ยังไงดี "บรรณานุกรม"


บรรณารักษ์ควรจะทำยังไงดี เพราะเราเป็นผู้แนะนำคนเขียนผลงานวิชาการ แต่เราไม่สามารถทำความเข้าใจกับผู้ตรวจผลงานวิชาการได้
 
 
 
 
พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท).  นอกเหตุเหนือผล.   พิมพ์ครั้งที่ 7.
อุบลราชธานี : ศูนย์เผยแผ่มรดกธรรม, 2550.
พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท).  (2550).  นอกเหตุเหนือผล.  พิมพ์ครั้งที่ 7.
อุบลราชธานี : ศูนย์เผยแผ่มรดกธรรม.
พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท).  2550.  นอกเหตุเหนือผล.  พิมพ์ครั้งที่ 7.
อุบลราชธานี : ศูนย์เผยแผ่มรดกธรรม.

 

       จากตัวอย่างบรรณานุกรมหนังสือที่พอจะหยิบมาได้ ณ ขณะนี้ มาเขียนเป็นบรรณานุกรม 3 รูปแบบ บรรณารักษ์ทุกท่านคงไม่บอกหรอกนะครับว่ารูปแบบไหนผิด เพียงแต่จะเลือกรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งแล้วก็เขียนแบบนั้นทั้งหมดในงานชิ้นนั้น ๆ หรือจะเลือกรูปแบบตามหน่วยงาน มหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรืออาจารย์ท่านใดกำหนดให้เลือกใช้แบบไหน เราก็เลือกใช้แบบนั้น
       ความหนักใจของอาจารย์บรรณารักษ์ที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเขียนบรรณานุกรม ไม่รู้ว่าจะตัดสินใจแนะนำให้เลือกแบบไหน เพราะตนเองก็ไม่ได้เป็นกรรมการตรวจผลงานวิชาการ ก็จะแนะนำไปกลาง ๆ ว่าแบบไหนก็ได้เลือกเอาแบบใดแบบหนึ่งให้มีความเป็นเอกเทศ อย่าใช้แบบนั้นทีแบบนี้ทีถนัดแบบไหนก็เลือกเอา สาเหตุที่แนะนำอย่างนี้เพราะไม่รู้ว่าจะไปเจอผู้ทรงคุณวุฒิจากค่ายไหน ซึ่งมีมาตรฐานไม่เหมือนกัน ผู้ทำผลงานก็ยิ่งหลากหลายสถาบันย่อมที่จะมีข้อแตกต่าง ตรงนี้อยากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการกำหนดผู้ทรงคุณวุฒิได้หารือเรื่องนี้ด้วย
       วันนี้มีท่านอาจารย์บรรณารักษ์โรงเรียนประจำอำเภอในเครือข่ายบรรณารักษ์ด้วยกัน โทรศัพท์มาหารือปัญหาอย่างที่กล่าวมาข้างต้นบรรณารักษ์ควรจะทำยังไงดี เพราะเราเป็นผู้แนะนำคนเขียนผลงานวิชาการ แต่เราไม่สามารถทำความเข้าใจกับผู้ตรวจผลงานวิชาการได้ ซึ่งผู้ตรวจบางท่าน (บางท่านนะครับ) ก็ชอบฟันธงว่าอย่างนี้ผิด เช่น (ดูตัวอย่างรูปแบบที่ 2 กับ 3) ท่านฟันธงว่ารูปแบบที่ 3 ผิด แล้วปรับผลงานเขาตก เพียงเพราะว่าไม่ใส่วงเล็บปีที่พิมพ์ ด้วยความเคารพผมว่าท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านเนื้อหาสาระที่ท่านเชี่ยวชาญ ช่วยดูว่าผลงานอย่างนี้จะช่วยในการเรียนการสอนส่งผลให้เยาวชนเป็น คนดี คนเก่ง มีคุณธรรมจริยธรรม ส่วนบรรณานุกรมจะใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ผมก็ว่าน่าจะยอมรับได้เพราะจากตัวอย่างที่เขียนมาทั้ง 3 รูปแบบสามารถบอกแหล่งที่มาของเอกสารต้นตอได้ครบถ้วนทุกรายการแล้วนั่นคือสาระและประโยชน์ของบรรณานุกรม
       บรรณารักษ์แนะนำการเขียนบรรณานุกรมให้ ช่วยตรวจทานให้แล้ว แต่บังเอิญเลือกรูปแบบไม่ตรงใจผู้ทรงคุณวุฒิถูกผู้ทรงคุณวุฒิ ปรับผลงานเขาตกเพราะไม่ใส่วงเล็บ บรรณารักษ์อย่างเราก็หมดแรงใจในการที่จะช่วยสร้างสรรค์ผลงานวิชาการแล้วละครับ
หมายเลขบันทึก: 360512เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2010 00:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

กรรมการส่วนใหญ่จะนิยมแบบที่ 1 ค่ะ

เป็นรูปแบบการเขียนวิทยานิพนธ์ มหาลัยต่างๆ(ส่วนใหญ่)

ดังนั้นจึงเลือกให้แบบที่ 1 เป็นแบบที่ถูกต้อง แบบอื่นไม่ผิด แต่ไม่นิยม

 การเขียนบรรณานุกรมผิดเล็กน้อย

ไม่น่าจะทำให้ผลงาน"ตก" ..อันนี้ก็แล้วแต่...ดวง..มั้งคะ

 

สวัสดีครับ ครู ป.1

  • ขอบคุณครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยน
  • มหาวิทยาลัยหลายแห่งใช้แบบที่ 1 ครับ
  • พอเริ่มมีการอ้างอิงแบบ APA หรือแบบแทรกในเนื้อหา
  • (ชื่อผู้แต่ง.  ปีที่พิมพ์ : เลขหน้า)
  • หลายแห่งปรับบรรณานุกรมเป็นแบบที่ 2 หรือ 3
  • จะสังเกตุว่ารายการปีที่พิมพ์กลับจากรายการสุดท้ายมาเป็นรายการที่ 2
  • ทำให้สอดคล้องกับการอ้างอิง ทำให้การตรวจสอบง่ายขึ้น
  • ผมเห็นด้วยครับว่าไม่น่าจะปรับให้ตก
  • ไม่อยากให้ขึ้นกับดวงครับสงสารนักวิชาการที่สู้อุตส่าห์ทำแล้วตกเพราะเรื่องเล็กๆ

ปกติใช้ APA ครับอาจารย์ แต่ มศว ใช้แบบที่สองครับ

สวัสดีครับอาจารย์ขจิต

  • ผมก็ถือว่าค่าย มศว เหมือนกันครับ
  • มศว มหาสารคาม
  • อาจารย์สบายดีนะครับ

ขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งค่ะ ที่พูดเรื่องที่ตรงใจ 

การ "..แนะนำไปกลาง ๆ ว่าแบบไหนก็ได้เลือกเอาแบบใดแบบหนึ่งให้มีความเป็นเอกเทศ.."   ก็คงเป็นทาง(เลือก)ที่ดี(?)

  • ขอบคุณครับที่แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ก็หวังแต่ว่ากรรมการที่ตรวจผลงานจะเข้าใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท