โบราณวัตถุพบใหม่... กับตำนานเมืองล่มแห่ง "บึงทุ่งกะโล่" : ตอนที่ ๑


บันทึกเอาไว้ ก่อนจะสูญหายไปกับกาลเวลา....

บึงกะโล่ หรือบึงทุ่งกะโล่ หรือ ทุ่งกะโล่ เป็นแหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ สถานที่แห่งนี้ มีอาณาบริเวณกวา้งขวางกว่า ๗,๕๐๐ ไร่ หากจะเปรียบเทียบ ก็เปรียบได้กับเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ทั้งเมืองเลยทีเดียว

 

หากเรามองจากแผนที่

ตัวเมืองอุตรดิตถ์ ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำน่าน

ส่วน บึงทุ่งกะโล่ ที่ตั้งอยูในเขต บ้านคุ้งตะเภา-ป่าเซ่า นั้น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำน่าน

เกือบจะตรงข้ามกันทีเดียว!

ในเมื่อ ตัวเมืองอุตรดิตถ์ เมืองใหม่ฝั่งตะวันตก  เป็นศูนย์กลางของการปกครอง ความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็น "วิถีชนเมือง"

บึงทุ่งกะโล่ หรือแถบ ทุ่งบ้านคุ้งตะเภา หมู่บ้านโบราณฝั่งตะวันออก จึงเป็นเสมือนศูนย์กลางของ "วิถีชนบท" ที่เรียบง่าย และยังยึดมั่นอยู่กับวิถีความเชื่อแบบชาวบ้านและพระศาสนา

 

เป็นวิถีที่ตรงข้าม โดยมีสายใยชีวิตเป็นตัวแบ่งเขตแห่งความเจริญทางวัตถุ นั่นคือ

"แม่น้ำน่าน"

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/8/88/Nan_river_in_Uttaradit.jpg/640px-Nan_river_in_Uttaradit.jpg

 

การพัฒนาเมืองอุตรดิตถ์ในช่วง ๕๐-๖๐ ปี ที่ผ่านมา เน้นการเจริญเติบโตของชุมชนเมืองฝั่งทิศตะวันตก โดยมีหน่วยงานราชการและศูนย์กลางสถานศึกษาเป็นจุดเร้าสำคัญ

 

ปล่อยให้ฝั่งตะวันออก อยู่ในรูปแบบวิถีเรียบง่าย อย่างไทย ๆ ที่คงมีเรื่องราวเล่าของ เสือ กวาง ช้าง ป่าโบราณ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เคยมีเมื่อ ๖๐ กว่าปีก่อน ก่อนจะหายไปหมดในช่วงหลังความเจริญเริ่มคลืบคลานเข้ามา

เป็นตำนานผูกผันคนพื้นถิ่นที่แยกไม่ออกกับวิถีที่พึ่งพิงธรรมชาติ

 

แถบบ้านในตำบลคุ้งตะเภา หมู่บ้านโบราณที่มีประวัติอันยาวนานกว่า ๒๕๐ ปี นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ปู่ย่ามักมีเรื่องราวเล่าขานเกี่ยวกับตำนานทุ่งกะโล่มากมาย เช่น ตำนานเจ้าพ่อ ตำนานป่าไผ่หลวง แต่ทั้งหมดได้สูญไปจากวิถีชีวิตหมดแล้ว จากการถางที่ทำไร่นาในช่วงหลัง

 

เหลืออยู่เพียงตำนานเมืองล่มทุ่งกะโล่ เพียงเรื่องเดียว ที่ยังคงถูกเล่าอยู่ และยังไม่ได้ถูกทำลายหรือพิสูจน์ทราบ 

เป็นมนต์ขลังที่ยังคงไม่เสื่อมคลายไปจากวิถีสำนึกของคนแถบคนลุ่มน้ำน่านฝั่งตะวันออก

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/a/aa/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%B5%28%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B9%88%292.JPG/640px-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%B5%28%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B9%88%292.JPG

"ทุ่งกะโล่ หรือ บึงกะโล่ อันกว้างใหญ่ไพศาล ในอดีตกาลนั้น เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณอันรุ่งเรือง แต่แล้วเมื่อใดไม่ปรากฎ เมืองแห่งนี้ก็ได้ล่มจมหายสาบสูญไปจากพื้นพิภพ กลายเป็นหนองปลักอ้อกอไม้น้ำ ปรากฎนามขานในปัจจุบันว่า บึงทุ่งกะโล่สืบมา"

 

นอกจากตำนานแล้ว ยังมีคำปากคำเล่า สืบความที่ประสบมาว่า

อันทุ่งกะโล่นั้น มีอาถรรพ์ลี้ลับซ่อนอยู่ จะด้วยฤทธิ์เจ้าพ่อกะโล่ หรือฤทธิ์เมืองร้างโบราณอันลึกลับ ผู้กระทำหยามเหยียดรบกวนอาณาเขตอันศักดิ์สิทธิ์นี้ จะมีอันเป็นไป

 

ชาวบ้านไร่น่าแถบนั้น มักเล่ากันว่า กลางทุ่งกะโล่ มีอัศจรรย์แปลก ๆ ขึ้นบ่อยครั้ง เวลากลางดึกวันพระวันโกน มักมีแสงไฟประหนึ่งพลุ สว่างพุ่งออกมาจากหนองกออ้อกลางบึง

 

ด้วยตำนานเล่าขานและเรื่องราวอัศจรรย์แปลก ๆ ที่คนรุ่นนี้ได้พบกับตน

บึงทุ่งกะโล่ จึงเป็นสถานที่อาถรรพ์แห่งหนึ่งที่มีเสน่ห์แห่งความ "ลึกลับ" อันน่าสนใจยิ่ง

 

-------------------------------------------

จนเมื่อปลายเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ตำนานลึกลับก็ได้ถูกเปิดเผยขึ้น!

 

 

 

 

 


- โบราณวัตถุพบใหม่... กับตำนานเมืองล่มแห่ง "บึงทุ่งกะโล่" : ตอนที่ ๑

- โบราณวัตถุพบใหม่... กับตำนานเมืองล่มแห่ง "บึงทุ่งกะโล่" : ตอนที่ ๒

- โบราณวัตถุพบใหม่... กับตำนานเมืองล่มแห่ง "บึงทุ่งกะโล่" : ตอนที่ ๓

 


 

 

Webstats4U - Free web site statistics

หมายเลขบันทึก: 364972เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2010 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอความร่วมมือร่วมใจจากคนอุตรดิตถ์ครับ จะมีการปรับปรุงผังเมืองรวมเมืองอุตรดิตถ์ โดยคาดว่าจะมีการขยายเขตวางผังให้ครอบคลุมบริเวณทุ่งกะโล่ด้วย ก็เลยอยากได้หลากหลายความเห็นจากคนอุตรดิตถ์ ช่วยเสนอแนะหน่อยครับ ที่อปท.ที่เกี่ยวข้อง หรือกลุ่มงานวิชาการผังเมือง สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ ชั้น3 ศาลากลางจังหวัดครับ

และวันที่ 8 กันยายน 2554 เวลา 13.00 น.จะมีการเสวนาเรื่องเมืองอุตรดิตถ์ในอนาคตควรเป็นอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท