พัฒนาคนให้สำเร็จได้อย่างไร


ขอบพระคุณ ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ที่บรรยายปัจจัยแห่งความสำเร็จและบทบาทของบุคลากรต่อความสำเร็จขององค์กร ในโอกาสสัมมนาคุณภาพคณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล ณ กาญจนบุรี

ผมประทับใจและเรียนรู้ตัวอย่างพร้อมกลยุทธ์ในการพัฒนาคนให้ทำงานในองค์กรด้วยความสำเร็จทั้งตัวคนและองค์กรจากท่านรองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาคุณภาพ ม.มหิดล จึงอยากแบ่งปันความรู้ในหลายๆประเด็นสำคัญดังนี้

  • วิสัยทัศน์ควรเขียนเป็นข้อความที่สั้นและสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนเห็นทิศทางของความสำเร็จ นั่นคือทุกคนในองค์กรต้องใช้ชีวิตจิตใจและแสดงบทบาทอยู่กับวิสัยทัศน์ขององค์กรซึ่งถูกกำหนดทิศทางร่วมกันจากทุกคนในองค์กร
  • ทุกคนทำงานด้วยความเครียดเชิงบวกจนกลายเป็นความสุขที่ไม่หลอกตนเอง ไม่ท้อแท้ และรู้สึกยากท้าทายแต่อยากทำ
  • มาตราฐานสากลหรือ World Class มีหลายมิติ แต่ในฐานะผู้ให้บริการทางการแพทย์นั้นควรมุ่งที่ผู้รับบริการควรได้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมกันทุกคนตลอดทุกช่วงวัย แล้วก่อให้เกิดความสุขของผู้ให้บริการ
  • Japanese Proverb: Vision without Action is a daydream, Action without Vision is a nightmare
  • Chinese Proverb: รู้เขา รู้เรา รู้ฟ้า รู้ดิน รบ 100 ครั้ง ชนะ 100 ครั้ง
  • เราต้องวางแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว (3-5 ปี) เน้นความแตกต่างของเราในทางที่ดีและเด่น (มีทางเลือกและตัดสินใจ) ทำให้ลูกค้ามองเราแตกต่างจากคนอื่นและเห็นคุณค่า...ควรพิจารณาผลกระทบภายนอกองค์กร เขาทำได้เท่าไร เราต้องชนะเขาได้อย่างไร
  • ตัวอย่างของความแตกต่าง เช่น สะพานพระราม 8 ที่ไม่สมมาตร ไม่เน้นยาวที่สุด, ไกด์ท่องเที่ยวเข้าใจวิหาร St. Paul ที่มีรูปร่างโดม ไม่เหมือนตึกสูงอื่นๆ เมื่อมองแสงจากตัววิหารเทียบกับตึกอื่นๆ ในตอนกลางคืนจากแม่น้ำ Tame, Mayo Clinic (USA) รักษาด้วย Mayo's style โรคใดที่วินิจฉัยไม่ได้ Mayo วินิจฉัยได้ เป็นต้น
  • Mckinsey's 7S Framework ได้แก่ การออกแบบกระบวนการสร้างกลยุทธ์ในองค์กร ประกอบด้วย strategy, structure, system, staff, skill, style, shared value
  • ความเป็นผู้นำนั้นควรฝึกฝนในทุกคนขององค์กร ซึ่งผู้นำที่ดีควรมีการโน้มน้าวให้เพื่อนร่วมงานมี Inspirational Competency กำหนด Vision ที่จูงใจและวางแผนสู่ Vision นั้น, ช่วยให้เพื่อนร่วมงานเชื่อมโยง Vision ของตนเองกับ Vision ขององค์กร, กระตุ้นให้ทีมงานคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ผ่านสิ่งยึดมั่นของคนทำงาน (เช่น ช่าง Toyato ทานข้าวกล่องตอนกลางวันร่วมกันพร้อมเล่าสิ่งที่คิดค้นใหม่ๆเพื่อมาทดลองนำมาใช้ในการทำงานจนประสบผลสำเร็จ โดยคัดกรองความเสี่ยงจากหัวหน้างาน) และสร้างทีมงาน/มอบหมานอำนาจด้วยความไว้ใจเพื่อนร่วมงาน นั่นคือมี Functional & Managerial Competency
  • Mahidol Core Competencies ประกอบด้วย Integrity, Achievement Motivation, Responsibility, Teamwork, Systematic Job, Planning ซึ่งตรงกับ Chula โดยไม่ได้นัดหมาย
  • ถ้าผู้นำบอกว่าทีมงานว่า "ดีแล้ว" นั้นไม่พอ ต้องกระตุ้น ให้คุณค่า ให้กำลังใจ มีอารมณ์ขัน และส่งเสริมให้กล้าเสี่ยงแก่ทีมงาน...The enemy of the best is good
  • 3P ในการเขียนโครงสร้างขององค์กร ได้แก่ Purpose (Profit/Non-profit, Competitive/Non-competitive), Principles (Conservation/Strategic/Flat/Hirachical/Network) และ Participation (Outsource/Owner)
  • Infrastructure ที่สำคัญคือ Corporate, Culture, ICT...วิทยากรยกตัวอย่างเปรียบเทียบองค์กร/ประเทศที่เน้นคุณภาพแก่ผู้รับบริการเป็นสำคัญและผู้นำเสียสละเพื่อคนทำงานในองค์กร สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีวินัย หนักเอาเบาสู้ อดในสิ่งที่อยากได้และทนในสิ่งที่ไม่อยากได้ พัฒนาคนทำงานให้มีจริยธรรมและสร้างนวัตกรรม เช่น ปตท SCG Japan Vietnam
  • มหาวิทยาลัยมหิดล (กว่า 40 ปีที่ได้รับพระราชทานราชสกุลแห่งราชวงค์ที่มีความเสียสละและมีแต่ให้ปวงชน)ควรพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ที่สร้างสันติสุขและคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดีขึ้น เพื่อเป็นตัวอย่างของการตั้งปณิธานและมุ่งมั่นให้นักศึกษาคือปัญญาของแผ่นดิน
  • ทุกคนในองค์กรควรเริ่งพัฒนาความดีในตังตนจากแรงผลักดันภายในที่ยั้งยืนกว่ากฎข้อบังคับจากภายนอกตัวเรา ควรสร้างคุณค่าและวัฒนธรรมทุกครั้งที่คิด พูด ทำ ในองค์กร
  • Core Value/Culture ที่เป็นนามธํรรม เราควรทบทวนและทำความเข้าใจให้เห็นภาพของการกระทำของตนเอง เช่น MU Cultures ทำให้เรากล้า เก่ง ดี และมีความสุข จนเกิดจิตวิญญาณแห่งการเรียนรู้เพื่อปวงชน ซึ่งประกอบด้วย
  • Mastery - เป็นนายแห่งตน (ต้องฝึกฝน ไม่ปล่อยให้ความโลภ ความโกรธ ความหลงมาเป็นนายเรา), Altruism - มุ่งผลเพื่อผู้อื่น, Harmony - กลมกลืนกับสรรพสิ่ง, Integrity - มั่นคงยิ่งในคุณธรรม, Determination - แน่วแน่ทำกล้าตัดสินใจ, Originality - สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และ Leadership - ใฝ่ใจเป็นผู้นำ (ทุกคนในองค์กร)
  • ตัวอย่างของรูปธรรมของการเป็นนายแห่งตน ได้แก่ self-directed - มีสตินำไปสู่ปัญญาและฝึกทักษะอย่างมีสติ (เช่น คนขายทุเรียนสัมผัสรู้ มองรู้ และพูดรู้ว่าลูกไหนสุกและอร่อย), Personal learning - รักการเรียนรู้, Agility - กระฉับกระเฉง สนใจวิทยาการและการเปลี่ยนแปลง, System Perspective - คิด พูด ทำ อย่างเป็นระบบ
  • ตัวอย่างของการมุ่งผลเพื่อผู้อื่น ได้แก่ Organization First - เสียสละเวลาและความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม, Customer Focus Driven - สนใจและเข้าใจความต้องการผู้รับบริการ, Societal Responsibility - ตระหนักลงมือ ดูแล และรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม (เช่น มหาตมะคานธี พยายามทำสิ่งที่ยากไปร่ำเรียนในต่างประเทศและกลับมาเสียสละให้ชาวอินเดียพ้นจากอาณานิคมของอังกฤษ)

  

หมายเลขบันทึก: 361107เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2010 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ อาจารย์อ่านแล้วเกิดความคิดไปทำต่อ อาจารย์สบายดีน่ะครับ ไม่ค่อยได้เข้ามาทักทาย...แต่ระลึกถึงท่านเสมอ คนหนุ่มที่มีพลังและความตั้งใจในการทำงานที่เต็มเปี่ยม...

ผมสบายดีครับ ขอบคุณสำหรับคำทักทาย ยินดีอย่างยิ่งที่ต่อยอดความรู้ ผมระลึกถึงคุณเอกราช...กัลยาณมิตรที่มีพลังสร้างสรรค์ความรู้เพื่อสังคม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท