ข้อเสนอโครงการวิจัยและพัฒนาวิทยาลัยองค์กรการเงินสวัสดิการชุมชน


เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ได้ไปรับฟังข้อเสนองานวิจัย ของ คณะ อ.ภีม ภควเมธาวี อ.ทิพวัลย์ สีจันทร์ และคณะ ที่ ม.เกษตร

ผมได้รับคำสั่งจากหัวหน้าในการไปฟังข้อเสนอโครงการวิจัย "การพัฒนาวิทยาลัยองค์กรการเงินสวัสดิการชุมชน" ผมฟังแล้วเป็นชื่อที่แปลกมากแต่ยอมรับว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีของงานในการสรางกระบวนการเช่นนี้ หลังจากที่ผมได้ฟังการนำเสนอของทางผู้วิจัยนั้น ผมรู้สึกว่าเราเริ่มถูกทางแล้วแหละ เพราะว่าทางทีมวิจัยมีความคมชัดในกระบวนการและรู้อะไรคือทิศทางสำคัญในการเคลื่อนไปสู่เป้าหมายร่วมกัน ให้เกิดความประสบผลสำเร็จอย่างต่อเนื่อง อาทิ

  • การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ที่อยู่บนฐานชุมชนจริงในการจัดการทั้งหมดว่ามีกระบวนการความรู้อะไร เอามาถ่ายทอดแบบไหน แล้วโยงเครือข่ายอย่างไร
  • การพัฒนาโจทย์สำคัญคือ การเคลื่อนขบวนทั้งหมดด้วยสิ่งที่เรียกว่า "องค์ความรู้" แล้วเอามาเผยแพร่ เอามาสื่อ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ชัดเจน
  • การวางบทให้พี่น้องในพื้นที่เป็นผู้ปฏิบัติ สิยกันเอง เข้าใจกันเอง โดยตัวผู้วิจัยทั้งหลายเป็นผู้หนุน เหล่านี้เป็นกระบวนการที่ชัดเจนที่ผมเห็นได้จากโครงการนี้

อย่างไร ก็ดีในวงประชุมก็มีข้อเสนอเกิดขึ้นเพื่อการพัฒนาข้อเสนอทิศทางร่วมกัน เพื่อให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อนอย่างชัดเจน และยังผลให้โครงการวิจัยนี้ยิ่งสมบูรณ์มากขึ้น ทั้งๆ ที่มีความสมบูรณ์อยู่แล้ว อาทิ เรื่อง ของการวางกลุ่มเป้าหมายที่ฝึกเป็นใคร แบบไหน อย่างไร หรือแม้กระทั่งหลักสูตรผมคงยังคิดว่าเป็นหลักสูตรอยู่ อาจแตกต่างกับ อ.สีลากรณ์บ้าง ว่าหลักสูตรอาจใช้ไม่ได้ แต่ประเด็นคือ กระบวนการในหลักสูตรมากกว่าว่าเราจะดำเนินการอย่างไร ในแต่ละพื้นที่ เอากระบวนการมีส่วนร่วมมาใส่หรือไม่ เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นโครงกลางที่สังเคราะห์ขึ้น และพื้นที่มีการปรับตามความเหมาะสม เพราะเราไม่สามารถปฏิเสธได้ ในเรื่องการคิดทุกสิ่งล้วนมาจากฐานคิดทั้งนั้นก็เปรียบเสมือนหลักสูตร และการหาคนมาในการบริหารจัดการในพื้นที่จะสามารถทำได้อย่างไร หรือ กทบ. ที่กล่าวว่า บทของ กทบ.คืออะไร ให้เข้ามาทำอะไร เคลื่อยแบบไหน ประสานอย่างไร โครงการนี้เป้าหมายแท้จริงคืออะไร ผมอาจจะไม่ลงถึงท่านอื่นมากนักแต่ตัวผมเองก็ได้เสนอไป โดยยึดหลักแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผมมาหาความรู้ประสบการณ์จากนักวิจัย และ พี่ๆในพื้นที่ อาทิ พี่ผ่อง พี่นก ครูชบ เหล่านี้ล้วนเป็นปราชญ์ชาวบ้านผู้ผ่านการปฏิบัติจริงทั้งสิ้น นี่คือความรู้ที่แสนประเสริฐ เพราะเกิดจากตัวคนและคนทำ ที่ผมเสนอคณะวิจัยคือ

  1. อยากเคลียร์บทให้ชัดว่า หากเข้าร่วมเข้าร่วมอย่างไร บทเป็นแบบไหน จัดการอย่างไร
  2. ระบบข้อมูลทั้งหมด ทั้ง กทบ. พอช. จะเอามาเชื่อมโยงกันให้เห็นภาพเชิงระบบอย่างไร และข้อหนึ่งที่มีมวิจัยเสนอคือ ทาง Internet แต่ประเด็นกลุ่มเป้าหมายที่เข้าถึงนั้นเป็นใครแบบไหนอย่างไร
  3. กลไกการประสานงาน ทั้ง พอช. กทบ. มีลักษณะคล้ายกันคือ เรื่องศูนย์เรียนรู้ ประเด็นคือ การเอาศูนย์เรียนรู้นั้นต้องการแบบไหน ใครมาดำเนินการ ดำเนินการอย่างไร หน้าตาเป็นแบบไหน แล้วจะมาจัดการศูนย์เรียนรู้ที่มีอย่างไรให้สามารถเคลื่อนได้อย่างชัดเจน
  4. ระบบประสานงานโครงการ มองเผินๆ อาจเป็นกลไกที่วางไว้แล้ว และความจริงนั้นมีความเฉพาะและลงลึกไปมาก ทั้งการเชื่อมตัวอย่าง อาทิ หมู่บ้านมาตำบล ตำบลมาจังหวัด จังหวัดมาภาค และภาคมาประเทศ ข้อต่อเชิงขบวนที่เกิดขึ้นจริงแบบนี้มีการวางรูปแบบไว้แบบไหนอย่างไร ในเชิงระบบ
  5. ประการสุดท้ายคือ วิทยาลัย สถานะนี้จะเป็นอย่างไร เป็นชุมคน หมายถึงที่คนมาเรียนรู้ หรือ สถาปนาเป็นพื้นที่ ขึ้น แต่โดยส่วนตัวนั้นเสนอให้เป็นชุมคนมากกว่าเพราะมีความชัดเจนในเชิงขบวนที่เคลื่อนได้อยู่แล้ว และโจทย์อีกอย่างเรื่องงบประมาณ จุดนี้บางท่านอาจมองเป็นเรื่องเล็กแต่ท่ามกลางกระแสน้ำปลาทูกำลังว่ายทวน พลังอยู่ที่หางและปัจจับภายนอกคือกระแสน้ำ ที่เสริมกันอยู่นี้จะมีรูปแบบทิศทางอย่างไร เมื่อหมดงบเครือข่ายขึ้นได้วิ่งโดยตนเอง จำเป็นรูปแบบนี้ไหม เอาองค์กรที่ทำอยู่แล้วมาเสริมให้แข็งขึ้นแล้วเป็นเครือข่ายชัดเจนอย่างนี้ทำได้ หาก เอามาใหม่ก็หวังให้เขามาเรียนรู้แต่พัฒนาเครือข่ายคงยาก แต่ไม่ได้แปลว่าไม่ทำ แต่ก็ต้องทำ

เหล่านี้ผมถือว่าเป็นโอกาสที่ผมเข้าไปประชุม เพราะผมได้ความรู้จากท่านเหล่านี้ และฝึกกระบวนการคิดของตนเองให้ได้มีการแลกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดความชัดเจน และมีความคมของตนเอง มีระบบการคิดที่เป็นระบบ มีเหตุมีผล

โดยส่วนตัวผมคงกล่าวได้ว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดี และผมเองจะสนับสนุนเป็นแน่แท้ และเอาเนื้องานที่ผมดูอยู่มาปรับและประยุกต์เชื่อมไป

 

หมายเลขบันทึก: 358790เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2010 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท