แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง หนังสือและการระวังรักษาหนังสือ


หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง หนังสือและการระวังรักษาหนังสือ

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  8

หน่วยการเรียนรู้ที่  8  เรื่อง  หนังสือและการระวังรักษา           

วิชาการใช้ห้องสมุด  ท40216                         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5                   เวลา  2  ชั่วโมง

ครูผู้สอน  นางจุฑามาศ  ปานคีรี   โรงเรียนกบินทร์วิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่ปราจีนบุรีเขต  2

วันที่สอน 11 กรกฎาคม    2551                                           คาบเรียนที่  1-2   เวลา  8.40-10.40  น

 

1.  ความเข้าใจที่คงทน

                หนังสือ  ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.  2546  ได้ให้ความหมายไว้ว่า  หนังสือ  หมายถึง  เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียง  หรือคำพูด,  ลายลักษณ์อักษร, จดหมายที่มีไปมา,  เอกสาร,  บทประพันธ์,  ข้อความที่พิมพ์หรือเขียน  เป็นต้น 

 

2.  มาตรฐานเนื้อหา

                2.1  ความหมายของหนังสือ                   

                2.2  ประเภทของหนังสือ                    

                2.3  ส่วนประกอบของหนังสือ               

                2.4  ความสำคัญของหนังสือ               

                2.5  ลักษณะของหนังสือ          

                2.6  การเย็บหนังสือแบบต่าง ๆ          

                2.7  การอนุรักษ์หนังสือ           

                2.8  การระวังรักษาหนังสือ

                2.9  ลักษณะและสาเหตุที่ทำให้หนังสือชำรุด

                2.10  การปฏิบัติต่อหนังสือ

                2.11  วิธีเปิดหนังสือใหม่  

 

3.  มาตรฐานการปฏิบัติได้

                3.1  อธิบายความหมายของหนังสือได้

                3.2  จำแนกประเภทของหนังสือได้ถูกต้อง                  

                3.3  บอกส่วนประกอบของหนังสือได้ครบถ้วนถูกต้อง

                3.4  บอกความสำคัญของหนังสือได้           

                3.5  บอกลักษณะของหนังสือแบบต่าง ๆ ได้

                3.6  มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์หนังสือ

                3.7   สาธิตวิธีการเย็บหนังสือแบบต่างๆ  ได้ถูกต้องตามขั้นตอน

                3.8  บอกวิธีการอนุรักษ์หนังสือได้ถูกต้องครบถ้วน

3.9  บอกลักษณะและสาเหตุที่ทำให้หนังสือชำรุดได้

3.10  บอกวิธีการปฏิบัติต่อหนังสือได้อย่างถูกต้อง

3.11  สาธิตวิธีการเปิดหนังสือใหม่ได้อย่างถูกต้อง

 

4.  ทักษะข้ามวิชา

                1.  กระบวนการกลุ่ม

                2.  ทักษะการคิดวิเคราะห์

                3.  ทักษะการนำเสนอผลงาน

 

5.  คุณลักษณะที่พึงประสงค์

                5.1  ทำงานอย่างเป็นระบบ

                5.2  มีระเบียบวินัย

                5.3  มีความรับผิดชอบ

                5.4  ความสนใจใฝ่รู้

                5.5  ความมีเหตุผล

5.6  มีความเป็นประชาธิปไตย

 

6.  คำถามสำคัญ

                6.1  นักเรียนบอกได้หรือไม่ว่าหนังสือมีความหมายว่าอย่างไร                                                                                                      

                6.2  นักเรียนทราบหรือไม่ว่าหนังสือมีกี่ประเภทอะไรบ้าง          

                6.3  จากการที่นักเรียนสัมผัสกับหนังสือทุกวันนักเรียนสามารถบอกได้หรือไม่ว่าหนังสือมีส่วนประกอบอะไรบ้าง           

                6.4  หนังสือมีความสำคัญต่อนักเรียนอย่างไรบ้างจงอธิบาย          

                6.5  นักเรียนทราบหรือไม่ว่าหนังสือมีลักษณะสำคัญอย่างไร       

                6.6  วิธีการเย็บหนังสือแบบต่างๆ นั้นมีกี่วิธีและในแต่ละวิธีมีการเย็บอย่างไร   

                6.7  นักเรียนมีวิธีการอนุรักษ์หนังสืออย่างไรบ้าง                    

                6.8  วิธีการระวังรักษาหนังสือให้คงทนและมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้นนั้นทำอย่างไร

                6.9  อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้หนังสือชำรุดเสียหาย

                6.10  นักเรียนมีวิธีการปฏิบัติต่อหนังสือของห้องสมุดอย่างไรบ้าง

                6.11  วิธีการเปิดหนังสือใหม่ที่ถูกต้องนั้นทำอย่างไรบ้าง  จงอธิบายให้ถูกต้องตามขั้นตอน        

               

7.  กิจกรรมการเรียนรู้

คาบเรียนที่  1

                1.  ขั้นกระตุ้นสมอง

                     -  ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนจากเอกสารประกอบการเรียนวิชาการใช้ห้องสมุด  ท40216  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                   หน่วยการเรียนรู้ที่  8 เรื่อง  หนังสือและการระวังรักษา  เพื่อเป็นการทดสอบความรู้นักเรียนก่อนเรียน ใช้เวลา   15  นาที

                     -  นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน         

                2.  ขั้นท่องสู่ประสบการณ์

                     -  ครูสนทนากับนักเรียนถึงห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ  ที่ไม่ใช่ห้องสมุด  

                     -  ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม  ๆ ละเท่า ๆ กัน  และส่งตัวแทนกลุ่มออกมา          จับสลากรับหัวข้อในการศึกษาตามหัวข้อที่กำหนด   และรับใบความรู้ในการแบ่งกลุ่มให้นักเรียน          แต่ละกลุ่มนำไปศึกษา  พร้อมหัวข้อในการศึกษาของแต่ละกลุ่มดังนี้

                กลุ่มที่  1  หัวข้อที่ได้รับ

                                  -  ความหมายของหนังสือ                   

                                  -  ประเภทของหนังสือ     

                                  -  วิธีเปิดหนังสือใหม่              

                กลุ่มที่  2  หัวข้อที่ได้รับ            

                                  -  ส่วนประกอบของหนังสือ               

                กลุ่มที่  3  หัวข้อที่ได้รับ 

                                  -  ความสำคัญของหนังสือ                              

                                 -   ลักษณะของหนังสือ  

                                   -  การเย็บหนังสือแบบต่าง ๆ                   

                กลุ่มที่  4  หัวข้อที่ได้รับ 

                                  -  การอนุรักษ์หนังสือ           

                                  -  การระวังรักษาหนังสือ

 

                กลุ่มที่  5  หัวข้อที่ได้รับ

                                  -  ลักษณะและสาเหตุที่ทำให้หนังสือชำรุด

                                  -  การปฏิบัติต่อหนังสือ

 

                3.  ขั้นสร้างฐานความรู้

                     -  ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันวางแผนและเตรียมการนำเสนอหน้าชั้นเรียน  โดยเขียนสรุปรายละเอียดในแต่ละหัวข้อเป็นแบบสรุปของแต่ละกลุ่มตามความคิดของกลุ่มว่าจะเขียนเป็นแผนผังความคิด  วาดภาพ  หรือสรุปเป็นหัวข้อสั้น ๆ แต่ได้ใจความ  ให้สามารถนำเสนอผลการศึกษาที่เข้าใจง่ายลงในกระดาษรายงาน  เพื่อนำเสนอในคาบเรียนต่อไป

                     -  ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันวางแผนในการจัดป้ายนิเทศตามหัวข้อเรื่องที่กลุ่มได้รับ  เพื่อนำไปจัดแสดงไว้ที่ป้ายนิเทศหน้าชั้นเรียน

                     -  ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนร่วมกันในการที่จะอภิปรายว่าได้รับความรู้อะไรบ้าง          ในการช่วยกันศึกษาหาความรู้ตามกลุ่มที่ได้รับ  วางแผนในการเสนอผลงานร่วมกัน

                4.  ขั้นสรุป

                     -  ครูร่วมกันกับนักเรียนสรุปถึงการวางแผนในการที่จะนำเสนอผลงานกลุ่มในคาบเรียนต่อไป

                     -  ครูแนะนำให้นักเรียนแต่ละคนนำสมุดประจำวิชามาในคาบเรียนต่อไปทุกคน            เพื่อจดบันทึกการรายงานกลุ่มตน  และกลุ่มเพื่อนลงในสมุดของตนเอง

                5.  ขั้นปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

                     -  ให้นักเรียนทุกคนไปศึกษาเรื่องห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในหัวข้อที่แต่ละกลุ่ม ได้รับมาล่วงหน้าจากหนังสือในห้องสมุดหรือค้นคว้าจากแหล่งความรู้ Internet

                     -  ให้นักเรียนทุกคนเขียนสรุปความรู้ลงในสมุดรายวิชาตามความเข้าใจของตนเอง

คาบเรียนที่ 2

                1.  ขั้นกระตุ้นสมอง

                     -  ครูพูดคุยซักถามนักเรียนถึงการไปศึกษาค้นคว้าข้อมูลของแต่ละกลุ่ม 

                     -  นักเรียนตอบคำถามของครูตามที่นักเรียนได้ไปศึกษาค้นคว้ามา

 

 

                2.  ขั้นท่องสู่ประสบการณ์

                     -  ครูให้หัวหน้ากลุ่มแต่ละกลุ่ม  ออกมาจับสลากลำดับการออกมารายงานหน้าชั้นเรียนตามที่ได้วางแผนไว้แล้วในคาบเรียนที่ผ่านมา

                     -  นักเรียนกลุ่มที่ 1  ออกมารายงานหน้าชั้นเรียนตามหัวข้อที่กลุ่มได้รับโดยการส่งตัวแทนกลุ่มที่เพื่อนๆ ให้รับผิดชอบเรื่องการรายงานออกมารายงาน

                     -   ให้แต่ละกลุ่มรักษาเวลาในการรายงานกลุ่มละ  5  นาที

                     -   เมื่อจบการรายงานแต่ละกลุ่มก็ให้กลุ่มต่อไปที่จับสลากได้ออกมารายงานต่อ  จนครบ           5   กลุ่มตามลำดับที่กลุ่มจับสลากได้

                3.  ขั้นสร้างฐานความรู้

                     -  ให้นักเรียนแต่ละคนสรุปความรู้ที่แต่ละกลุ่มออกมารายงานลงในสมุดของตนตาม         ความเข้าใจของแต่ละคน

                     -  ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันนำป้ายนิเทศไปจัดแสดงไว้ที่หน้าชั้นเรียนหลังจากรายงานกลุ่มเรียบร้อยแล้ว         

            

                4.  ขั้นสรุป

                     -  นักเรียนแต่ละกลุ่มเปิดโอกาสให้เพื่อนๆ  ได้ซักถาม

                     -  นักเรียนในกลุ่มช่วยกันตอบคำถาม  และครูช่วยสรุปในตอนท้ายอีกครั้งเพื่อให้นักเรียนเข้าใจ

                     -  นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนจากเอกสารประกอบการเรียนวิชาการใช้ห้องสมุด            ท40216  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  หน่วย              การเรียนรู้ที่  8  เรื่อง  หนังสือและการระวังรักษา   ใช้เวลา  15  นาที   

 

                5.  ขั้นปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

                     -  ให้นักเรียนทุกคนกลับไปอ่านศึกษาทบทวนเพิ่มเติม  เพื่อนำไปทำแบบฝึกหัดทบทวนหลังจากเรียนจบเรื่องนี้แล้ว

                     -  ให้นักเรียนตรวจสอบความถูกต้องในการทำแบบทดสอบในภาคผนวก  เพื่อดูความก้าวหน้าของตนเอง

 

 

 

8.  สื่อการจัดการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

                1.  หนังสือ  ตำราวิชาการต่าง ๆ  ในห้องสมุดโรงเรียนกบินทร์วิทยา

                2.  เอกสารประกอบการเรียนวิชาการใช้ห้องสมุด  ท40216  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  หน่วยการเรียนรู้ที่  8  เรื่อง  หนังสือและการระวังรักษา 

 

แหล่งเรียนรู้

                1.  ห้องคอมพิวเตอร์ 1, 2

                2.  ห้อง  TOT 

                3.  ห้องสมุดโรงเรียนกบินทร์วิทยา

 

9.  หลักฐานและวิธีการประเมิน

หลักฐาน

วิธีการประเมิน

1.  แบบประเมินการทำงานกลุ่ม

แบบสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม

2.  แบบประเมินพฤติกรรมการเรียน

แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน

3.  แบบฝึกหัดทบทวน

ตรวจแบบฝึกหัด 

4.  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์  แบบทดสอบก่อนเรียน  และแบบทดสอบหลังเรียน

ตรวจแบบทดสอบ

 

10.  เกณฑ์การประเมิน

       10.1  ความสามารถในการทำงานกลุ่ม

ระดับคุณภาพ

คะแนน

การวางแผนการทำงาน  ร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่ม  การแสดงความคิดเห็น  ผลงานถูกต้องตามขั้นตอน  งานเสร็จตรงตามเวลา  การนำเสนอผลงานชัดเจนและน่าสนใจ  กระบวนการคิดของกลุ่ม

5

มีระดับคุณภาพโดยรวม  1-6  ข้อ

4

มีระดับคุณภาพโดยรวม  1-5  ข้อ

3

มีระดับคุณภาพโดยรวม  1-4  ข้อ

2

มีระดับคุณภาพโดยรวม  1-3  ข้อ

1

 

         10.2  ความสามารถในการเรียน

ระดับคุณภาพ

คะแนน

ตั้งใจเรียน  แสดงความคิดเห็น  สนใจใฝ่เรียนรู้  รักการทำงาน 

ความสามารถในการนำเสนอผลงาน  ความรับผิดชอบ  ตรงต่อเวลา  มีน้ำใจ 

รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

4

มีระดับคุณภาพโดยรวม  1-7  ข้อ

3

มีระดับคุณภาพโดยรวม  1-5  ข้อ

2

มีระดับคุณภาพโดยรวม  1-3  ข้อ

1

 

         10.3  ความสามารถในการทำแบบทดสอบ

ระดับคุณภาพ

คะแนน

ทำแบบทดสอบได้ถูกต้อง  ร้อยละ 80  ขึ้นไป

4

ทำแบบทดสอบได้ถูกต้อง  ร้อยละ 70-79   

3

ทำแบบทดสอบได้ถูกต้อง  ร้อยละ 60-69   

2

ทำแบบทดสอบได้ถูกต้อง  ร้อยละ 50-59  

1

ทำแบบทดสอบได้น้อยกว่าร้อยละ  50  

0

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 365006เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2010 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากให้มีภาพด้วยนะจะได้หาง่ายๆ

ขอบคุณมากค่ะคุณครู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท