ออฟไลน์ offline, ออนไลน์ online, เวิลด์ ไวด์ เว็บ มัลติมีเดียบนอินเตอร์เน็ต, พัฒนาการและชื่อเรียกเกี่ยวกับการใช้สื่อประสมในการศึกษา


ออฟไลน์ offline, ออนไลน์ online, เวิลด์ ไวด์ เว็บ มัลติมีเดียบนอินเตอร์เน็ต, พัฒนาการและชื่อเรียกเกี่ยวกับการใช้สื่อประสมในการศึกษา
ออฟไลน์  offline

            สื่อมัลติมีเดียได้พัฒนาขึ้นก่อนในแบบ ออฟไลน์(offline) คือแบบไม่ใช้สายหรือไม่มีการติดต่อกันทางสาย ซึ่งหมายถึง การนำแผ่นดิสก์หรือแผ่นซีดีรอมที่บันทึกข้อมูล มาเล่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งโดดๆเพียงลำดับเครื่องเดียว (เรียกกันว่าแบบแสตนด์อะโลน(stand alone) แผ่นซีดีรอมใช้อยู่ที่คอมพิวเตอร์เครื่องใด ภาพและเสียงก็จะแสดงผลอยู่ที่เฉพาะเครื่องนั้น

 

ออนไลน์  online 

%e0%b9%81%e0%b8%84%e0%b8%99+4

            ต่อมาเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องถูกนำมาเชื่อมโยง โดยใช้สายนำสัญญาณและใช้ซอฟแวร์จัดการให้ข้อมูลในเครื่องหนึ่งไปแสดงผลบนเครื่องอื่นได้ สื่อมัลติมีเดียก็ได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ และถูกนำไปใช้ในประโยชน์ใน ระบบเครือข่ายเล็กๆ (LAN) นั่นคือเริ่มใช้เป็นสื่อแบบออนไลน์ (online) อาศัยสายสัญญาณที่เชื่อมโยงติดต่อกันนั้นนำข้อมูลมัลติมีเดียจาก เครื่องแม่ข่าย (server) กระจายไปแสดงผลที่ทุกเครื่องที่เป็น ลูกข่าย (clients) ใน เครือข่าย (network)

%e0%b9%81%e0%b8%84%e0%b8%995

หน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้สำหรับสื่อมัลติมีเดียในระยะแรกนี้ยังคงเป็นซีดีรอม อย่างไรก็ดีเมื่อต้องพัฒนาสื่อมัลติมีเดียสำหรับการจัดการศึกษาขนาดใหญ่ใช้ระบบเครือข่ายเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จำนวนมากรับส่งข้อมูลติดต่อถึงกันจำนวนมหาศาล อีกทั้งข้อมูลนั้นต้องมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขปรับปรุงเกือบตลอดเวลาแล้ว แนวคิดเรื่องการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียโดยใช้ซีดีรอมเป็นหน่วยบันทึกข้อมูลก็เปลี่ยนไป  หน่วยบันทึกข้อมูลที่เรียกว่า ฮาร์ดดิสค์ (hard disk) เริ่มมีราคาถูกลง และสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าเดิมมากได้กลับมาเป็นหน่วยข้อมูลที่ใช้เป็นหลักในเวลาต่อมา

%e0%b9%81%e0%b8%84%e0%b8%997                     %e0%b9%81%e0%b8%84%e0%b8%999

 

เวิลด์ ไวด์ เว็บ มัลติมีเดียบนอินเตอร์เน็ต

%e0%b9%81%e0%b8%84%e0%b8%992 
            เมื่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต (Internet) ซึ่งเป็นระบบการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ทั่วโลกได้พัฒนาขึ้นจนมีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นแล้ว สื่อมัลติมีเดียจึงได้พัฒนาขึ้นบนอินเตอร์เน็ต            ผู้พัฒนาสื่อจะผลิตหรือประกอบข้อมูลต่างๆ ได้แก่ ข้อมูลภาพ เสียง และข้อความตัวอักษรต่างๆขึ้น แล้วบันทึกเป็นข้อมูลดิจิตอลไว้ที่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ศูนย์กลางผลิตสื่อต่างๆ ข้อมูลเหล่านี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม ผู้ใช้จะต้องเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองแล้วเชื่อมติดต่อเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ตทางสายโทรศัพท์ จากนั้นก็สามารถรับหรือส่งข้อมูล ตัวอักษร ข้อความ ภาพและเสียงกับคอมพิวเตอร์แม่ข่ายได้ ภาพและเสียงจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายจะปรากฏที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ โดยใช้สายโทรศัพท์เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูล            ระบบ เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www) เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อช่วยให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องแม่ข่ายและเครื่องของผู้ใช้ง่ายขึ้นและช่วยให้การแสดงผลที่เกิดบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เป็นแบบมัลติมีเดีย            การใช้สื่อมัลติมีเดียแบบออนไลน์ (online) หรือ เว็บบนระบบอินเตอร์เน็ตนี้ทำให้เป็นที่มาของขุมความรู้มหาศาล มีผู้พัฒนาสื่อนับหมื่นนับแสนคนอยู่ตามศูนย์ต่างๆ หรือแม้แต่อยู่ที่บ้านของเขาเอง ดำเนินการผลิตและป้อนข้อมูลเข้าไปยังคอมพิวเตอร์แม่ข่ายในระบบอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงติดต่อเข้าไปในระบบได้ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้            การปรากฏขึ้นของอินเตอร์เน็ตเท่ากับเป็นการปฏิวัติเทคโนโลยีขั้นสำคัญ อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายนานาชาติ เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกถูกเชื่อมโยงบนเครือข่ายนี้ อินเตอร์เน็ตจึงได้เชื่อมโยงข้อมูล ความรู้ ข่าวสาร ของรัฐบาล หน่วยงาน รัฐกิจ มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา และศูนย์อุตสาหกรรมของโลกเข้าไว้ด้วยกัน ประมาณว่าในปี ค.ศ.1997 มีผู้ใช้ อินเตอร์เน็ตใน 130 ประเทศทั่งโลก เป็นจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ 11 ล้านเครื่อง คิดเป็นประชากรผู้ใช้ประมาณ 50 ล้านคน มีข้อมูลข่าวสารแล้ว 2 ล้านเว็บไซต์ (websites)

            ตั้งแต่ ค.ศ.1997 เป็นต้นมา หลังจากที่คอมพิวเตอร์และระบบการติดต่อเชื่อมโยงระหว่างกันบนเครือข่ายโทรศัพท์ได้มีการพัฒนาจนมีประสิทธิภาพดีแล้ว ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้สำหรับการศึกษา และสิ่งบันเทิงหลากหลาย ก็ถูกถ่ายทอดเป็นสื่อมัลติมีเดียเตรียมไว้ในรูปแบบของข้อมูลดิจิตอลบนคอมพิวเตอร์แม่ข่ายต่างๆ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้โมเด็มติดต่อผ่านสายโทรศัพท์ไปยังคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากสื่อมัลติมีเดียเหล่านี้เพิ่มเติมจากการใช้ซีดีรอมที่เพิ่งมีมาก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่ปี

 พัฒนาการและชื่อเรียกเกี่ยวกับการใช้สื่อประสมในการศึกษา

            สื่อประสม หรือ มัลติมีเดีย ในศตวรรษที่ 21 นี้ ไม่ได้จำกัดแต่เพียงเรื่องของภาพและเสียงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานแต่ลำพัง แต่ยังหมายถึงระบบอินเตอร์เน็ตซึ่งพัฒนาขึ้นจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ประสานเข้ากับเทคโนโลยีโทรคมนาคม เกิดเป็นระบบที่มีลักษณะเฉพาะและมีศักยภาพสูงระดับหนึ่ง

%e0%b9%81%e0%b8%84%e0%b8%9910

            การนำคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียมาใช้ในการศึกษาจริงๆ นั้นเริ่มต้นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งหมายถึงการนำมาใช้ในการช่วยสอนของครู จึงเรียกการใช้มัลติมีเดียเพื่อการศึกษาว่า สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI ซึ่งย่อมาจาก Computer Assisted Instruction ในบางประเทศใช้ CAL ซึ่งย่อมาจาก Computer Assisted learning หรือ CML ซึ่งย่อมาจาก Computer Managed Learning ทั้งหมดนี้ก็มีความหมายคล้ายกันก็คือ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนการสอน            คอมพิวเตอร์ยังได้ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยในการฝึกอบรมบุคลากรในการเรียนรู้วิธีการทำงาน การใช้เครื่องมือ เครื่องจักร หรืออื่นๆ และกำหนดใช้คำว่า CBT ซึ่งมาจากคำว่า Computre Based Training หมายถึง สื่อคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการฝึกอบรมในหลายประเทศใช้คำว่า CBL ซึ่งมาจากคำว่า Computer based Learning คือการเรียนรู้โดยอาศัยเรียนจากโปรแกรมที่ออกแบบไว้บนจอคอมพิวเตอร์นั่นเอง            การนำเอาสื่อหลากหลาย คือ เสียง ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ ดนตรี มาใช้ร่วมกันและควบคุมการแสดงผลด้วยซอฟแวร์โปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นเริ่มทำได้และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ในกลางทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ผู้ใช้จะได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินขณะเรียนรู้หรือศึกษาเรื่องต่างๆ จากการใช้สื่อมัลติมีเดียเหล่านี้ จึงเกิดเป็นคำศัพท์ใหม่คือ คำว่า edutainment และ infotainment คำว่า edutainment มาจากคำว่า education (การศึกษา) รวมกับคำว่า entertainment (การบันเทิง) ส่วนคำว่า infotainment มาจากคำว่า Information (ข่าวสาร) รวมกับ entertainment (การบันเทิง) นั่นเอง            แผ่นซีดีรอมที่โด่งดังในชุดแรกๆ ในตลาดซีดีรอมเพื่อการศึกษา ได้แก่ แผ่นซีดีรอมของบริษัท Broderbund บริษัท The Learning Company บริษัท Davison and Associates และ บริษัท Microsoft เป็นต้น นับแต่นั้นมามีผู้ผลิตซีดีรอมมัลติมีเดียออกจำหน่ายมากกว่า 20,000 เรื่อง (ในค.ศ.1998) ในจำนวนนี้เป็นซอฟแวร์โปรแกรมทางด้านการศึกษาและประเภทใช้อ้างอิงค้นคว้ามากว่าครึ่งหนึ่ง            ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมจนเกิดพัฒนาเป็นระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นนับเป็นการนำมัลติมีเดียมาใช้เพื่อการศึกษาในแนวคิดใหม่ การเรียนรู้แบบเดิมที่ องค์ความรู้ถูกบรรจุไว้เบ็ดเสร็จตายตัวบนซีดีรอมเปลี่ยนไปสู่การสนับสนุนการเรียนรู้และแสวงหาข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่างๆหลากหลาย            อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดแหล่งข้อมูลมัลติมีเดียทางการศึกษาขนาดใหญ่ เราสามารถเรียนรู้ ระหว่างกันเอง เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ หรือจากห้องสมุด จากพิพิธภัณฑสถาน และ องค์กรต่างๆ ทั่วโลกในระบบอินเตอร์เน็ต

            อินเตอร์เน็ต เป็นความก้าวหน้าก้าวสำคัญของพัฒนาการการใช้คอมพิวเตอร์และมัลติมีเดีย มีผู้เรียกระบบนี้ว่า ทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway) เพราะผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถค้นหาและรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั่วโลกโดยผ่านระบบนี้ได้อย่างรวดเร็ว การติดต่อสื่อสารแบบสองทางที่รวดเร็วนี้นำมาวึ่งระบบปฏิสัมพันธ์ที่ระบบ การศึกษาทางไกล (tele-education) จะสามารถพัฒนาไปสู่รูปแบบการเรียนการสอนที่สามารถตอบโต้กันได้สมบูรณ์อีกด้วย

        ที่มา :  พรพิไล เลิศวิชา. มัลติมีเดียกับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพ: 2544 
หมายเลขบันทึก: 36308เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2006 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีมากหาภาพที่เหมาะสมมาประกอบให้มากกว่านี้  ไปเยี่ยมเพื่อนและแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท