โอวาทท่านเหลี่ยวฝาน ข้อที่ ๒


ความผิดเล็กๆ น้อยๆ นั้น เปรียบประดุจหนามตำอยู่ในเนื้อถ้ารีบบ่งหนามออกเสีย ก็จะหายเจ็บทันที หากเป็นความผิดใหญ่หลวง ก็เปรียบประดุจถูกงูพิษที่ร้ายแรงขบกัดเอาที่นิ้ว ถ้าลูกไม่กล้าตัดนิ้วทิ้ง พิษก็จะลุกลามไปถึงหัวใจและตายได้ง่ายๆ ลูกจึงต้องมีจิตใจ ที่เด็ดเดี่ยว กล้าเผชิญความจริง รู้ตัวว่าผิดตรงไหนต้องแก้ตรงนั้นทันที อย่ารีรอลังเล จะเสียการในภายหลัง

วันนี้จะมาเล่าให้ฟังถึงโอวาทของท่านเหลี่ยวฝานต่อนะครับ คงจำได้ว่าผมเล่าให้ฟังแล้วว่าโอวาทของท่านมีสี่ข้อวันนี้จะเล่าให้ฟังโอวาทข้อที่สอง ซึ่งท่านสอนเรื่อง “วิธีแก้ไขความผิดพลาด”

 

ท่านได้สอนลูกโดยยกตัวอย่างในสมัยชุนชิว เป็นระยะเวลาที่อำนาจของราชวงศ์โจวเสื่อมถอย หัวเมืองใหญ่น้อยต่างแข็งข้อ ตั้งตนเป็นใหญ่จิตใจ คนจีนในยุคนี้เสื่อมทรามโหดเหี้ยมมาก ลูกฆ่าพ่อ ขุนนางฆ่าฮ่องเต้ท่านนักปราชญ์ขงจื๊อก็เกิดในยุคนี้ ท่านเห็นว่า เหตุการณ์จะรุนแรงยิ่งขึ้น ไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ จึงนำหนังสือเล่มหนึ่งมีชื่อว่า ชุนชิว ซึ่งเป็นของแคว้นหลู่ มาแก้ไขปรับปรุงเสียใหม่ส่วนที่ดีคงไว้ ส่วนที่ขาดเพิ่มเติม บันทึกความชั่วร้ายในยุคนั้นไว้ในหนังสือ ชุนชิว นี้ อย่างละเอียดละออ เพื่อไว้เตือนใจคน ไม่ให้นำมาเป็นเยี่ยงอย่าง ท่านจึงให้ลูกอ่านหนังสือเล่มนี้และให้ลูกค้นหาส่วนดีส่วนเสียของหนังสือเล่มนี้เพราะจะได้ประโยชน์จากหนังสือนี้อย่างเหลือล้น และแนะนำให้ลูกศึกษาประวัติศาสตร์ เพื่อให้ลูก “รู้จักนำส่วนดีของอดีต มาเสริมสร้างชีวิตอนาคตของลูกเอง ให้เพียบพร้อมด้วยความเป็นคนที่มีศีลมีธรรมหลุดพ้นจากความเป็นปุถุชนได้ในที่สุด”

ท่านสอนให้ลูกศึกษาธรรมชาติเพราะ “ธรรมชาตินั้นมีความซื่อตรงยิ่งนัก หากเราเอาอย่างธรรมชาติได้ จิตใจของเรานี้ก็จะผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติซึ่งก็คือฟ้าดินนั่นเอง”ท่านให้ลูกดูพฤติกรรมของคนถ้าทำดีก็จะได้ดี หากทำชั่วก็จะได้ชั่ว และบอกว่า “หากลูกต้องการความสุขและห่างไกลจากความทุกข์ลูกจะต้องรู้จักวิธีแก้ไขความผิดพลาดของตนเองเสียก่อน”

ข้อ ๑ ลูกจะต้องมีความละอายต่อการทำชั่ว ไม่ว่าจะอยู่ต่อหน้าหรือลับหลังผู้คน

ท่านให้ดูนักปราชญ์แต่ครั้งโบราณทำไมจึงได้รับความเคารพบูชาเป็นปูชนียบุคคล ในโลกนี้จะมีสิ่งไรอีกเล่าที่จะน่าละอายไปกว่าที่ตนเองไม่รู้ดีรู้ชั่ว

ท่านนักปราชญ์เมิ่งจื๊อ จึงได้กล่าวไว้ว่า ความละอาย และความเกรงกลัวต่อบาปนั้นเป็นความยิ่งใหญ่ของมนุษย์ในโลกนี้ผู้ใดมีไว้ย่อมได้ชื่อว่าเป็นปราชญ์ผู้ใดมิได้มีไว้ย่อมเหมือนสัตว์เดรัจฉาน ลูกจึงต้องเริ่มต้นแก้ไขความผิดพลาดของตนเอง
ด้วยกุศลธรรมข้อนี้ก่อน

ข้อ ๒ ลูกจะต้องมีความเกรงกลัวต่อการทำชั่ว

ในข้อนี้ท่านสอนว่าในโลกนี้มีเทวดาและผีสางวิญญาณอยู่ทั่วไปหมด แม้แต่ในบ้าน ไม่ว่าจะทำอะไรผีสางเทวดารู้หมด และที่สำคัญหากเราทำความชั่วหากคนอื่นไม่เห็นผีสางเทวดาเห็น ที่สำคัญกว่านั้น “หากวันใดบังเอิญมีคนแอบเห็นเข้าลูกก็จะกลายเป็นคนไร้ค่าไปทีเดียว อย่างนี้แล้วลูกยังจะไม่กลัวอีกหรือ”

แต่อย่างไรก็ตาม ท่านยังพยายามสอนลูกว่าแม้จะทำผิดมาแล้วแต่ถ้าสำนึกได้แล้วรีบแก้ไขหรือย่างน้อยก็สำนึกได้ก่อนตายชีวิตก็อาจจะรอดพ้นอบายภูมิ ท่านเล่าให้ลูกฟังโดยยกตัวอย่างว่า

“มีชายคนหนึ่ง ตลอดชีวิตของเขาชอบทำแต่กรรมชั่ว ครั้นพอใกล้จะตาย ได้สำนึกผิดเพียงขณะจิตเดียวและจิตสุดท้ายที่รู้จักผิดชอบชั่วดีก็ยังสามารถทำให้จิตที่เกิดต่อจากจิตสุดท้าย (จุติจิต) ได้ปฏิสนธิในสุคติภพทันท่วงที รอดจากการไปสู่ทุคติภพอย่างหวุดหวิด และเมื่อเขาได้ไปสู่สุคติภพเสียก่อนเช่นนี้ จิตที่รู้จักผิดชอบชั่วดีแล้วในวินาทีสุดท้ายนี้ ก็ย่อมเป็นปัจจัย ให้เขาประกอบแต่กรรมดี หากเขาสามารถสั่งสมความดีได้มากกว่ากรรมชั่วที่เคยกระทำมาเป็นหมื่นเท่าพันทวีแล้วไซร้วิบากแห่งกรรมชั่วที่มิใช่กรรมหนัก จักติดตามมาให้ผลไม่ทันเสียแล้วดุจในถ้ำที่มืดมิดมานานนับพันปี เพียงแต่จุดไฟให้สว่างเพียงดวงเดียวก็สามารถขับไล่ความมืดที่มีมานานนับพันปีให้หมดสิ้นไปในพริบตาเดียว” ท่านสอนลูกว่าแม้จะแก้ไขความผิดได้แต่ถ้าทำผิดบ่อยๆก็อาจจะสายเกินไปที่จะแก้ไขเพราะชีวิตเราไม่แน่ว่าจะอยู่ถึงวันพรุ่งหรือไม่ และสอนให้กลัวบาปกรรมเพราะสิ่งที่ทำหากเป็น “กรรมหนักไม่สามารถมาเกิดเป็นมนุษย์อีกก็จะต้องตกนรกหมกไหม้ ทนทุกข์ทรมานไปชั่วกัปชั่วกัลป์ แม้พระพุทธองค์ ก็ทรงโปรดไม่ได้ เพราะผู้ใดทำกรรมไว้ ผู้นั้นเองเป็นผู้ได้รับผลแห่งกรรมนั้นลูกยังจะไม่กลัวได้หรือ”

ข้อ ๓ ลูกจะต้องมีความกล้าที่จะแก้ไขตนเอง

เพราะ “ความผิดเล็กๆ น้อยๆ นั้น เปรียบประดุจหนามตำอยู่ในเนื้อ
ถ้ารีบบ่งหนามออกเสีย ก็จะหายเจ็บทันที หากเป็นความผิดใหญ่หลวง ก็เปรียบประดุจถูกงูพิษที่ร้ายแรงขบกัดเอาที่นิ้ว ถ้าลูกไม่กล้าตัดนิ้วทิ้ง พิษก็จะลุกลามไปถึงหัวใจและตายได้ง่ายๆ ลูกจึงต้องมีจิตใจ ที่เด็ดเดี่ยว กล้าเผชิญความจริง รู้ตัวว่าผิดตรงไหนต้องแก้ตรงนั้นทันที อย่ารีรอลังเล จะเสียการในภายหลัง”

ท่านให้ลูกศึกษาวิชาโป๊ยก่วยที่ว่าด้วยความแข็งแกร่งของฟ้าความอ่อนโยนของดินความมีพลังของไฟความเย็นของน้ำ ความกึกก้องของเสียงฟ้าร้อง ความแรงกล้าของลม ความมั่นคงของขุนเขาและความเป็นกระแสของสายธาร เพื่อให้ลูกเข้าใจ ถึงธรรมชาติแปดประการนี้ซึ่งต่างก็เป็นปัจจัยให้กันและกันและให้นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สุข ความผิดถูกความดีชั่ว ล้วนเป็นปัจจัยแก่กันและกัน เมื่อรู้ว่าผิด รีบแก้ไขเสีย ความถูกก็จะกลับคืนมา เมื่อทำความดีอยู่ความชั่วไหนเลย จะกล้ำกราย และการการแก้ไข ต้องแก้ก่อนที่จะมีการกระทำผิดเกิดขึ้น คือ ต้องรู้เหตุ ที่จะก่อให้เกิดความผิดได้เสียก่อน

นอกจากนี้ยังสอนไม่ให้โกรธ รู้จักระงับอารมณ์ และให้รู้จักจับผิดตนเองอย่าไปจับผิดผู้อื่น เพราะจับผิดผู้อื่นทำให้โกรธ ความโกรธมีแต่โทษหามีคุณไม่ ถ้าลูกสามารถใช้เหตุผลใคร่ครวญดูแล้ว ทุกสิ่งก็จะไม่น่าโกรธ ความโกรธก็จะไม่เกิดขึ้นกับลูกอีกเลย โดยสรุปแล้วท่านสอนให้แก้ไขที่ใจนั่นเอง

นอกจากนี้ท่านสอนให้ลูกมีสติ ทำจิตให้สงบ เพราะเมื่อจิตสงบจะทำอะไรก็สำเร็จ

น่าอ่านไหมละครับหนังสือเล่มนี้ ยังมีโอวาทอีกสองข้อที่ผมจะนำมาเล่าต่อนะครับ

หมายเลขบันทึก: 359211เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2010 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีครับท่านอัยการ

               ธรรมชาติสอนเราตั้งเยอะแต่เรามักลืม...แต่สุดท้ายก็มักจะพบจะพบความจริงที่ว่า"ทำไหรได้นั่น"ทุกทีไป

               จะรออ่านบทต่อไปครับ

                                                            ขอบคุณครับ

ด้วยความระลึกถึงครับอาจารย์

หวัดดีพี่บ่าว

ไม่ได้เจอกันนานคิดถึงครับ ไม่แว่บไปแถวโน่นบ้างหรือ..

หนังสือเล่มนี้สอนเรื่องคุณธรรมจริยธรรมง่ายๆ แต่หากนำไปใช้จะได้ประโยชน์อย่างยิ่ง

ขอบคุณที่แวะมาทักทายครับ

สวัสดีครับ อ.ฟูอ๊าด

ระลึกถึงเช่นกันครับ

ช่วงนี้ผมงานเยอะเลยเขียนบทความน้อยครับ แถมไม่ค่อยได้เข้าไปอ่านด้วย บางครั้งเข้าไปอ่านแต่ไม่ได้เข้าไปทักทาย ต้องขออภัยครับ

สวัสดีค่ะ ท่านอัยการชาวเกาะ

  • ติดใจเรื่องบันทึกของท่านเหลียวฟาน  ต้องตามเข้ามาอ่านอีกค่ะ
  • ขอบคุณที่สรุปหนังสือดีๆ มาให้อ่านค่ะ

สวัสดีครับครูปริมปราง

อย่าลืมตามอ่านโอวาทข้อที่สามและสี่นะครับ

สวัสดีครับท่าน

ความผิดเล็กๆ น้อยๆ นั้น เปรียบประดุจหนามตำอยู่ในเนื้อถ้ารีบบ่งหนามออกเสีย ก็จะหายเจ็บทันที :-))

แต่ถ้าตำที่หัวเล็บมือเปล่าเอาออกไม่ได้เจ็บนานครับ(อิอิอิ)เจ็บใจที่หาทางเอาออกไม่ได้ เรื่องเล็กอาจจะเป็นเรื่องใหญ่ได้นะ

สวัสดีค่ะ  ท่านอัยการชาวเกาะ 

มาติดตามอ่านค่ะ  ขอบคุณค่ะ   ()

สวัสดีครับคุณเดชา,คุณศิริวรรณ

เราจะทำอย่างไรให้คนเปลี่ยนทัศนคติมองชาวบ้านที่เป็นกลุ่ม นปช.ในมุมมองที่ไม่ใช่คนเสื้อแดง แต่มองในมุมของคนไทยว่าเขาก็เป็นคนไทย ส่วนพวกที่ก่อความวุ่นวายโดยไม่ยอมนึกถึงชาติบ้านเมืองนั่นจะจัดการอย่างไรก็จัดการไปเหอะ แต่ นปช.นั้นไม่ได้มีเฉพาะพวกหัวรุนแรง พวกที่เขามาเรียกร้องในสิ่งที่เขาต้องการก็มี ที่เขามาเพราะผลประโยชน์อื่นก็มี เขามาด้วยหลายสาเหตุ แต่เวลาแกนนำเสื้อแดงพูดก็แสวงหาผลประโยชน์เข้าตัวอ้างประชาชนตาดำๆ แต่การกระทำเป็นอีกอย่าง เวลารัฐบาลพูดก็เหมาพวกเสื้อแดงบ้างเหมือนกัน

พูดอย่างนี้ เขาว่ากันว่าพวกเสื้อแดงก็ไม่ค่อยพอใจเพราะไอ้พวกเป็นกลางนี่น่ากระทืบ อิอิ แต่ผมก็ยังยืนยันว่าผมเป็นกลาง เพราะหากประเทศชาติไม่มีพวกเป็นกลางแล้วสองข้างจะคุยกับใคร ใครจะเป็นตัวเชื่อม ใครจะบอกเขาละว่าคนที่เขามองอยู่ข้างนอกเขามองอย่างไร

หนามทิ่มหัวเล็บมันเจ็บจริงๆครับ อิอิ แถมพอเอาหนามออกแล้วมันยังไม่หายเจ็บทันทีอีกนะ เหอๆ

ขอบคุณนีนานันท์ที่เข้ามาติดตามอ่านครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท