อินเทอร์เน็ต


ส่งงาน อาจารย์ ชูเกียรติ โพธิ์มั่น
บทที่ 8
อินเทอร์เน็ต

แผนบริหารการสอนประจำบท
1. ชื่อบท
            อินเตอร์เน็ต
2. หัวข้อเนื้อหาประจำบท

            2.1 ความหมายของอินเทอร์เน็ต
            2.2 ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต
            2.3 ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
            2.4 การทำงานของอินเทอร์เน็ต
                        2.4.1 ลักษณะการทำงาน
            2.5 การใช้งานอินเทอร์เน็ต
            2.6 ข้อดีและข้อจำกัดของอินเทอร์เน็ต
            2.7 อินเทอร์เน็ตทางการศึกษา
                        2.7.1 การใช้อินเตอร์เน็ตในการเรียนการสอน
            2.8 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
                        2.8.1 ข้อดีและข้อจำกัด
            2.9 อินเทอร์เน็ตในวงการศึกษาไทย
                        2.9.1 การใช้อินเทอร์เน็ตในวงการศึกษาไทย
            2.10 เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย
(Schoolnet t     hailand)
3. วัตถุประสงค์

เมื่อศึกษาบทเรียนนี้จบแล้ว นักศึกษาควรมีความสามารถ ดังต่อไปนี้
            3.1 บอกความหมาย ความสำคัญและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตได้
            3.2 อธิบายลักษณะการทำงาน การใช้งานและข้อดี-ข้อจำกัดของอินเทอร์เน็ตได้
            3.3 ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูลทางการศึกษาและรับ-ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้
            3.4 บอกการใช้อินเทอร์เน็ตในวงการศึกษาไทยได้
            3.5 อธิบายและใช้เครือคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนได้
4. รายละเอียดเนื้อหาประจำบท

            เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การบันทึก การประมวลผล การเสนอผล การสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศกำลังมีบทบาทสำคัญในโลกปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร ที่เป็นการติดต่อสื่อสารโดยผ่านข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันจากซีกโลกไปยังอีกซีกโลกหนึ่งได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ข่ายงานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางทั่วโลกในขณะนี้คือ อินเทอร์เน็ต (Internet) ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเพื่อการสืบค้น ติดต่อสื่อสารและแหล่งบริการหลายหลากหลายประเภทในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศนี้
ความหมายของ อินเทอร์เน็ต

            อินเทอร์เน็ตเป็นระบบการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากที่ครอบคลุมไปทั่วโลกเพื่อให้บริการสื่อสารข้อมูล เช่น การบันทึกเข้าระยะไกล การถ่ายดอนแฟ้ม ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มอภิปราบ เป็นต้น อินเทอร์เน็ตเป็นการเชื่อโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ และได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางเพื่อการเข้าถึงของแต่ละระบบที่มีส่วนร่วมอยู่ในระบบอินเตอร์เน็ต อาจกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ต คือ ข่ายงานของข่ายงาน” ( network to networt ) เนื่องจากข่ายงานที่มีขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงข่ายงานทั้งหมดทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน โดยอินเทอร์เน็ตตั้งอยู่ในไซเบอร์สเปซ ( cyberspace  ) ซงเป็นจักรวาลหรือที่ว่างเสมือน ที่สร้างขึ้นโดยระบบคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าไปใช้เข้าไปอยู่ในไซเบอร์สเปซได้โดยใช้โมเด็มและติดต่อกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ทั่วโลก โดยใช้เกณฑ์ควบคุมการส่งผ่านตามมาตรฐานอินเตอร์เน็ต ( TCP/IP ) ทั้งนี้เพื่อเป็นมาตรฐานในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเตอร์เน็ต
ความสำคัญของอินเตอร์เน็ต

            เทคโนโลยีสารสนเทศกำลังได้รับความนิยมจากผู้คนทั่วโลก เพื่อใช้ในการจัดเก็บ ประมวลผลและสืบค้นสารสนเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือที่มีความสำคัญมากอย่างหนึ่งในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศก็คือ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ทันสมัย เช่น ดาวเทียมและเส้นใยแก้วนำแสง ที่ทำให้ได้สารสนเทศจากทั่วโลกในชั่วพริบตา อินเตอร์เน็ตจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในโลกของเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้อินเตอร์เน้ตจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนเราให้ทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ ทั้งนี้เพราะอินเตอร์เน็ตจะนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา สารสนเทศที่นำเสนอในอินเตอร์เน็ตจะมีอยู่มากมายหลายรูปแบบ เพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ในทุกกลุ่ม ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้สารสนเทศในระบบอินเตอร์เน็ตมีความสำคัญต่อบุคคลในทุกวงการและทุกสาขาอาชีพที่สามารถสืบค้นข้อมูลที่ตนเองสนใจได้ในทันที ไม่ต้องเสียเวลาเดินไปห้องสมุด แม้กระทั่งข่าวสารข้อมูลจากทั่วโลกก็สามารถอ่านได้ในอินเตอร์เน็ตจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกของหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าว ทั้งของไทยและต่างประเทศ เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ CNN หรือของสถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ ของไทย เป็นต้น นอกจากนี้การสื่อสารระหว่างบุคคลก็สามารถรับส่งข่าวสารถึงกันได้ในลักษณะของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องเสียเวลาส่งจดหมายและเสียค่าไปรษณียากร โดยที่ข่าวสารที่ส่งไปนั้นจะถึงผู้รับในทันทีหรือถ้าต้องการสนทนาโต้ตอบกันในทันทีก็ทำได้เช่นกัน โดยการพิมพ์ข้อความหรือโต้ตอบกันไปมาโดยไม่ต้องเสียเวลา
            จากที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็นอย่างมากในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในธุรกิจ  บันเทิงหรือการศึกษา ต่างก็ได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งสิ้น   อินเทอร์เน็ตทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่มีความหมายและใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่ง
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

            อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ปี พ.. 2512 ซึ่งเป็นช่วงสงครามเย็น โดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา มีโครงการที่เชื่อมโยงศูนย์คอมพิวเตอร์ทั่วประเทศเข้าไว้ด้วยกัน
โดยต้องการให้มีข่ายงานที่มั่นคงแข็งแกร่งถึงแม้จะถูกทำลายด้วยระเบิดหรือการรบกวนอื่น ๆ ก็ยังสามารถทำงานได้ ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการจัดตั้งระบบข่ายงานชื่อ อาร์พาเน็ต( ARPANet ) ขึ้นภายใต้การรับผิดชอบของหน่วยงาน โครงการวิจัยก้าวหน้า หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า อาร์พา ” ( Advanced Research Project Agency : ARPA    ) อาร์พาเน็ตใช้รูปแบบการทำงานของโครงข่ายใยแมงมุโดยที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามรถส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องได้หลาย ๆ เส้นทาง ถึงแม้จะมีคอมพิวเตอร์บางเครื่องในข่ายงานถูกทำลายหรือขัดข้องก้ตามแต่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นก้ยังสามรถติดต่อสื่อสารกันได้โดยผ่านเส้นทางอื่นที่ยังใช้งานได้ดี นอกจากนี้อาร์พาเน็ตยังถูกใช้เป็นที่ทดลองสำหรบพัฒนาการของเกณฑ์วิธีควบคุมการส่งผ่านตามมาตรฐานอินเตอร์เน็ต ( Teansmission Contrpl Protocol / lnternet Protocol : TCP/IP  ) ด้วยเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องติดต่อกันได้โดยใช้มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ทำให้อินเตอร์เน็ตใช้ร่วมกันได้เป็นผลสำเร็จ จุดประสงค์ใหญ่ของอาร์พาเน็ต ก็คือการเพิ่มศักยภาพทางการทหารและความสามารถในการควบคุมการสื่อสารด้วยอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงการสื่อสารผ่านดาวเทียมด้วย
            การทดลองในข่ายงานของอาร์พาเน็ตได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงทำให้หน่วยงานอื่นของรัฐบาลรวมถึงสถาบันการศึกษาและหน่วยงานวิจัยต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ต้องการที่จะเชื่อมโยงกับข่ายงานนี้ เนื่องจากเล็งเห็นว่าการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นวิธีทางที่มีประสิทธิภาพยิ่งสำหรับนักวิทยาศาสตร์ในการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกนเพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัยในขณะที่อาร์พาเน็ตกำลังเติบโตอยู่นั้น ก็ได้มีการจัดตั้งข่ายงาบริเวณเฉพาะที่ ( LAN  ) ขึ้นทั่วประเทศ โดยผู้บริหารข่ายงานเหล่านั้นได้เชื่อมโยงข่ายงานของตนเข้ากับข่ายงานต่างๆ เพื่อให้เป้นขายงานที่ใหญ่ขึ้นและได้นำเกณฑ์วิธีการทำงานของอินเตอร์เน็ตที่อาร์พาเน็ตได้คิดค้นขึ้น มาใช้เป็นภาษาเดียวกันในการทำงานเพื่อให้ข่ายงานเหล่านี้สามารถติดต่อซึ่งกันและกันได้
            ในปี พ.. 2523 หน่วยงานอาร์พาซึ่งดูแลอาร์พาเน็ต ได้ปรบปรุงหน่วยงานและปรับชื่อใหม่ว่า หน่วยงานโครงการวิจัยก้าวหน้าด้านการป้องกันหรือ ดาร์พา “ (  Defemse A dvamced Research Project Agency : DARPA  ) ซึ่งในขณะนั้นมีวิทยาลัยเพียง 20 แห่งที่เชื่อมโยงเข้ากับอาร์พาเน็ตแต่ก็ยังมีหน่วยงานและมหาวิทยาลัยอื่นอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องการเชื่อมโยงด้วย แต่ต้องประสบกับอุปสรรคที่สำคัญเนื่องจากดาร์พามีจำนวนจำกัดทางด้านเงินทุน จึงทำให้ไม่สามรถให้การสนบสนุนหน่วยงานอื่นได้นอกจากหน่วยงานที่การวิจัยด้านการทหารกับดาร์พาเท่านั้น จึงเกิดการจัดตั้งข่ายงานเพื่อวิจัยอีกหลายแห่ง เช่น บิตเน็ต ( BITNET )   ยูสเน็ต ( UseNet   )    และฟิโดเน็ต ( FidoNet  )    เป็นต้น ขึ้นมาเพื่อรองรับการขยายตัวของโครงข่าย
ในปลายปี พ.. 2526 อาร์พาเน็ถูกแบ่งเป็น 2 หน่วยงาน คือ อาร์พาเน็ตเดิมที่เป็นข่ายงานด้านค้นคว้าวิจัยและพัฒนา กับ มิลเน็ต”  ( MilNet ) ซึ่งเป็นข่ายงานด้านการทหารที่มีระบบการรักษาความปลอดภัยในระดับสูง ในช่วงปี พ.. 252-252 (ทศวรรษ 1980s ) มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ( เอ็นเอสเอฟ ) ( National Science Foundation : NFS  ) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้จัดตั้งโครงข่ายแกนหลักที่ทำงานได้เร็วกว่าเดิมขึ้นมาใหม่ ประกอบด้วยศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใหม่ 5 แห่ง โดยใช้เกณฑ์วิธีควบคุการส่งผ่านตามมาตรฐานอินเทอร์เน็ต เพื่อเชื่อมต่อมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่าง ๆ ทั่วประเทศโดยใช้ชื่อว่า เอ็นเอสเอฟเน็ต “ ( NSFNet  ) และเมื่อเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้ามาขึ้นอาร์พาเน็ตจึงเป็นข่ายงานที่มีสมรรถนะไม่เพียงพอที่จะเป็นโครงข่ายหลักของอินเทอร์เน็ตอีกต่อไป ดาร์พาจึงเลิกใช้อาร์พาเน็ตในเดือนมีนาคม พ..2533 และใช้เอ็นเอสเอฟเน็ตเป็นโครงข่ายหลักของอินเทอร์เน็ต ความเจริญเติบโตของอินเทอร์เน็ตได้เริ่มขยายตัวออกไปในระดับนานาชาติ โดยการให้ประเภทต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าเชื่อมโยงกับข่ายงานนี้
อินเทอร์เน็ตได้เริ่มได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงประมาณ พ.. 2533-2534 (ต้นศตวรรษ 1990s) เหตุผลหนึ่งก็คือ มีการค้นคว้าเครื่องมือช่วยในการทำงาน เช่น โกเฟอร์และอาร์คี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี พ.. 2534 ที่ห้องปฏิบัติการยุโรปสำหรับฟิสิกส์อนุภาค ( เซิร์น ) ( European Laboratry for Particle Physics : CERN ) ได้นำเวิลด์ไวด์เว็บออกมาใช้ และในปี พ.. 2536 ได้มีผู้คิดค้นโปรแกรมมอเซอิก (Mosaic) ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับค้นดูเว็บในลักษณะของกราฟิก และโปรแกรมอื่น ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต เอ็กซพรอเลอร์ ( Internet Explorer ) และเน็ตสเคป นาวิเกเตอร์ (  Netscape Navigator   ) ขึ้น จึงทำให้อินเทอร์เน็ตมีผู้นิยมใช้เพิ่มากขึ้นอีกหลายล้านคนทั่วโลกในปัจจุบันนี้
การทำงานของอินเทอร์เน็ต

            อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานที่ปรกอบด้วยสายโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สลับสวิตซ์ การทำงานของอินเทอร์เน็ตจะอยู่ในลักษณะของข่ายงานสวิตซ์กลุ่มข้อมูล โดยคอพิวเตอร์เป็นเครื่องส่งจะแบ่งแยกข้อความออกเป็นหน่วยตามขนาดและจำนวนที่เหมาะสม เรียกว่า กลุ่มข้อมูล “ ( packet  ) ซึ่งแต่ละกลุ่มข้อมูลจะบรรจุเลขที่อยู่ของคอมพิวเตอร์ปลายทางไว้ด้วย กลุ่มข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งเข้า ไปในข่ายงานและถูกสกัดก้นโดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า เราเทอรส์ “ ( routers ) ที่จะทำการอ่านเลขที่อยู่ปลายทางของแต่ละกลุ่มข้อูลเพื่อที่จะส่งไปตามทิศทางที่ถูกต้องและเมื่อกลุ่มข้อมูลเหล่านั้นเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางแล้ว คอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องรับก็จะรวบรวมกลุ่มข้อมูลเหล่านั้นเรียงตามลำดับจากนั้นจะส่งข้อความที่ได้รับนั้นไปยังโปรแกรมที่เหมาะสม ข่ายงานแบบสวิตซ์กลุ่มข้อมูลเป็นข่ายงานที่มีความเชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพสูง อินเทอร์เน็ตเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบเชิงตัวเลข  ส่วนของข้อมูลอาจเดินทางผ่านคอมพิวเตอร์และสายโทรศัพท์ที่เป็นของผู้ใดผู้หนึ่งหรือที่เป้นของบริษัทต่างๆ มากมายหลายร้อยบริษัทก็ได้ จึงกล่าวได้ว่า  ไมี่ผู้ใดเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต “   
            พื้นฐานที่ทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตสามารถทำงานได้ ซึ่งเป็นเหตุผลทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถติดต่อถึงกันได้ คือการทำให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นรู้จักภาษาเดียวกัน ตามปกติแล้วในคอมพิวเตอร์อาจใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับโครงสร้างระบบของเครื่อง แต่ภายนอกแล้วคอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถแปลสิ่งที่เรียกว่า เกณฑ์วิธีการควบคุมการส่งผ่านตามมาตรฐานอินเทอร์เน็ต “               (Transmission Control Protocol / Internet Protocol : TCP/IP  ) ได้เหมือน ๆ กัน มาตรฐานการสื่อสารเดียวกันนี้จะช่วยให้คอพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อถึงกันในอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้โดยปฏิบัติตามวิธีหรือข้อตกลงที่กำหนดวิธีการสื่อสารถึงกันได้
            ลักษณะการทำงาน

            การทำงานในอินเทอร์เน็ตแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ
            1. แบบประสานเวลา ( synchronous ) เป็นการทำงานที่ผู้ใช้สามารถติดต่อถึงกันได้ในเวลาพร้อม ๆ กัน โดยที่ผู้ใช้แต่ละฝ่ายจะนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ เช่น การสนทนาในข่ายงาน (  Intermet Relay Chat  ) เป็นต้น
            2. แบบไม่ประสานงาน (asyhronous ) เป็นการส่งข้อมูลที่ผู้ใช้ไจำเป็นต้องน่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์พร้อมกัน แต่สามารถส่งข้อมูลไปเก็บไว้ในเครื่องก่อนได้ เพื่อที่ผู้รับจะเรียกดูข้อมูลนั้นได้ภายหลัง เช่นบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มข่าว การถ่ายโอนแฟ้มหรือการค้นดูเว็บเพจต่าง ๆ เป็นต้น
การใช้งานอินเทอร์เน็ต
            เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในกาทำงานได้มากมายหลากหลายประเภทดังนี้
            1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Maill : E - Maill ) หรือที่เรียกสั้นๆ อีเมล์ เป็นการรับส่งข้อความผ่านข่ายงานคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถส่งข้อความจากข่ายงานที่ตนใช้อยู่ไปยังผู้รับอื่น ๆ  ในข่ายงานเดียวกันหรือข้ามข่ายงานอื่นในอินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลกในทันที นอกจากข้อความที่เป็นตัวอักษรแล้ว ยังสามารถส่งแฟ้มภาพและเสียงร่วมไปได้ เพื่อให้ผู้รับได้อ่านทั้งตัวอักษร ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งเสียงพูดหรือเสียงเพลงประกอบด้วย
            2. การถ่ายโอนแฟ้ม ( File Transfer Protocol : FTP  ) เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลประเภทต่าง ๆ เช่น แฟ้มข่าว แฟ้มภาพ แฟ้มเสียงจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบรรจุ ( download) ไว้ในคอมพิวเตอร์ของเรา หรือจะเป็นภาพบรรจุขึ้น (upload ) ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของเราส่งไปที่เตรื่องบริการแฟ้มเพื่อให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้เช่นกัน
            3. การเข้าใช้จากระบบระยะไกล โปรแกรมที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตเพื่อการขอเข้าใช้ระบบจากระยะไกลโปรแกรมหนึ่งที่รู้จักกนดี คือ เทลเน็ต ( Telnet ) การใช้เทลเน็ตจเป็นการให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปใช้ทรัพยากรหรือขอใช้บริการจากคอมพิวเตอร์อื่น และให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทำหน้าที่ประมวลผลโดยผู้ใช้ป้อนคำส่งผ่านคอมพิวเตอร์ของตน จากนั้นจึงส่งผลลัพธ์กลับมาแสดงบนจอภาพ นอกจานี้ เราเดินทางไปต่างจังหวัดหรือต่างประเทศก็ยังสามารถใช้เทลเน็ตติดต่อายังคอมพิวเตอร์ที่เราเป็นสมาชิกอยู่เพื่อตรวจดูว่ามีอีเมลส่งาถึงเราหรือไม่ หรือถ้าต้องการส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ก็สามารถส่งไปได้เช่นกัน
            4. การค้นการแฟ้ม เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นระบบขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมกว้างขวางทั่วโลก โดยมีแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ มากมายหลายล้านแฟ้มบรรจุอยู่ในระบบ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นใช้งานได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีระบบหรือโปรแกรมเพื่อช่วยในการค้นหารแฟ้อย่างสะดวกรวดเร็ว โปรแกรมที่นิยมใช้กันโปรแกรมหนึ่ง ได้แก่ อาร์คี ( Archie)  ที่ช่วยในการค้นหาที่เราทราบชื่อแต่ไทราบว่าแฟ้มนั้นอยู่ในเครื่องบริการใดในอินเทอร์เน็ต โปรแกรมนี้จะสร้างบัตรรายการแฟ้มไว้ในฐานข้อมูลที่ต้องการนั้นลงไป อาร์คีจะตรวจค้นฐานข้อมูลและแสดงชื่อแฟ้มพร้อมรายชื่อเครื่องบริการที่เก็บแฟ้มนั้นให้ทราบ เมื่อทราบชื่อเครื่องบริการแล้วเราก็สามารถใช้เอฟพีทีเพื่อถ่ายโอนแฟ้ข้อมูลมาบรรจุลงในคอมพิวเตอร์ของเราได้
            5. การค้นหาข้อมูลด้วยระบบเมนู เป็นการใช้ในระบบยูนิกซ์ โดยใช้โปรแกรมโกเฟอร์ ( Gopher ) เพื่อค้นหาข้อมูลและขอใช้บริการด้วยระบบข้อมูล โกเฟอร์เป็นโปแกรมที่มีรายการเลือกเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ในการค้นหาแฟ้มข้อมูล ความหมาย และทรัพยากรอื่นๆ เกี่ยวกับหัวข้อที่ระบุไว้ การใช้โกเฟอร์จะไม่เหมือนกับการถ่ายโอนแฟ้ม ( FTP ) แลอาร์คี ( Archie ) เนื่องจากผุ้ใช้โกเฟอร์ไม่จำเป็นต้องทราบและใช้รายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่กับอินเทอร์เน็ต สารบบหรือชื่อแฟ้มข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น เราเพียงแต่เลือกอ่านรายการแล้วเลือกโดยกดแป้น Enter  เท่านั้น เมื่อพบสิ่งที่น่าสนใจ ในการใช้นี้เราจะเห็นรายการเลือกต่าง ๆ พร้อมด้วยสิ่งที่ให้เลือกใช้ากขึ้นจนกระทั่งเลือกสิ่งที่ต้องการที่มีข้อมูลแสดงขึ้นมา และสามารถอ่านข้อมูลหรือเก็บบันทึกข้อมูลนั้นไว้ในคอมพิวเตอร์ของเราได้
            6. กลุ่มอภิปรายหรือกลุ่มข่าว ( Newsgroup ) เป็นการรวมกลุ่มของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันเพื่อส่งข่าวหรืออภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห้นในเรื่องที่สนใจนั้นเช่นเรื่อ ของดาวอังคาร เพลงของเอลวิส เป็นต้น ผู้ร่วมอยูในกลุ่มอภิปรายจะส่งข้อความไปยังกลุ่มและผู้อ่านภายในกลุ่มจะมีการอภิปรายส่งข้อความกลับมายังผู้ส่งโดยตรงหรือส่งเข้าไปในกลุ่มเพื่อให้ผู้อ่านด้วยได้ การอยู่ร่วมในกลุ่มอภิปรายจะมีประโยชน์ากเนื่องจากสามรถได้ข้อมูลในเรื่องนั้นๆ จากบุคคลต่างๆ ที่หลากหลายความคิกเห็น สามารถนำไปใช้ในการค้นคว้า วิจัย หรือเพื่อความสนุกเพลิดเพลินก็ได้ กลุ่มอภิปรายนี้จะอยู่ในกระดานข่าว ( bulletin board   ) หรือยูสเน็ต ( UseNet ) ก็ได้
            7. บริการสารสนเทศบริเวณกว้าง ( Wide Area Information Server : WAIS ) เนื่องจากอินเทอร์เน็ตมีฐานข้อมูลกระจะดกระจายอยู่หลายแห่งทั่วโลก ทำให้ไม่สะดวกในการค้นหาแยกมาตรฐานข้อมูล จึงต้องมีการใช้เวสเพื่อเชื่อมโยงศูนย์ข้อมูลที่อยู่ในข่ายงานอินเทอร์เน็ตเข้าด้วยกั เมื่อมีการใช้เวสในการค้นหาข้อมูลจะทำให้ผู้ใช้เห็นเสมือนว่าฐานข้อมูลเพียงฐานเดียว จึงทำให้สะดวกในการค้นหา
            8. การสนทนาในข่ายงาน ( Internet Relay Chat : IRC  ) เป็นการที่ผู้ใช้ฝ่ายหนึ่งสนทนากับผู้ใช้อื่นฝ่ายหนึ่งโดยมีการโต้ตอบกันทันทีด้วยการพิมพ์ข้อความหรือใช้เสียง โดยอาจสนทนาเป็นกลุ่มหรือระหว่างบุคคลเพียง 2 คนได้ การสนทนาในรูปแบบนี้นิยมใช้มาก เนื่องจากสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นพูดคุยกันทันทีในเวลาจริงจึงทำให้ไม่ต้องรอคำตอบเหมือนกับการส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
            9. สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Publisher ) หนังสือพิมพ์ วารสารและนิตยสาร เช่น ( TIME, ELLE ) จะมีการบรรจุเนื้อหาและภาพที่ลงพิมพ์ในสิ่งพิมพ์เหล่านั้นลงในเว็บไซด์ของตน เพื่อให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้อ่านเรื่องราวต่าง ๆ เช่นเดียวกับการการอ่านสิ่งพิมพ์เป็นเล่มโดยบรรจุลงอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วย สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้เรียกสั้น ๆ ว่า “ e-magazine”    และ “ e-journal”เป็นต้น
            10. สมุดรายชื่อ เป็นการตรวจหาชื่อและที่อยู่ของผู้ที่เราต้องการจะติดต่อด้วยในอินเทอร์เน็ตโปรแกรมในการค้นหาที่นิยมใช้กัน ได้แก่ Finger  และ  Whois การใช้  Finger จะช่วยในการค้นหาชื่อบัญชีผู้ใช้หรือชื่อจริง รวมถึงข้อมูลเบื้องต้นหรือสถานะของผู้นั้นและยังใช้ในการตรวจสอบว่าผู้นั้นกำลังใช้งานอยู่ในระบบหรือไม่ ส่วน Whois เป็นสมุดรายชื่อผู้ใช้ที่ใช้ในการหาที่ตั้งของเลขที่อยู่ในไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และหายเลขโทรศัพท์ รวมถึงสารสนเทศอื่นๆ ของบุคคลผู้นั้นด้วย
            11. เวิลด์ไวด์เว็บ ( World Wide Web : WWW  ) หรือที่เรียกสั้น ๆ กันว่า เว็บ เป็นการสืบค้นสารสนเทศที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตในระบบข้อความหลายมิติ ( hypetext ) โดยการคลิกที่จุดเชื่อมโยง เพื่อนำเสนอหน้าเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สารสนเทศที่เสนอจะมีรูปแบบทั้งในลักษณะของตัวอักษรภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง นอกจากเวิลด์ไวด์เว็บยังรวมการใช้งานอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเอาไว้ด้วย เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การถ่ายโอนแฟ้ม กลุ่มอภิปราย การค้นหาแฟ้ม เป็นต้น การเข้าสู้ระบบเวิลด์ไวด์เว็บ จะต้องใช้โปรแกรมการทำงาน โปรแกรมที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ได้แก่ เน็ตสเคป นาวิเตอร์  (Netscape Navigator  )อินเทอร์เน็ต เอ็กซพรอเลอร์ ( Internet Explorer )  และมอเซอิก (Mosaic) โปรแกรมเหล่านี้จะช่วยให้การใช้เวิด์ไวด์เว็บในอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างสะดวกสบายและใช้ในการค้นหาข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบในลักษณะของสื่อหลายมิติ
ข้อดีแลข้อจำกัดของอินเทอร์เน็ต
            อินเทอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยีใหม่ในการสื่อสารสานสนเทศที่มีทั้งข้อดีซึ่งเป็นประโยชน์และข้อจำกัดบางประการ ดังนี้
            ข้อดี

            1. ค้นคว้าข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น งานวิจัย บทความในหนังสือพิมพ์ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ได้จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก เช่น ห้องสมุด สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการเดินทาง และยังสามารถสืบค้นได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
            2. ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากการรายงานข่าวของสำนักข่าวที่มีเว็บไซต์อยู่ รวมถึงการพยากรณ์อากาศของเมืองต่างๆ ทั่วโลกได้ล่วงหน้าด้วย
            3.  รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียค่าไปรษณียากรถึงแม้จะเป็นการส่งข้อความไปต่างประเทศก็ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มเหมือนการส่งจดหมาย การส่งไปรษณ์อิเล็กทรกนิกส์นี้นอกจากจะส่งข้อความที่เป็นตัวอักษรแบบจดหมายธรรมดาแล้ว ยังสามารถส่งแฟ้มภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียงได้พร้อมกันได้ด้วย
            4. สนทนากับผู้อื่นที่อยู่ห่างไกลได้ทั้งในลักษณะการพิมพ์ข้อความและเสียงร่วมกลุ่มอภิปรายหรือกลุ่ข่าวเพื่อแสดงความคิดเห็นหรือพูดคุยถกปัญหากับผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นการขยายวิสัยทัศน์ในเรื่องที่สนใจ
            5. อ่านบทความเรื่องราวที่ลงในนิตยสารหรือวารสารต่าง ๆ ได้ฟรี โดยมีทั้งข้อความและภาพประกอบด้วย
            6.  ถ่ายโอนแฟ้มข้อความ ภาพ และเสียงจากที่อื่นๆ รวมถึงการถ่ายโอนโปรแกรมต่างๆ ได้จากเว็บไซต์ที่ยอมให้ผู้ใช้บรรจุโปรแกรมได้โดยไม่คิดมูลค่า
            7.  ตรวจดูราคาสินค้าและสั่งซื้อสินค้าได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปห้างสรรพสินค้าแข่งขันเกมกับผู้อื่นได้ทั่วโลก
8.      ติดประกาศข้อความที่ต้องการให้ผู้อื่นทราบได้อย่างทั่วถึง
9.      ให้เสรีภาพในการสื่อสารในทุกรูปแบบแก่บุคคลทุกคน

ข้อจำกัด
1. อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ทุกคนจึงสามารถสร้างเว็บไซต์หรือติดประกาศข้อความได้ทุกเรื่อง บางครั้งข้อความนั้นจะเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้รับการรับรอง เช่น ข้อมูลด้านการแพทย์หรือผลการทดลองต่างๆ จึงเป็นวิจารณญาญของผู้อ่านที่จะต้องไตร่ตรองข้อความที่อ่านนั้นด้วยว่าควรจะเชื่อถือได้หรือไม่
2. อินเทอร์เน็ตมีโปรแกรมและเครื่องมือในการทำงานมากายหลายอย่าง เช่น การใช้เทลเน็ตเพื่อติดต่อระยะไกลหรือการใช้โกเฟอร์เพื่อสืบค้นข้อมูล ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องศึกษาการใช้งานเสียก่อนจึงสามารถใช้งานไดเอย่างีประสิทธิภาพ
3. นักเรียนและเยาวชนอาจติดต่อเข้าไปในเว็บไซด์ที่ไม่เป็นประโยชน์หรืออาจยั่วยุอารมณ์ทำให้เป็นอันตรายต่อตัวเองและสังคมได้
อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา

            เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาได้หลายรูปแบบ ได้แก่
            1. การค้นคว้า เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานที่รวมข่ายงานต่าง ๆ ากายเข้าไว้ด้วยกันจึงสามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั่วโลกได้ เพื่อค้นคว้าวิจัยในเรื่องสนใจทุกสาขาวิชาเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนและการวิจัย การสืบค้นแหล่งข้อมูลนี้สามารถทำได้ โดยใช้โปรแกรมในการช่วยค้นหา เช่น อาร์คี โกเฟอร์ และโปรแกรมในเวิลด์ไวด์เว็บ เช่น ไลคอส (  Lycos  ) และเว็บครอเลอร์(  Web Crawler ) เป็นต้น เพื่อค้นหาข้อมูลที่อยู่ในแม่ข่ายทั่วโลกที่ต้องการได้ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อเข้าสู่แม่ข่ายของห้องสมุดต่าง ๆ เพื่อค้นหารายชื่อและขอยืมหนังสือที่ต้องการได้เช่นกัน
            2. การเรียนและติดต่อสื่อสาร ผู้สอนแลผู้เรียนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนและติดต่อสื่อสารกนได้โดยที่ผู้สอนจเสนอเนื้อหาบทเรียนโดยใช้ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ผู้เรียนเปิดอ่านเรื่องราวและภาพประกอบที่เสนอในแต่ละบทเรียน หรือการเสนอบทเรียนในลักษณะของการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAI) ไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้การเชื่อมโยงการเรียนรู้ในลักษณะสื่อหลายมิติได้ เมื่ออ่านบทเรียนแล้วผู้เรียนจะถามคำถามที่ตนยังข้องใจและทำงานตามที่กำหนดไว้แล้วส่งกลับไปยังผู้สอนได้ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้กลุ่มผู้เรี
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3651เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2005 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท