ภาพเก่าๆจากเงาที่ยังไม่ลาง เลือน บนกระดาษ A4 หนึ่งแผ่น จากไอเดียซุกซนที่ Wetlab




            สิ่งที่ดูเหมือนไร้สาระ ลองทำออกมาตามอารมณ์ ความรู้สึกในวันวานเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อมาถึงวันนี้ สิ่งที่อาจดูไร้ค่า กลับมีคุณค่าอย่างคาดไม่ถึง

            ในการทำงาน การศึกษาวิจัยด้านชีววิทยาน้ำจืด ที่ห้อง Wetlab  ตึก Bio มข. นายบอนลองทำแผ่นกระดาษไว้ประชาสัมพันธ์เวบไซต์ Wetlab ติดไว้ที่หน้าประตูห้อง เวอร์ชั่นที่เห็นนี้ ดูรกๆพอสมควร



             For a better world
            Or "Environmental Biology"
                is another imperative ?

        Girls & Guys, the answer
            indeed depends on your tasted!

            เป็นแผ่นกระดาษประชาสัมพันธ์ของ Wetlab : Freshwater Biomonitoring Studies เมื่อปี 2542 ซึ่งหยิบเอาภาพการทำงานต่างๆที่ Scan ไว้ จากอัลบั้มรูปถ่ายในห้อง Wetlab มาใส่ไว้ เมื่อเวลาผ่านมาเกิน 10 ปี เมื่อค้นเจอกระดาษแผ่นนี้อีกครั้ง ถึงจะเป็นเพียงแค่กระดาษเก่าๆที่ Print ออกมา แต่ภาพเล็กๆที่เห็น ก็ทำให้ย้อนรำลึกถึงการทำงานในยุคหลายปีก่อนได้ ซึ่งภาพต่างๆเหล่านี้ หาดูได้ในอัลบั้มรูปถ่ายที่เก็บไว้ที่ห้อง Wetlab แต่ถ้าไม่มีโอกาสได้ดู เพราะไม่ได้อยู่ที่ขอนแก่นแล้ว ภาพเก่าๆที่ได้ดูในที่นี้ มีความหมายเช่นกัน ลองมาดูกัน



            สมัยคุณประสาท เนืองเฉลิม (Bio22) เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท ในภาพกำลังเช็คเครื่องมือ ก่อนที่จะเดินทางไปเก็บตัวอย่างภาคสนาม ซึ่งกำลังอยู่ที่โต๊ะนั่งทำงานประจำตัวในห้อง Wetlab ซึ่งจะอยู่ใกล้ประตูทางเข้า ใครเดินเข้าห้อง ถ้าเป็นช่วงที่เขาอยู่ในห้อง ก็จะเจอคุณประสาทก่อนใคร อาจจะกำลังนั่งคีย์ตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำอยู่ ... ซึ่งเป็นภาพที่หาชมได้ยากจริงๆ



            นายบอนกำลังนั่งแยกตัวอ่อนแมลงน้ำออกมาจากดินตะกอนที่ได้มาจากการเก็บ ตัวอย่างในลำธารที่ทำการศึกษาวิจัย แล้วคีบตัวอ่อนแมลงน้ำใส่ขวดเก็บตัวอย่างที่วางไว้ใกล้ๆ



            ภาพเก่ามากๆ เมื่อ อ.ชุติมา หาญจวณิช และ อ.นฤมล แสงประดับ ช่วยกันแยกตัวอ่อนแมลงน้ำออกจากดินตะกอนในถาด ซึ่งไม่ค่อยจะได้เห็นภาพแบบนี้บ่อยนัก ที่อาจารย์ทั้งสองท่าน ช่วยกันทำการแยกตัวอ่อนในลักษณะอย่างที่เห็นในภาพ



            ภาพการทำงานในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ในช่วงที่พักทานข้าว ต่างนั่งล้อมวงกันตามสะดวก ในบริเวณพื้นที่แถวนั้น ท่ามกลางธรรมชาติ คนที่นั่งขวาสุดของภาพ ที่นั่งหันหน้าออกจากวง คือ คุณประสาท Bio22



            ภาพที่เห็นเพียงรางๆ คือ ภาพที่ อ.นฤมล พานักศึกษาไปเก็บตัวอย่างภาคสนามที่อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ในภาพกำลังสอนนักศึกษาในเรื่องการใช้เครื่องมือต่างๆ ขั้นตอนการศึกษา มีนักศึกษาล้อมวงรับฟังด้วยความตั้งใจ

        บางประเด็นที่น่าคิด
            1. ภาพเก่าๆเหล่านี้ ทำให้มองเห็นภาพการทำงานในอดีต ได้ทบทวนในสิ่งที่ผ่านมาเมื่อวันวานหลายสิบปีก่อนว่า เวลานั้น เป็นอย่างไร ทำอะไรอยู่ แล้วในปัจจุบัน เราเป็นอย่างไร
            2. อย่ามองข้ามความคิดสร้างสรรค์ ที่อาจดูไร้ค่าในวันวาน มันอาจมีคุณค่าในอีกหลายปีต่อมา
            3. คุณค่าของสิ่งต่างๆอาจไม่มีค่าในรูปตัวเงิน แต่มีคุณค่าต่อจิตใจ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดสิ่งที่ดีๆขึ้นมาได้
            4. ภาพเก่าๆ ทำให้ได้คิดถึงคนที่ไม่ได้พบเจอกันมานาน ความทรงจำที่ดีๆ และการสื่อสารที่ห่างเหินไป จะเป็นแรงบันดาลใจให้กลับมาติดต่อกันอีกครั้ง




หมายเลขบันทึก: 359557เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2010 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท