การพัฒนาการสอนล้างไต


การพัฒนาการสอนล้างไต

การพัฒนาการสอนล้างไตทางช่องท้องชนิดต่อเนื่อง

หน่วยไตและไตเทียม  โรงพยาบาลศรีนครินทร์

Development of CAPD Training Program

in Kidney and Artificial Kidney unit Srinagarind Hospital

นุชจรีย์  หอมนาน* 

บทคัดย่อ 

                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องชนิดต่อเนื่องมีความรู้  ความสามารถในการดูแลตนเองที่บ้าน  ตลอดจนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการสอน  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่รับการล้างไตทางช่องท้องชนิดต่อเนื่องหรือซีเอพีดีรายใหม่  ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค. 2550  จำนวน 15 คน  โดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง  จัดให้กลุ่มตัวอย่างได้รับการสอนตามคู่มือสอนการล้างไต   การประเมินผลดัชนีความสำเร็จโดยศึกษาความรู้เกี่ยวกับการล้างไตทางช่องท้องชนิดต่อเนื่องภายหลังการสอน  การประเมินการปฏิบัติการล้างไต  และความคิดเห็น และความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการสอนล้างไตทางช่องท้องชนิดต่อเนื่อง   แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการล้างไตได้ถูกต้อง  และค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับการล้างไต

                ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า   กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการสอนตามคู่มือการสอนล้างไต  มีคะแนนความรู้ภายหลังได้รับการสอนมากกว่า หรือเท่ากับ ร้อยละ 80 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน  และกลุ่มตัวอย่าง ผ่านการประเมินการปฏิบัติการล้างไต ร้อยละ 100   ดังนั้นควรนำคู่มือสอนการล้างไตทางช่องท้องชนิดต่อเนื่อง และสื่อการสอนไปใช้ในการสอนผู้ป่วยซีเอพีดีต่อไป  เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้มากขึ้น  แต่ควรมีการเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับอาการของภาวะขาดสารอาหารโปรตีน กับภาวะน้ำเกิน   การคำนวณดุลน้ำของร่างกาย  และระยะเวลาในการเก็บน้ำยาล้างไตที่ผสมยาฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้    แต่อย่างไรก็ตามเมื่อติดตามกลุ่มตัวอย่างภายหลังเริ่มการล้างไตไป 1 เดือนพบว่า มีภาวะแทรกซ้อน 3 ราย คือ การติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง 2 ราย เนื่องจากผู้ป่วยซึ่งยังไม่ได้เรียนไปทำการเปลี่ยนน้ำยาล้างไตเอง  และ มีการติดเชื้อช่องสายออก 1 ราย เนื่องจากมีการรั่วซึมของน้ำยาล้างไตรอบ ๆ ช่องสายออก  จากการให้เพิ่มปริมาตรน้ำยาล้างไตที่บ้าน  ดังนั้นในรายที่ผู้ป่วยไม่สามารถเรียนรู้ได้เองในช่วงแรก  เมื่อเริ่มล้างไตประมาณ 2 สัปดาห์ควรเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้มาเรียนรู้เพื่อให้สามารถดูแลการล้างไตได้อย่างถูกต้อง  ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ

หมายเลขบันทึก: 359573เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2010 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ได้เข้าร่วมอบรมที่พี่เป็นวิทยากรที่รพ.ศรีนครินทร์ค่ะ ขอบคุณข้อมูลดีๆ ที่นำเสนอค่ะ...มีประโยชน์มากค่ะ..

สวัสดีค่ะ อยากจะเล่าให้ฟังเผื่อเป็นประโยชน์บ้างนะค่ะ คือก่อนที่แม่จะเสียชีวิตท่านเป็นผู้ป่วยที่ต้องไปล้างไตที่โรงพยาบาลสัปดาห์ละ 3 ครั้งโดยมีการตัดต่อเส้นเลือดที่แขนนะคะ ครั้งแรกที่รู้ว่าจะต้องล้างไตหมอก็ให้มาคุยกับพยาบาลเพื่อเลือกว่าจะล้างเองหรือล้างที่ศูนย์ไตเทียม ซึ่งตอนนั้นค่าล้างไตที่ศูนย์ไตเทียมยังเบิกได้ไม่หมดเหมือนทุกวันนี้ และโรงพยาบาลที่จะล้างก็อยู่ไกลจากบ้าน ถ้าล้างเองสามารถเบิกค่ายาได้หมดและไม่ต้องเดินทาง

จึงพยายามอธิบายและคุยกับแม่ว่าน่าจะเลือกแบบล้างเองนะ จะได้ไม่ต้องตัดต่อเส้นเลือดที่แขน ซึ่งอาจต้องเจ็บหลายครั้งถ้าเส้นไม่วิ่ง ก็ต้องผ่าตัดทำใหม่และเวลาล้างก็จะต้องไปล้างที่โรงพยาบาล นอนครั้งละ 4 ชั่วโมงการล้างต้องใช้เข็ม 2 เข็มแทงเข้าไปเพื่อนำเลือดในตัวออกมาฟอกที่เครื่องล้างไตเทียมแล้วจึงส่งกลับเข้าไปร่างกายอีกครั้ง ส่วนการล้างเองจะทำที่บ้านโดยลูกจะทำให้แม่เอง แต่ต้องเจาะที่หน้าท้องเจ็บครั้งเดียวแต่จะมีสายยางล้างคาไว้ที่หน้าท้องเพื่อใส่น้ำยาล้างไตนะ

แม่ฟังและนิ่งคิดอยู่นาน มีน้ำตาซึมออกมา สงสารแม่มาก และแม่พูดออกมาว่าถ้ารักแม่อยากให้แม่อยู่เป็นเพื่อนนานๆ ก็อย่าทรมานแม่เอาสายยางมาห้อยไว้ที่หน้าท้อง ตายซะดีกว่าหมดเรื่องหมดราว แม่ทำใจไม่ได้ นั่นคือความรู้สึกของแม่ จึงเลือกล้างด้วยไตเทียม เกือบ 8 ปี ท่านจึงเสียชีวิตค่ะ

พ่อพี่แก้ว ก็ไม่ยอมล้างไต เพราะพ่อไม่อยากให้คนที่อยู่ด้วยทุกข์ทรมาน ตัวเองก็ไม่อยากทำ แม้จะหาคนมาทำให้ พ่อก็ไม่ยอม

ในที่สุดพ่อพี่อยู่กับโรคไตวายเรื้อรัง 4 ปี โดยไม่ล้างไต

แต่สุดท้าย พ่อทรมานเหลือเกิน...

สวัสดีพี่แก้ว ดร.พจนา ค่ะ

   ขอบคุณที่แวะมาแลกเปลี่ยน   การร่วมตัดสินใจเลือกวิธีรักษาก็เป็นส่วนสำคัญที่เราต้องเคารพการตัดสินใจของผู้ป่วยค่ะ  ถ้าท่านทั้งสองมีความสุขและพอใจก็เป็นสิ่งที่ดี  จากการได้ดูแลผู้ป่วยมานาน  ก็พบว่าการทำซีเอพีดีไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด  เพียงแต่ต้องเอาใจใส่มากหน่อย  พิถีพิถัน แล้วผลลัพธ์จะดีค่ะ  ผู้ป่วยหลาย ๆ คนก็พบว่าคุณภาพชีวิตดี มีความสุขเหมือนเกิดใหม่ค่ะ  แต่ก็มีบางส่วนที่มีภาวะแทรกซ้อน  ซึ่งท้าทายทีมแพทย์ พยาบาล ผู้ป่วยและผู้ดูแลว่าจะช่วยให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีผลลัพธ์ที่ดีได้อย่างไร  คุ้มกับการลงทุนของรัฐ และผู้ดูแล 

สวัสดีค่ะพี่นุชจรีย์

ได้เข้าไปค้นหนังสือเกี่ยวกับไตเทียม CAPD สนใจของหน่วยไต มข แต่ไม่มีจำหน่าย ดิฉันกำลังจะไปอบรม CAPD 1 มิย. 54 ขอคำแนะนำเพื่อให้ได้หนังสือ 3 เล่มใน WEB

ขอบคุณในความกรุณาล่วงหน้า

สวัสดีค่ะน้องจิ๋ว

มาUp date ข้อมูลค่ะ

เมื่อ25-26ได้เชิญพี่ติ๋มและคุณผ่องเป็นวิทยากรCAPD ที่หนองคาย

ยังถามถึงน้องจิ๋วอยู่เลยนะคะ

กำลังจะพัฒนาระบบการดูแลทั้งในรพ.และชุมชน

เรื่องใหญ่มากเลยนะคะ

อาจขอข้อมูลและเปเปอร์ของจิ๋วบ้างนะคะ

ตอนนี้จะพัฒนาในWard ที่รับคนไข้ รบกวนขอ care map หรืออื่นๆที่สามารถจะให้ได้

ขอบคุณมากค่ะ

maneewan.t@gmail,com

พี่นางค่ะ

ขอบคุณค่ะที่ยังคิดถึงกัน ส่ง care map และอื่นๆ ให้แล้วนะค่ะ

ตอนนี้หนูกำลังทำ Empowerment ในกลุ่ม CAPD ค่ะ ถ้าสำเร็จ

จะส่งให่ค่ะ

ผมเริ่มป่วยเป็นไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้ายมา 2 ปี แล้วครับ ตั้งแต่ วันที่ 28 ส.ค 2550 ตัวผมเองไม่ได้อยู่กับครอบครัว ผมเป็นคนหนักเอาเบาสู้มาตั้งแต่เด็ก พอผมไม่ได้รับการศึกษา ผมก็เข้ามาหางานทำที่กรุงเทพฯ ได้มาทำงานกับเจ้านายคนหนึ่ง ซึ่งมีพระคุณมาก ทั้งให้งานผมทำ และให้ที่อยู่อาศัย พร้อมเงินเดือน ผมจึงซื้อสัตว์และทำงานกับเจ้านายมา 10 ปี แต่มีอยู่วันหนึ่งผมกำลังทำงาน ผมรู้สึกมีอากาศแปลกๆมีความรู้สึกว่าเหนื่อยหอมมาก หายใจไม่ค่อยออกขึ้นมาทันที ตอนแรกผมคิดว่าเป็นโรคปอด แต่พอไปตรวจสุขภาพกับคุณหมอที่โรคพยาบาลศิริราช คุณหมอบอกว่าเป็น(โรคไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้าย) พอผมได้ยินคำเดียวแทบจะเป็นลม เพราะรับได้ เพราะไม่รู้ว่าจะได้รับการรักษาอย่างไร ช่วงแรกที่รู้ตัวเองว่าเป็นไต ก็รู้สึกเครียดมากทั้งเรื่องค่าใช้จ่าย นั้นจะค่ารถเดินทางไปโรงพยาบาล เพราะงานก็ทำไมไหว ไม่รู้ว่าจะหาเงินที่ไหน มาไว้เป็นค่ารักษาได้ เพราะอาการช่วงแรกคอนข้างแย่ไปทุกเรื่อง ไหนจะเรื่องอาหารการกิน เพราะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษกว่าคนปกติ เพราะฉะนั้นคุณหมอจึงแนะนำการกินอาหาร ผมจึงดูแลเรื่องอาหารเป็นอย่างดีจนอาการเริ่มดีขึ้น และได้คำแนะนำจากคุณหมอ ผมโชคดีที่ได้มีโอกาสไปที่โรงพยาบาลวชิระได้คำแนะนำ จากคุณหมอท่านหนึ่ง ว่าที่โรงพยาบาล บ้านแพ้ว (สาขา พร้อมมิตร) มีโครงการบำบัดทดแทนไตโดยการล้างไตทางช่องท้อง ตอนแรกผมก็กังวลเรื่องค่าใช้จ่าย แต่พอได้มาฟังคุณหมอปิยะธิดา พูดถึงรายละเอียดการล้างไตทางช่องท้อง จึงได้รู้ว่าการล้างไตทางช่องท้องไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ผมเลยตัดสินใจเข้าร่วมโครงการโดยการวางสายล้างไตทางช่องท้อง ช่วงแรกผมรู้สึกอ่อนเพลียทานไม่ได้ คลื่นไส้อาจเจียน พอผมไดเริ่มล้างไตทางช่องท้องอาการก็เริ่มทุเลา พี่พยาบาลได้ฝึกสอนการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาให้ผมจึงสามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำยาเองได้แล้วจึงไปเยี่ยมบ้าน แล้วให้ผมทำที่บ้าน พอผมเปลี่ยนถ่ายน้ำยาที่บ้านได้ประมาณ 6 เดือน ผมรู้สึกดีขึ้นเหมือนคนปกติ

สิ่งที่เป็นกำลังใจให้ผมในยามที่ท้อแท้ก็คือ ตอนที่ผมไปนอนโรงพยาบาลบัตรทอง ผมได้เห็นคนที่พิการคนหนึ่งซึ่งไม่ครบ 32 ประการ แขน ขาขาด เขายังดิ้นรน อยากจะมีชีวิตต่อไป ผมเลยคิดว่า “ผมนี้ซิมีครบ 32 ประการ ทำไมผมถึงต้องท้อด้วย”นี่แหละที่เป็นกำลังใจให้ผมไม่ท้อขอขอบคุณอาจารย์ปิยธิดา ที่ให้โอกาสผมมาเป็นอาสาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง

สี่งที่ผมประทับใจคือผม ได้มีโอกาสมาช่วยผู้ป่วยคนอื่นที่แย่กว่าผม เปลี่ยนน้ำยาตอนที่มานอนโรงพยาบาล ผมอยากให้ทุกคนสู้ต่อไปเพื่อตัวเราเองและคนที่เรารัก และทำวันนี้ให้ดีที่สุด

และใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่า

ผมสุรัตน์ บำรุงนา ขอขอบพระคุณโรงพยาบาลบ้านแพ้ว มา ณโอกาสนี้ครับ

คุณสุรัตน์ บำรุงนา ขอบคุณแทนทุก ๆ คนที่ได้อ่านบทความเล็กๆ นี้

น่าจะเป็นกำลังใจที่ดี ขอเป็นกำลังใจให้ตั้งใจดูแลตนเอง และกับภารกิจทางสังคมด้วยค่ะ

ตอนนี้แม่ก็กำลังจะได้รับการล้างไตผ่านทางช่องท้องเหมือนกันค่ะ คุณหมอบอกว่าไตแม่เหลือแค่ 5 % ต้องได้รับการรักษาคุณหมอให้เลือกการรักษา 2 วิธี วิธีที่ 1 คำการฟอกเลือดอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1500 บาท วิธีที่ 2 คือการล้างไตผ่านช่องท้อง ตอนแรกแม่บอกว่าจะไม่ยอมทำทั้ง 2 วิธี พอลูกๆ ที่ทำงานอยู่ทางกรุงเทพรู้เรื่องเครียดมากต้องช่วยกันพูดอยู่นานแม่ถึงยอมตัดสินใจเลือกวิธีที่ 2 ลูกๆ แต่ละคนก็เครียดและสงสารแม่มาก แต่พอหลังจากที่ได้อ่านข้อความจากหลายๆคนที่มีประสบการณ์ด้วยตัวเองก็รู้สึกสบายใจขึ้นมาก อยากให้แม่อยู่กับลูกๆ นานที่สุด

สวัสดีค่ะคุณมาลี

เป็นกำลังใจให้คุณแม่และลูกๆค่ะ ขอให้คุณแม่ดูแลตัวเองให้ดีอย่างสม่ำเสมอ

และลูกๆช่วยสร้างเสริมกำลังใจให้แม่มีชีวิตที่เหมือนภาวะปกติจะดีมากค่ะ

วิภักดิ์ สุวรรณรัตน์

พ่อผมอยู่ในการฟอกไตอยู่ที่ ม.อชั้น 9 เตียง9 และตอนนี้หมอบอกว่าให้ฟอกไต 3เดือน และค่าใช้จ่ายเบิกได้ครึ่งหนึ่ง ใช้สิทธิจ่ายตรงแต่พ่อบ้านอยู่นาทวี อยากถามว่าฟอกไตแบบไหนดีที่ค่าใช้จ่ายน้อยและรักษาชีวิตได้นาน

                                                                         ขอบคุณครับ
                                                                              25/9/55

คุณวิภักดิ์

คุณพ่อสิทธิจ่ายตรง  การฟอกเลือดตามสิทธิแล้วสามารถเบิกได้ครั้ละ 2,000 บาท อาจมีส่วนเกิน

เล็กน้อย แต่ไม่ใช่เบิกได้ครึ่งเดียวค่ะ ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง

อาจต้องสอบถามว่ากรณีของเรามีข้อจำกัดอย่างไรจึงเบิกได้เพียงครึ่งเดียวค่ะ  ปัจจุบันในผู้ที่

มีสิทธิจ่ายตรง ค่าใช้จ่ายทั้ง 2 วิธีของการล้างไตไม่แตกต่างกันมากนัก อยู่ที่ภาวะสุขภาพผู้ป่วย และบริบทของครอบครัวมากกว่าค่ะว่าจะเลือกการรักษาแบบใด

เป็นกำลังใจให้นะค่ะ  ทุกอย่างน่าจะผ่านพ้นไปด้วยดี  ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้น ทุกอย่างจะดีขึ้นค่ะ

ได้มีโอกาสดูแลผู้ป่วยCAPD(นานๆเจอเคสแบบนี้ที) ผู้ป่วยได้ถามเกี่ยวกับการเก็บน้ำยาในหน้าหนาว ซึ่งผู้ป่วยบอกว่าอากาศหนาวๆน้ำยาที่ล้างจะเย็นมาก และรู้สึกทรมานมาก อยากขอปรึกษษเรื่องการจัดเก็บหรือแนะนำแหล่งsearch ได้จากที่ไหนคะ จะได้แจ้งผู้ป่วย ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท