-Quran)ว่าด้วยหลัก 3 ประการอันเป็นรากฐานของศาสนาอิสลามคือ

        1. หลักศรัทธาหรือความเชื่อในศาสนา เรียกว่า  อีมาน (Iman)

        2. หลักปฏิบัติหรือหน้าที่ในศาสนา      เรียกว่า อิบาดะห์ (Ibadat)

        3. หลักคุณธรรมหรือหลักความดี       เรียกว่า อิห์ซาน (Ishan)

    ผู้นับถือศาสนาอิสลามทุกคนจะต้องมีความรู้ในหลัก 3 ประการอย่างแท้จริง หลัก 3 ประการดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้

1. หลักศรัทธา 6 หรือความเชื่อในศาสนา  เรียกว่า อีมาน(Iman)

     1.)    ศรัทธาต่ออัลเลาะห์

      มุสลิมจะต้องเชื่อมั่นว่าพระเจ้ามีจริง  พระอัลเลาะห์เป็นพระเจ้าองค์เดียวและเป็นผู้ทรงคุณลักษณะ ดังนี้

     *  ทรงเป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่างในเอกภาพ

     *  ทรงเป็นผู้อยู่ตลอดเวลา

     * ทรงดำรงอยู่ ไม่มีใครสร้างพระองค์

     * ทรงสรรพเดช  สัพพัญญู

    *  ทรงความยุติธรรม ทรงพระเมตตา

    *  ทรงเป็นผู้พิพากษาในการตัดสินชีวิตมนุษย์ในวันสุดท้ายที่เรียกว่า

       วันพิพากษา

 2.)    ศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะห์หรือเทวทูต

     บรรดามลาอิกะห์มีจำนวนมากมายสุดจะประมาณไม่ได้ทำหน้าที่สนองพระบัญชาอัลเลาะห์แตกต่างกัน  คุณสมบัติของบรรดามลาอิกะห์ ดังนี้

    *  เป็นสิ่งที่อัลเลาะห์ทรงสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่ต่างๆตามที่พระองค์กำหนด

    *  ไม่ต้องการหลับนอน

   *  จำแลงเป็นรูปต่างๆได้

   *  ไม่มีบิดามารดา บุตร ภรรยา

   *  ปฏิบัติแต่คุณธรรมล้วนๆ

   *  ไม่ละเมิดฝ่าฝืนบัญชาของพระอัลเลาะห์เลย

   *  ไม่กิน ดื่ม ขับถ่าย  ไม่มีกิเลสตัณหา

3.)    ศรัทธาต่อบรรดาพระคัมภีร์

    คัมภีร์จำนวน 104 เล่มที่อัลเลาะห์ได้ประทานแก่เหล่าศาสนทูตของพระองค์  เพื่อนำมาประกาศเผยแพร่แก่ปวงประชาชาติให้หันห่างจากความมืดมนไปสู่ทางอันสว่างไสวและเที่ยงตรง

4.)    ศรัทธาต่อบรรดารอซู้ลหรือศาสนทูต

   มุสลิมจะต้องศรัทธาว่าพระเจ้าทรงเลือกบุคคลในหมู่มนุษยชาติให้เป็นผู้สื่อสาร  นำบทบัญญัติ ของพระองค์มาสั่งสอนแก่มวลมนุษย์ทุกยุคทุกสมัย  ศาสนทูตเป็นผู้ที่มีศักดิ์ศรีเหนือกว่ามนุษย์ทั้งหลาย

5.)    ศรัทธาต่อวันสิ้นโลก

   มุสลิมต้องศรัทธาว่าในโลกนี้เป็นโลกที่ไม่จีรังยั่งยืน  จะต้องมีวันแตกสลาย  เมื่อถึงวันนั้น มนุษย์ทั้งหมดจะต้องไปรวม ณ ที่ของอัลเลาะห์เพื่อการสอบสวนและการตอบแทน

6.)    ศรัทธาต่อกฎกำหนดสภาวการณ์

   กฎกำหนดสภาวการณ์เป็นกฎที่ควบคุมเอกภพหรือธรรมชาติทั้งหมด  ทั้งนี้เพราะเมื่อพระเจ้าได้สร้างสิ่งต่างๆขึ้นแล้ว  ก็ทรงสร้างกฎที่จะควบคุมการทำงานของสิ่งเหล่านั้นให้ดำเนินไปอย่างเป็นระเบียบจนกว่าพระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่างอื่น

2. หลักปฏิบัติ 5  หรือหน้าที่ในศาสนา เรียกว่า อิบาดะห์ (Ibadat)

                มุสลิมมีหลักปฏิบัติ  5 ประการ คือ

    1. การปฏิญาณตน    หัวใจของการเป็นมุสลิมคือการกล่าวคำปฏิญาณว่า”ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลเลาะห์ และมุฮัมมัดคือศาสนทูตแห่งพระองค์

 2. การละหมาด 

1.ละหมาดซุบฮิ ตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนกระทั่งถึงดวงอาทิตย์ขึ้น  
2. ละหมาดซุฮรี เริ่มเข้าตั้งแต่ดวงอาทิตย์คล้อยผ่านจุดสูงสุด (solar noon) จนกระทั่งเงาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (อย่างเช่น ไม้  หรืออุปกรณ์อื่นๆ)  ทอดยาวออกไปเท่าตัว
3. ละหมาดอัศรี เริ่มเมื่อเงาของสิ่งใดสิ่งหนึ่งยาวกว่าเท่าตัวของมัน ไปจนเมื่อดวงอาทิตย์ตก
4. ละหมาดมักริบ เริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกจนสิ้นแสงตะวัน
5. ละหมาดอีซา เริ่มตั้งแต่แสงตะวันลับขอบฟ้า จนถึง แสงอรุณเริ่มเปิดฟ้าขึ้นมาใหม่

         คือการนมัสการพระเจ้า  การแสดงความเคารพต่อพระเจ้า  เป็นการปฏิบัติเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้า  การสำรวมจิตระลึกถึงพระเจ้า  การละหมาดเป็นการขัดเกลาจิตให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา  นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างพลังให้เข้มแข็ง  จะกระทำละหมาดวันละ 5 เวลาคือเวลาย่ำรุ่ง  เวลากลางวัน  เวลาเย็น  เวลาพลบค่ำ  เวลากลางคืน  เมื่อได้เวลาทำละหมาด  มุสลิมจะละหมาดที่ใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นสุเหร่าหรือมัสยิด  แต่ต้องเป็นที่สะอาด  ในเวลาทำละหมาดมุสลิมทั่วโลกจะหันหน้าไปยังทิศเดียวกันคือที่ตั้งของกะบะฮ์ซึ่งเรียกว่ากิบลัดบุคคลที่ละหมาดได้ต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะทางร่างกายแล้ว  คือหญิงตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือน  ชายเริ่มตั้งแต่เป็นหนุ่ม  มุสลิมจะต้องหมาดทุกวันจนกว่าจะตาย  แต่มีข้อยกเว้นสำหรับหญิงขณะมีประจำเดือน  และมีเลือดออกหลังคลอด

           การละหมาดหญิงชายต้องทำให้ร่างกายสะอาดเสียก่อน  การทำความสะอาดเรียกว่าการอาบน้ำละหมาด  วิธีอาบน้ำละหมาดทำดังนี้

                *  ล้างมือทั้งสองข้างจนถึงข้อมือ

                *  เอาน้ำบ้วนปากพร้อมกับล้างรูจมูก 3 ครั้ง

                *  ล้างหน้า 3 ครั้งให้ทั่วบริเวณหน้า

                *  ล้างแขนทั้งสองข้าง  3  ครั้ง  ตั้งแต่ปลายนิ้วถึงข้อศอกโดยล้าง

                   ข้างขวาก่อนข้างซ้าย

                *  เอามือขวาชุบน้ำลูบศรีษะ 3 ครั้ง  ตั้งแต่ด้านหน้าถึงด้านหลัง

                * เอามือทั้งสองชุบน้ำเช็ดใบหูทั้งสองข้าง 3 ครั้งให้เปียกทั่วทั้ง

                   ภายนอกภายใน  โดยเช็ดพร้อมกันทั้งสองข้าง

                *  ล้างเท้าทั้งสองข้าง 3 ครั้งให้ทั่วจากปลายเท้าถึงเลยตาตุ่ม 

                  โดยล้างเท้าขวาก่อนเท้าซ้าย

 

3.การถือศีลอด  หมายถึงการละเว้นจากการกิน  การดื่ม  และเพศสัมพันธ์  ตลอดถึงการรักษาอวัยวะทุกส่วนให้พ้นจากการทำความชั่ว  ทั้งด้านกาย  วาจา  และใจตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตก  ในเดือนรอมฎอน  เป็นเวลา  1 เดือน  มุสลิมที่บรรลุนิติภาวะทางร่างกายที่กล่าวไว้ในเรื่องการละหมาดแล้ว  ทุกคนต้องถือศีลอด  ยกเว้นสำหรับบุคคลบางประเภทต่อไปนี้  

                *  คนชรา

                *  คนป่วยหรือคนสุขภาพไม่ดี

                *  หญิงมีครรภ์ที่เกรงว่าจะเป็นอันตรายแก่บุตร

                *  บุคคลที่ทำงานหนัก เช่น กรรมกรแบกหาม

                *  บุคคลที่อยู่ระหว่างการเดินทาง

                *  หญิงขณะมีรอบเดือนและหลังคลอด

 

4.  การบริจาคซะกาด

 

 

              หมายถึงการจ่ายทานบังคับจากผู้มีทรัพย์สินครบรอบหนึ่งปี  แก่คนที่มีสิทธิ์รับบริจาคตามอัตรากำหนดซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพย์สิน  เป็นการขัดเกลาจิตใจผู้บริจาคให้สะอาดบริสุทธิ์  ลดความตระหนี่เหนียวแน่นความเห็นแก่ตัว  ให้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  เป็นการเตือนการสอนให้มนุษย์ไม่ตกเป็นทาสของวัตถุ  ไม่เกิดความละโมบ  เพื่อลดช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคมเป็นการเสริมสร้างหลักประกันของสังคมให้มั่นคงขึ้น  สิ่งที่ต้องจ่ายออกเป็นซะกาตได้แก่ทองคำ  เงินแท่ง  และเงิน  ปศุสัตว์  พืชผล  รายได้จากธุรกิจการค้า  ขุมทรัพย์

                นอกจากนี้สิ่งที่จะบริจาคออกไปจะต้องเป็นสิ่งที่ดี  การเลือกสิ่งที่ไม่ใช้  สิ่งที่ไม่ดีบริจาคออกไป  ไม่เรียกว่าบริจาคซะกาต  การบริจาคต้องทำด้วยใจบริสุทธิ์  มิใช่ทำด้วยความเสียดายหรือทำเพื่อโอ้อวด  ผู้ที่มีสิทธิ์รับซะกาตมี 8 ประเภทดังนี้

        1.) คนยากจนขัดสน คือ  ผู้ที่หาได้ไม่ค่อยพอใช้  เช่น  กรรมกรที่หาเช้ากินค่ำ  หรือแม่หม้ายที่สามีตาย  ต้องเลี้ยงลูกกำพร้าลำพังโดยไม่มีสมบัติ

       2.)  คนอนาถา  คือผู้ที่อยู่อย่างแร้นแค้น

      3.)  ผู้ที่มีจิตโน้มเอียงเข้ารับอิสลาม

      4.)  ใช้ในการไถ่ทาส

      5.)  ผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งไม่ได้เกิดจากอบายมุขหรือความฟุ่มเฟือย

      6.)  ใช้ในวิถีทางของพระเจ้า เช่น สนับสนุนการศึกษาการสงเคราะห์ผู้

            ประสบภัยและในกิจการสาธารณะประโยชน์ เป็นต้น

      7.) คนเดินทางที่ขาดปัจจัยในการเดินทาง

     8.)  เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ทำหน้าที่จัดเก็บรวบรวมซะกาต

 

 

5.การประกอบพิธีฮัจญ์

 

               คือการเดินทางไปประกอบศาสนกิจ ณ เมืองเมกกะประเทศซาอุดิอาระเบีย  คำว่า “ฮัจญ์”  หมายถึง  การเดินทางไปยังจุดมุ่งหมายเฉพาะอันหนึ่งในแง่กฎหมายอิสลาม  คำนี้หมายความว่าออกเดินทางไปกะบะห์หรือบัยดุลเลาฮ์และประกอบพิธีฮัจญ์

                พิธีฮัจญ์เป็นศาสนกิจข้อที่ 5 ของมุสลิม  เป็นข้อเดียวในหลักปฏิบัติ 5 ประการที่ให้ปฏิบัติเฉพาะบุคคลที่มีคสามสามารถเท่านั้น  บุคคลที่มีความสามารถในการไปประกอบพิธีฮัจญ์หมายถึง  มุสลิมที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ  และเส้นทางที่จะเดินไปจะต้องปลอดภัย  นอกจากนี้จะต้องเป็นผู้ที่ประกอบศาสนกิจข้ออื่นๆเช่น การละหมาด  การถือศีลอด  การบริจาคซะกาตเสียก่อน  การประกอบพธีฮัจญ์ไม่ใช่ไปเพื่อโอ้อวดหรือเพื่อแสดงความมั่งคั่งของตน  แต่เป็นการไปเพื่อทดสอบความศรัทธาและความเข้มแข็งอดทน    ในปีหนึ่งๆมุสลิมจากทั่วโลกจะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์พร้อมกันที่เมืองเมกกะ            ประเทศซาอุดิอารเบีย  ซึ่งเป็นสถานที่เดียวในโลกที่ใช้ประกอบพิธี  พิธีจะทำในเดือนซุ้ล(เดือนที่ 12 ของฮิจเราะห์ศักราช)โดยใช้เวลาประมาณ 1  สัปดาห์

ความมุ่งหมายของการประกอบพิธีฮัจญ์

                1.)เพื่อให้มุสลิมจากทั่วโลกได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์กันอันจะก่อให้เกิดสัมพันธภาพและภราดรภาพ

                2.)เพื่อให้เกิดความเสมอภาคเพราะผู้ที่มาบำเพ็ญฮัจญ์ในปีหนึ่งๆจะมีเชื้อชาติผิวพรรณ ฐานะที่แตกต่างกัน  แต่ทุกคนต่างอยู่ในชุดเอี๊ยะห์รามเหมือนกันหมดและทำพิธีอย่างเดียวกัน  ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์ใดๆ

                3.)เพื่อเป็นการทดสอบมนุษย์ในด้านการเสียสละสิ่งต่างๆในหนทางของพระเจ้าตั้งแต่ทรัพย์สินเงินทองในการใช้จ่าย  การต้องละทิ้งบ้านเรือน  ครอบครัว  และญาติพี่น้อง

                4.)เพื่อฝึกฝนและทดสอบความอดทนทั้งร่างกายและจิตใจ

                5.)ฝึกการสำรวมตน  ละทิ้งอภิสิทธิ์ต่างๆเพราะทุกคนต้องปฏิบัติตามวินัยบัญญัติของพิธีฮัจญ์ เหมือนกันทั้งหมด เช่น งดเว้นการล่าสัตว์  การตัดต้นไม้  การร่วมประเวณี เป็นต้น

                6.)เพื่อให้มุสลิมได้รำลึกถึงประวัติศาสตร์ของอิสลามและเพื่อเป็นการเพิ่มศรัทธาให้มั่นคงยิ่งขึ้น

                7.)เป็นการแสดงถึงเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้าในการที่มุสลิมจากทั่วโลกจำนวนนับแสนเดินทางไป

                  รวมกัน ณ ที่แห่งเดียวกัน  ในชุดแบบเดียวกัน  กระทำพิธีอย่างพร้อมเพรียงกันในทุกๆปี

3. หลักคุณธรรมหรือหลักความดี  เรียกว่าอิห์ซาน  (Ishan)

                หลักคุณธรรมหรือหลักความดี  คือการกำหนดว่าสิ่งใดที่ควรปฏิบัติและสิ่งใดที่ละเว้น  ข้อกำหนดเหล่านี้ปรากฎอยู่แล้วในคัมภีร์อัล-กุรอาน  ซึ่งแบ่งออกเป็นสองตอนคือการกระทำที่อนุญาต  เรียกว่า ฮะลาล (HALAL) และการกระทำที่ต้องห้าม  เรียกว่า ฮะรอม (HARAM)

                3.1 การกระทำที่อนุญาต  หมายถึง  การอนุญาตให้ทำความดี  ซึ่งความดีในศาสนาอิสลาม  หมายถึงสิ่งใดก็ตามที่ระบุไว้ในคัมภีร์อัล-กุรอานว่าดี  สิ่งนั้นต้องดี  ไม่ว่าคนทั้งหลายจะเห็นชอบด้วยหรือไม่ก็ตาม  ตัวอย่างของการกระทำที่จัดเป็นการกระทำที่ดีในศาสนาอิสลาม เช่น

                                * บอกทางให้แก่ผู้หลงทาง

                                * หยิบสิ่งอันตรายออกจากทางเดิน

                                * ไม่เข้าใกล้และดื่มของมึนเมา

                                * ไม่เข้าใกล้สิ่งลามกอนาจาร

                                * ต่อสู้ถ้ามีการกดขี่

                                * พูดความจริงต่อหน้าผู้ปกครอง

                                * จ่ายค่าแรงก่อนเหงื่อจะแห้ง

                                *ไม่เป็นคนหลงชาติหลงตระกูล

                                *ไม่เป็นคนทำบุญเอาหน้าหวังชื่อเสียงต้องการให้ชื่อ

                                  ของตนไปติดอยู่ที่อาคารใดอาคารหนึ่ง

                                * การไม่กินดอกเบี้ยไม่ติดสินบน

                                * การแต่งงานที่ใช้เงินน้อยและมีความวุ่นวายน้อยที่สุด

                                * การยกฐานะคนใช้ให้มีการกินอยู่เหมือนกับตน

                3.2 การกระทำที่ต้องห้าม  หมายถึง  การห้ามกระทำความชั่ว  ซึ่งความชั่วในศาสนาอิสลามหมายถึง  สิ่งใดก็ตามที่ระบุไว้ในคัมภีร์อัล-กุรอาน  ว่าชั่ว  สิ่งนั้นต้องชั่ว  ไม่ว่าคนทั้งหลายจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม  ตัวอย่างของการกระทำชั่วในศาสนาอิสลาม

                               * การตั้งภาคีหรือยึดถือ  นำสิ่งอื่นมาเทียบเคียงอัลเลาะห์

                                  เช่น เงินตรา เกียรติยศวงศ์ ตระกูล  ชื่อเสียงประเพณี

                                 แม้แต่อารมณ์ก็จะนำมาเป็นใหญ่ในตัวเองไม่ได้

                                *  การกราบไหว้บูชารูปปั้น  วัตถุ  ต้นไม้  ก้อนอิฐ 

                                ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์  ดวงดาว แม่น้ำ  ภูเขา  ห้าม

                                กราบไหว้ผีสางเทวดา  นางไม้  ห้ามเซ่นไหว้สิ่งใดๆ

                                ทั้งสิ้น

                            *   การเชื่อในเรื่องดวง  ผูกดวง  ดูหมอ  ตรวจดูชะตาราศี

                                ดูลายมือ  ถือโชคลาง  เล่นเครื่องลางของขลัง

                            *   การเล่นการพนันทุกชนิด  เสี่ยงทาย  เสี่ยงโชค 

                                เล่นม้า  ล็อตเตอรี  หวยเบอร์

                            *   การกินสัตว์ที่ตายเอง  สัตว์ที่มีโรค  กินหมู  กินสัตว์ที่

                               นำไปเซ่นไหว้  สัตว์ที่ถูกรัดคอให้ ตายโดยที่ไม่ได้เชือด

                               ให้เลือดไหล  สัตว์ที่เชือดโดยไม่ได้กล่าวนามอัลเลาะห์

                            *  การกินดอกเบี้ย

                           *  การดื่มสุราและเสพสิ่งมึนเมาทุกชนิด

                           *  การผิดประเวณี  แม้จะเป็นความสมัครใจของทั้งสอง

                              ฝ่ายก็ตาม

                           *  การประกอบอาชีพที่ไม่ชอบด้วยศีลธรรมหรืออาชีพที่

                             จะนำไปสู่ความหายนะ เช่น ตั้งซ่อง บาร์  อาบอบนวด

                             ปล่อยเงินกู้โดยวิธีเก็บดอกเบี้ย  รับซื้อของโจร

                          *  การบริโภคอาหารที่หามาได้โดยมิชอบ

                          *  การกักตุนสินค้าเพื่อนำออกมาขายด้วยราคาสูงเมื่อ

                             เกิดภาวะขาดแคลนอดอยาก

                          *  การกระทำใดๆที่เป็นการสร้างความเดือดร้อนแก่ตนเอง 

                             เพื่อนบ้าน  สังคมและประเทศชาติ

ลักษณะเด่นของศาสนาอิสลาม

 1.  ศาสนาอิสลามเป็นธรรมนูญชีวิตของชาวมุสลิม

       ลักษณะเด่นของศาสนาอิสลามที่แตกต่างไปจากศาสนาอื่นๆคือ  เป็นธรรมนูญชีวิตของชาวมุสลิม  เพราะหลักคำสอนของศาสนาอิสลามมีลักษณะสอดคล้องกลมกลืนกับบัญญัติของกฎหมาย  การกระทำใดที่ผิดต่อหลักคำสอนของศาสนาย่อมเป็นการละเมิดต่อกฎหมายด้วย  ด้วยเหตุนี้หลักคำสอนของศาสนาอิสลามจึงมีอิทธิพลต่อจิตใจของมุสลิมทุกคน  เป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรม  วิถีชีวิตและความรู้สึกนึกคิดในทุกด้านของชาวมุสลิมตั้งแต่เกิดจนวันสุดท้ายของชีวิต

 2.  ศาสนาอิสลามเป็นทางดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์

       เมื่อหลักคำสอนของศาสนาอิสลามมีลักษณะสอดคล้องกับบัญญัติของกฎหมาย  จึงเป็นทางดำเนินชีวิตที่เป็นระเบียบเพียบพร้อมและสมบูรณ์  คำสอนของศาสนาอิสลามคลอบคลุมในทุกด้านของชีวิต  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวส่วนรวม เรื่องของวัตถุหรือจิตใจ  เศรษฐกิจหรือการปกครอง  กฎหมาย  วัฒนธรรมตลอดจนเรื่องของประชาชาติ

 3.  ศาสนาอิสลามมีความสมดุลระหว่างสิทธิของปัจเจกบุคคลและสิทธิส่วนรวม

      ศาสนาอิสลามสร้างความสมดุลในเรื่องสิทธิส่วนตัวของแต่ละบุคคลกับสิทธิส่วนรวมคือ การยอมรับในสถานะส่วนบุคคลของมนุษย์แต่ละคน  และรับประกันสิทธิพื้นฐานของปัจเจกบุคคลโดยไม่ยอมรับการละเมิดใดๆต่อสิทธิพื้นฐานนี้  หลักการของอิสลามไม่เห็นด้วยกับหลักการที่ว่า  มนุษย์ควรจะต้องสูญเสียสิทธิส่วนตัวของตนให้เป็นของรัฐบาลทั้งหมด 

4.  ศาสนาอิสลามไม่ได้แยกวัตถุกับจิตใจออกจากกัน

     ลักษณะเด่นของศาสนาอิสลามอีกประการหนึ่งคือไม่แยกวัตถุกับจิตใจออกจากกันอย่างสิ้นเชิง  ศาสนาอิสลามไม่ได้อยู่เพื่อการปฏิเสธชีวิต  แต่มีอยู่เพื่อทำให้ชีวิตครบสมบูรณ์  ศาสนาอิสลามไม่ได้สอนให้เชื่อในเรื่องบำเพ็ญตบะและละทิ้งเพิกเฉยต่อวัตถุ  แต่สอนว่าคนเราจะมีจิตใจสูงส่งก็ด้วยการมีชีวิตอยู่อย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แม้ในขณะที่ชีวิตประสบกับมรสุม  ไม่ใช่ด้วยการตัดขาดจากโลก

 5. ศาสนาอิสลามไม่สอนให้มนุษย์ติดอยู่กับวัตถุ

     ศาสนาอิสลามไม่มีลักษณะเป็นวัตถุนิยม(METERIALISM) ดังปรากฎในคัมภีร์ว่า”ผู้สะสมสมบัติ และหมั่นนับมันเนืองๆ  เขาคิดว่าสมบัติของเขาจะทำให้เขาอยู่ได้ตลอดไป  หาใช่เช่นนั้นไม่  เขาจะถูกโยนลงไปในไฟที่แตกเป็นพะเนียง

 6. ศาสนาอิสลามส่งเสริมการสมรส

     ศาสนาอิสลามถือว่าการครองเรือนคือการทำให้ศาสนาสมบูรณ์  จึงส่งเสริมการสมรส  เงื่อนไขการสมรสของศาสนาอิสลามต้องเป็นความยินยอมของทั้งสองฝ่าย  ไม่มีการคลุมถุงชน  ศาสนาอิสลามอนุญาตให้ผู้ชายมีภรรยาได้ 4 คนแต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้

          *  ค่าครองชีพ เช่น ค่าอาหาร เครื่องแต่งกาย  ที่อยู่อาศัย  และค่าอื่นๆ

              ต้องจ่ายให้อย่างยุติธรรมที่สุด

          * ไม่สร้างความกระทบกระเทือนใจให้แก่ภรรยาคนใดคนหนึ่ง

          * ไม่แสดงอาการใดๆที่ส่อให้เห็นว่ามีความรักต่อคนใดคนหนึ่งมากกว่า

             คนอื่นๆ

          * ยกฐานะภรรยาทุกคนให้เท่าเทียมกัน

          * ต้องไม่มีคำว่าเมียหลวง  เมียน้อย

          * ต้องค้างคืนกับภรรยาเท่าๆกัน

          * ต้องให้ความรักเท่าๆกัน

 7.  ศาสนาอิสลามไม่สนับสนุนการหย่าร้าง

      การหย่าร้างเป็นบ่อเกิดปัญหาสังคม  เพราะลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่หย่าร้างกันมักกลายเป็นเด็กมีปัญหาเนื่องจากเด็กมักขาดความอบอุ่นในครอบครัว  หากสามีและภรรยาคู่ใดมีความจำเป็นต้องหย่าร้างกันก็สามารถทำได้  แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไข ดังนี้

         * ห้ามหย่าระหว่างตั้งครรภ์

         * ห้ามหย่าระหว่างมีอารมณ์โกรธหรือโมโห

         * ในการหย่าอย่างน้อยต้องมีพยาน 2 คน

         *  ต้องทำการหย่าต่อหน้าเจ้าหน้าที่ทางศาสนา

         *  หญิงที่หย่าร้างหากจะสมรสใหม่จะต้องให้มีรอบเดือนผ่านไปถึง

            สามครั้งเพื่อพิสูจน์ว่า ไม่ได้ตั้งครรภ์และยังเปิดโอกาสให้กลับมา

            คืนดีกันได้

 8. ศาสนาอิสลามห้ามการบริโภคเนื้อสุกร

        มุสลิมบริโภคเนื้อแพะและเนื้อแกะ  ถือว่าเนื้อสุกรสกปรกที่สุดในบรรดาเนื้อทั้งหลาย เพราะศาสนาอิสลามกำเนิดขึ้นในดินแดนอาหรับซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย  จึงเป็นแหล่งที่ขาดแคลนน้ำ  เมื่อน้ำเป็นสิ่งที่หายาก  บรรดาสัตว์เลี้ยงเช่นสุกรและสุนัข(มุสลิมรังเกียจสุนัขด้วยเพราะถือว่าเป็นสัตว์สกปรก)

เป้าหมายของศาสนาอิสลาม

        เป้าหมายของศาสนาอิสลามมี 2 ระดับ

    ระดับที่ 1       เป้าหมายในโลกนี้

                 เป็นเป้าหมายเพื่อให้ตนเองมีความสุขทั้งกายและใจ  หมดความทุกข์ความหวาดกลัวและเพื่อให้สังคมมีความเป็นอยู่ที่สงบส

หมายเลขบันทึก: 365428เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2010 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท