เรื่องที่ ๕


การส่งเสริมการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพช่วยให้กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้น

"ผลของการส่งเสริมการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบสถานีอนามัยบ้านหนองนกปีกกา ตำบลโป่งแดง อำเภอเมือง จังหวัดตาก"

ณัฐธีมา เจดีย์วุฒิ, ปาณิสรา แก้วบุญธรรม

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบสองกลุ่มศึกษาวัดผลก่อนหลัง (Two group pretest-posttest design) โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่ต้องการศึกษาผลของการส่งเสริมการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพต่อการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตสถานีอนามัยบ้านหนองนกปีกกา ตำบลโป่งแดง อำเภอเมือง จังหวัดตาก ที่มารับบริการคัดกรองเบาหวานด้วยวาจา (Verbal screening) และเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงปานกลาง โดยกำหนดเงื่อนไขในการคัดเลือกตัวอย่างเข้าร่วมการศึกษาดังนี้ เป็นผู้ที่เข้าใจภาษาไทย สามารถอ่านออกและเขียนได้ และเป็นผู้ที่ยินยอมเข้าร่วมการศึกษา จากนั้นจึงสุ่มตัวอย่างเข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 60 คน เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการส่งเสริมการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามที่ผู้ศึกษากำหนด และเอกสารความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับเพียงเอกสารความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ถึง 31 กรกฎาคม 2552 โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเองก่อน และหลังการศึกษา

       การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test และ Paired   t-test ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป 

       ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกัน ก่อนการทดลองกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพไม่แตกต่างกัน หลังการทดลองกลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.024)

        ผลการศึกษาครั้งนี้จึงสรุปได้ว่า การส่งเสริมการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพช่วยให้กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงควรนำการส่งเสริมการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในการศึกษาครั้งนี้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่การรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ตระหนักถึงผลดีของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพต่อไป

หมายเลขบันทึก: 360908เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2010 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แวะมาอ่านครับ...

อันนี้น่าทำอย่างยิ่งครับ

ดังนั้นจึงควรนำการส่งเสริมการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในการศึกษาครั้งนี้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่การรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

สวัสดีค่ะ

มาส่งความคิดถึงน้องหมอค่ะ  ที่พบมานะคะเกี่ยวกับสุขภาพของแต่ละคน พี่คิมเห็นว่าคนส่วนมากรู้ว่าควรปฏิบัติอย่างไร แต่เขาไม่ปฏิบัติค่ะ 

เป็นกำลังใจให้นะคะ

  • อาจารย์เกียรติ...
  • ผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ
  • ใช้ผลการทดลองไปทำต่อในกลุ่มเสี่ยงที่เหลือ
  • ขอบคุณค่ะพี่ครูคิม
  • ใช่ค่ะ..ส่วนใหญ่เป็นเช่นนั้น
  • พวกเรา(หมออนามัย) จึงมีหน้าที่..
  • กระตุ้น กระตุ้น และกระตุ้นค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท