ใครล่ะจะดูแลบุคลากรทางการแพทย์


IC โรคใหม่ๆ

มีการรวมตัวของกลุ่ม IC ทำเรื่องไข้หวัดหรือโรคติดเชื้อต่างๆสำหรับคนป่วย สำหรับผมแล้วกลุ่ม IC work มากครับ แต่ยังขาดเรื่องคนทำงานไป ผมเลยแทรกตัวไปแสดงความเห็นในกลุ่มของเขาเห็นว่าที่เขียนไว้พอมีประโยชน์เลยนำมาให้อ่านกันเล่นๆครับ

 เรื่องที่สำคัญของ IC มีสองส่วนคือการติดเชื้อในโรงพยาบาลของผู้ป่วย และการติดเชื้อในโรงพยาบาลของบุคลากร ผมมีปัญหามากเนื่องจาก

1. IC work มาก มีมาตรฐาน HA รองรับเลยกลายเป็นกลุ่มถูกกฏหมาย และมีการสนับสนุนมาก แต่ IC จะเน้นด้านผู้ป่วยมาก ซึ่งเห็นด้วย แต่ concept ปัจจุบัน ถ้าคนทำงานโรงพยาบาลไม่แข็งแรงไม่มีความมั่นใจหรือไม่มีสถานะทางสังคมที่ดี ก็ไม่มีทางพัฒนา
งานให้ดีกว่านี้ได้ครับ ดังนั้นเรื่องนี้จะต้องหันกลับมาดูแลคนทำงานด้วย
2. การใช้ standard precaution ดีแล้วครับ แต่เวลามีโรคติดเชื้อใหม่ๆมา มีความตื่นตัวมาก สิ่งที่พูดถึงบ่อยมากคือความปลอดภัยของผู้ป่วย แต่ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ของตนเองดูเป็นการผิดกฏหมายที่จะพูดถึง ผมว่าไม่ควรเป็นแบบนี้แล้วครับ ควรมี web เฉพาะเลยด้วยซ้ำของบุคลกรทางการแพทย์ ใน web ของกระทรวงสาธารณ (ไม่ใช่มีแต่ข่าวรัฐมนตรีอย่างเดียว) ผู้ป่วย ประชาชนตื่นตระหนกกับโรคใหม่ๆ บุคลากรทางการแพทย์ก็ตื่นตระหนกครับ
3. จากเหตุการทางการเมืองที่ผ่านมาในช่วงชุมนุมวันแรกๆ ที่มีการเคลื่อนพลของคนเสื้อแดงมาราบ 11 มีคนบอกว่าสารเคมี่หายไปจากจังหวัดสมุทรปราการจำนวนมาก มีการเตรียมตัวในหมู่ EMS ทั้งราชวิถี และโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี มีการสอบถามข้อมูลหลายส่วน ถามไปที่ทหาร ศูนย์พิษรามาฯ และถามมาที่ผม ปรากฏว่าคำตอบที่ได้ไม่เป็นที่พอใจของผู้เผชิญเหตุ เนื่องจากว่ามีความแตกต่างกัน เนื่องจากเป็นเหตุสารเคมี ที่นพรัตนมีชุดระดับ ซี 50 ชุด มีชุดระดับ บี หนึ่งชุด และมีหน้ากาก N95 จำนวนมาก และมีหน้ากาก full face และ half face และยังมี SCBA ด้วย (แต่ถ่านหมด) ปรากฏว่ามีนพรัตน supply ให้ที่เดียวครับ จึงมีบทเรียนสองอย่าง หนึ่งคือ ไม่มีศูนย์ข้อมูลที่น่าเชื่อถือในเหตุการณ์หน้าสิ่วหน้าขวาน (ที่ไม่เชื่อถือเพราะพูดไม่เหมือนกัน) สอง เครื่องป้องกัน PPE เรามีไม่พอ ผมจึงสรุปว่าถ้าพูดถึงโรคอุบัติใหม่ ถึงเวลาต้องสำรวจ PPE และอาจต้อง list รายชื่อ และจำนวนที่ควรมีในโรงพยาบาลระดับต่างๆ ในแผน
4. เมื่อมีโรคแปลกๆ เข้ามาเจ้าหน้าที่ตื่นตัวจนเป็นความตระหนก เช่น โรคไข้กาฬหลังแอ่นเข้ามาทีไร ก็มีความตื่นกลัว แม้แต่แพทย์ จนถึงเจ้าหน้าที่เวชระเบียนต้องขอยาป้องกันกิน ล่าสุดมีโรคพิษสุนัขบ้าเข้ามา จึงมีความคิดว่าเรื่องเหล่านี้เป็นมาตรฐาน ควรมีการกำหนด ตั้งแต่วัคซีน การตอบสนองต่อเหตุการณ์แบบนี้ใน บุคลากรทางการแพทย์
5. ผมกำลังจัดทำคู่มือต่างๆ โดยอ้างอิงจาก CDC MMWR โดยคิดว่าจะทำคู่มือสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งให้ความรู้ เช่นเป็นโรคนี้ต้องหยุดงานกี่วัน จึงมาทำงานได้ วัคซีนจะฉีดอะไรดีเป็นต้น
อย่างไรก็ตามชอบที่มีความร่วมมือหลายหน่วยงาน แต่ไม่ชอบตรงที่คนที่ทำเรื่องนี้โดยตรงไม่รู้เรื่องเลย ถ้าสามารถ recruit เข้าไปร่วมด้วยก็จะขอบคุณมากครับ
หมายเลขบันทึก: 364444เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2010 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนคุณหมออดุลย์

แวะมาเป็นกำลังใจให้คนทำงานค่ะ

เห็นด้วยกับอาจารย์อย่างยิ่ง...เป็นกำลังใจครับ

สวัสดีครับ

สิ่งคุกคามสุขภาพต่อผู้ป่วย อย่างหนี่งคือ   Nasocomilal Infection

เช่น หัด หัดเยอรมัน ซึ่งติดต่อทาง droplet ไม่ใช่ air bourne อย่างโรคซาร์

แผล SSI (Surgical site infection) จาก clean wound จะติดเชื้อน้อยลงอีกได้อย่างไร

เช่น กล่อง Dispenser ใส่น้ำยาฆ่าเชื้อ กลับเป็นว่าเป็นแหล่งสะสมเชื้อซะเอง ??

คลอรีนในน้ำประปามีน้อย ?? ไม่พอฆ่าเชื้อในน้ำที่แพทย์ ใช้ล้างมือ (ก่อนสวมถุงมือ)

ทำ Spore test เพื่อยืนยันคุณภาพของ Autoclave เครื่องนึ่งอบไอน้ำความดันสูง 

ผู้ป่วยที่ On Ventilator จะปอดบวมน้อยลงได้อย่างไร VAP

จากท่อ urine catheter จะติดเชื้อ UTI น้อยลงได้อย่างไร

 

ต่อมาก็ มุ่งที่สิ่งแวดล้อม ENV  เช่น การจัดการ ขยะติดเชื้อ คือ ISO 14001,

ต่อมาก็มุ่งที่ความปลอดภัยของบุคลากรในสถานพยาบาล ISO 18001

แต่เมื่อตั้งชื่อว่า IC หรือ ICN คือ infection Control สิ่งคุกคามสุขภาพ จีงเป็น Infection

 

ที่จริงแล้ว อื่นๆ นอกจาก Infection (ฺ​Bio) คือ Physicical, 

Chemical, Ergonomic

แสงน้อยไป เกิดอุบิติเหตุง่าย แสงจ้า เกินไป ก็เป็นสิ่งคุกคามสุขภาพ (Health Hazard)

หรือมีสารเคมีอันตราย ก็เป็นสิ่งคุกคามสุขภาพ

ในสื่งแวดล้อมของการทำงานมีสารเคมี เช่น xyline, formaldehyde,

หรือ CO, CO2, ไนตรัส, ไอตะกั่ว, ไอปรอท, หรือเสียงดังจากเครืองกรอฟัน

เครื่องตัดเฝือก, เครื่องปั่นไฟที่อยู่บริเวณ บันไดหน้าลิฟต์, เครื่อง Suction, Vaccumm

ตรงนี้นักวิชาการที่เรียนมาด้าน สุขศาสตรอุตสาหกรรม (Industrial Hygine) 

น่าจะช่วยวัด Health Hazard ในสิ่งแวดล้อมได้

 

ทีนี้สิ่งคุกคามในสิ่งแวดล้อมการทำงาน เข้ามาถึงตัวคนทำงานแล้วหรือยัง

ตรงนี้ก็คือ Periodic exam และ ตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง

คนทำงานที่มีฝุ่น หายใจเอาฝ่นหินฝุ่นทราย ควรได้ส่งตรวจ X-ray

คนที่มีสารเคมีควรได้ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด

เช่น ตรวจ Morphology ของเม็ดเลือดแดง โดยกล้องจุลทรรศน์ โดยผู้เชี่ยวชาญ

ไม่ใช่ตรวจจากเครื่อง Automate complete blood count

คนทำงานสัมผัสเสียงดังก็ควรได้ ตรวจการได้ยิน Audiogram

ผุ่นฝ้าย หอบหืด ควรตรวจปอด Pulmonary Function test

ตรงที่จะซักประวัติ ตรวจร่างกายที่ตัวบุคคล

จึงเป็นหน้าที่ของ พยาบาลอาชีวอนามัย แพทย์อาชีวเวชศาสตร์

 

ในด้านค่าใช้จ่าย จึงมีค่าใช้จ่ายมากไปกว่า

นอกเหนือไปจากที่กระทรวงการคลัง ได้กำหนดไว้ 

สำหรับตรวจสุขภาพประจำปี แบบทั่วไป ๆ  ปีละ 1 ครั้ง

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท