ผู้นำจากความคิด ที่ติดลบ


คำเด็ดๆที่เธอกล่าวคือ “ถ้าเราไม่ไปปรับปรุงตัวเอง ใครก็ช่วยเราไม่ได้”

     มีเรื่องประทับใจที่ได้รับรางวัลของโรงพยาบาลสมุทรสาครมา เล่าสู่กันฟังค่ะ เป็นการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยที่เป็นที่ประทับใจของเภสัชกรมาก.....เรียกว่า เกินความคาดหมายเลยทีเดียว        

     สวัสดีค่ะ วันนี้พี่มดบอกว่า มีการประกวดเขียนบทความเกี่ยวกับผู้ป่วยเบาหวานค่ะ   ก็เลยมาลองนึกดูว่า จะเล่าเรื่องเกี่ยวกับผู้ป่วยเบาหวานคนไหนดีหล่ะ   ก็ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่ศูนย์โรคเรื้อรัง รพ สมุทรสาคร( Chronic Care Center :CCC) ก็เยอะพอสมควรแล้วนะ ก่อนอื่นคงต้องแนะนำกันก่อนว่า ศูนย์โรคเรื้อรังเค้าทำอะไรกันนะคะ  เรารับผู้ป่วยเบาหวานทั้งรายเก่า ซึ่งมีน้ำตาลสูงเกิน 200 mg/dl อย่างน้อย 3 visit และรายใหม่ที่เพิ่งเริ่มรับยาเบาหวาน    หลังจากเริ่มเปิดศูนย์ปลายเดือน พฤษภาคม  ปีนี้เองค่ะ ( 2552)  

           ก่อนเปิดศูนย์ พี่มด(เภสัชกร) และพี่ฝน( พยาบาล) ร่วมกันวางแผนกิจกรรมในคลินิกอยู่พักใหญ่  ได้รูปแบบเป็นการทำงานสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย มีนักสุขศึกษา  โภชนากร พยาบาล เภสัชกร และแพทย์       ซึ่งถือเป็นงานที่แปลกออกไปจากงานประจำของทีมเภสัชกรผู้ป่วยนอก เนื่องจากหากเป็นทีมเภสัชกรงาน acute care รับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในแล้ว ก็ต้องทำงานในรูปแบบสหสาขาวิชาชีพเช่นกัน    ทำให้เราได้เรียนรู้บทบาทวิชาชีพอื่นๆ ด้วย  และในช่วงเวลานี้ก็เป็นช่วงแรกที่เปิดให้บริการ เราต้องหารูปแบบในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลสมุทรสาคร     ซึ่งในระหว่างนี้ก็มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมการให้บริการ แต่ก็อยู่ภายใต้ concept  ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแลตนเองได้ ไม่ใช่หวังพึ่งแต่การใช้ยาเท่านั้น
      

         วันนี้ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่ได้เข้ามาช่วยทำกิจกรรมครั้งที่ 3 ของผู้ป่วยรายใหม่  ซึ่งเป็นกิจกรรมสุดท้ายก่อนส่งผู้ป่วยที่ไม่มีปัญหาน้ำตาลสูงไปรับการรักษาต่อที่อนามัยใกล้บ้าน หรือหากผู้ป่วยไม่สะดวกหรือมีโรคแทรกซ้อนร่งวมด้วยสามารถรักษาต่อในโรงพยาบาลแผนกต่างๆ ได้     แต่ถ้าถามว่า มีคนไหนที่เห็นการเปลี่ยนแปลงแบบว่า ใช่เลย ก็คงจะมีหลายคน แต่เอาเป็นว่าหนึ่งในนั้น  คือ คุณเอสดีค่ะ หากย้อนหลังกลับไปในการเข้ากลุ่ม visit แรกของผู้ป่วยรายใหม่ของคุณเอสดี     ชายไทยหน้าตาธรรมดา แต่บอกบุญคงไม่รับแน่ๆ  อายุประมาณ 40  กว่าๆ นอกจากเบาหวานแล้ว ยังมีโรคไทรอยด์และโรคหัวใจขาดเลือดด้วยค่ะ  FBS 330 mg/dl   รูปร่างสันทัด ไม่อ้วนไม่ผอม แต่เห็นมีพุงนิดๆ ค่ะ         สิ่งแรกที่เราจะจำคุณเอสดีได้ คือ เค้าจะมีลักษณะที่โดดเด่น ทำให้เราจำเค้าได้ค่ะ   ทุกครั้งที่มาจะต้องนั่งที่ริมประตูทางออก และเนื่องจากกิจกรรมของเราต้องการให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย เราก็เลยให้ญาติ ( ภรรยา) คุณเอสดีเข้ามาฟังด้วย 

    ในครั้งแรกที่พบกัน ท่าทางคุณเอสดีไม่ค่อยอยากจะให้ความร่วมมือในกิจกรรมของเราเท่าไหร่ ดูจะเบื่อโลกเอามากๆ ไม่คาดหวังกับสิ่งใดๆ คำว่า   “เซ็ง“  คำเดียว ไม่สามารถรับผิดชอบอาการคุณเอสดีไว้ได้  ก็แหม เล่นนั่งเฉยมาก  ถ้าไม่ถามแบบจำเพาะเรียกชื่อแล้ว ก็จะไม่แสดงความคิดเห็น แถมทำไม่รู้ไม่ชี้ ( ไม่รู้เกรงใจภรรยาหรืออย่างไร จึงเข้ามานั่งฟังกิจกรรม เพราะเห็นคุณภรรยา ยิ้มตลอดเวลาและร่วมตอบคำถามแทนสามีตลอดเลยค่ะ )   โดยขั้นตอนการบริการของศูนย์ ก็จะเริ่มจากพยาบาล รุ่นเลยกระเตาะ ซักประวัติปูพรม ทุกเรื่องราวที่จะข้องเกี่ยวกับการรักษาดูแลป้องกันภาวะแทรกซ้อน อย่างครบถ้วน และตบเบาะๆด้วยความอบอุ่นว่า สิ่งใดบ้างที่ต้องระมัดระวังดูแลติดตามเป็นพิเศษ      

 

      จากนั้นผู้ป่วยก็ขยับเข้าห้องมาพบเภสัชกร ซึ่งเธอจะซักถามลงลึกในประวัติการใช้ยาเดิม ติดตามอุปสรรคการใช้ยา ค้นหาอาการ สภาพปัญหาต่างๆที่จะทำให้ผู้ป่วยทนกินยาต่อไปไม่ได้ หรือกินๆ หยุดๆดูยาที่คุณเอสดีได้รับร่วมกันว่าตีกัน ทำให้ระดับยาต้องคะเนกันใหม่หรือเปล่า เป็นต้น และคุณเอสดีเองก็ขาดยาเนื่องจากยาหมดก่อนมาโรงพยาบาล วันนั้นเภสัชกร ได้พูดความสัมพันธ์เชื่อมโยง โรคเบาหวาน ไทรอยด์  หัวใจ ให้คุณเอสดี โดยขณะที่ฟังเธอก็ผินหน้าทำมุมประมาณ 45 องศากับเภสัชกร

ภาพ : น้องแหม่มและน้องพัช กำลังทบทวนข้อมูลผู้ป่วย  

ภญ.ปราณี ลัคนาจันทโชติ สนทนากับคุณเอสดีที่นั่งคอเอียง ปลายตาขึ้นเล็กน้อย  

      เภสัชกรบอกว่าโรคเบาหวานของคุณเอสดี อาจจะดีขึ้นและควบคุมได้ เนื่องจากสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำตาลสูงอาจมีผลเนื่องจาก ไทรอยด์ และการที่เปลี่ยนโรงพยาบาลรักษาบ่อยๆ ทำให้ การรักษาไทรอยด์ดำเนินไปแบบกระท่อนกระแท่น เกิดโรคหัวใจ ระดับน้ำตาลสูง ดูสีหน้าท่าทางคุณเอสดีเธอจะดีขึ้นเริ่มมีความคาดหวัง สายตาเหลือบขึ้นมองเภสัชกรด้วยหางตา ท่าทีผ่อนคลายขึ้น จากนั้นผู้ป่วยทุกคนได้ร่วมกิจกรรมจากน้องสุขศึกษามาสอนความรู้เบาหวาน มีโภชนากรมาคุยให้ฟัง และปิดท้ายคุณหมออภิชาติเข้ามาร่วมสนทนาและตรวจด้วย หลังจบกิจกรรมในวันนั้น  ทำให้ทีมงานรู้สึกใจแป้วเหมือนกันนะว่า แอบเดาอยู่เหมือนกันว่า  visit หน้าคุณเอสดีจะมาไหมหนอ น้ำตาลคงไม่ลดแน่เลย แต่คุณเอสดีก็ไม่ทำให้ทีมงานผิดหวังเลยค่ะ มาถึง visit ที่ 2 ในเดือนถัดมา สังเกตได้ว่า วันนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยิ้มแย้มแจ่มใส เหมือนมาสมาคมกันมากกว่า พอคุ้นหน้าคุ้นตากันดี  แม้จะจำชื่อได้บ้าง ไม่ได้บ้าง  มีการทักทายกัน แซวกันบ้างในการร่วมกิจกรรม คุณเอสดีเปลี่ยนไปค่ะ   แถม FBS  155 mg/dl เธอบอกว่าไปปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร เลิกดื่มน้ำอัดลมโดยเด็ดขาด และไปออกกำลังกาย    แถมยังมีบทบาทเป็นผู้ให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ ในกลุ่มที่FBS ยังสูงอยู่ด้วย  คำเด็ดๆที่เธอกล่าวคือ “ถ้าเราไม่ไปปรับปรุงตัวเอง ใครก็ช่วยเราไม่ได้”      และในเดือนถัดมา  visit  3 คุณเอสดี มีระดับ FBS ลดลงอีกแล้ว โดยที่ FBS 138 mg/dl  ก่อนกลับบ้าน ต้องมีการเลือกประธานกลุ่ม  ซึ่งแน่นอนค่ะ คนที่จะได้รับตำแหน่งนี้ได้ ต้องมีพัฒนาการที่ดี และพร้อมร่วมกิจกรรมเบาหวานด้วย    ใครกันนะจะได้เป็นประธาน ก็เกี่ยงกันไปมาตามประสา    เนื่องจากหลายๆ คนไม่สะดวก ต้องทำงาน เมื่อน้องพัชร นักสุขศึกษา แจ้งว่าไม่ได้ต้องมาบ่อย คุณเอสดี จึงยอมเสนอตัวเป็นประธานกลุ่มในการร่วมกิจกรรมเบาหวาน  แต่ไม่วายออกตัวว่า ที่จริงก็มีภารกิจเดินทางไปต่างจังหวัดเหมือนกัน ให้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อนนะ จะมาร่วมกิจกรรม สรุปท้าย คุณเอสดีก็เป็นประธานรุ่นไปตามระเบียบ ซึ่งผู้นำคนนี้เริ่มมาจากความคิดติดลบ เปลี่ยนเป็นบ๊วก บวก  ว้า!  อยากได้ผู้ป่วยแบบคุณเอสดีเยอะๆจังเลย  ว่าไหมหล่ะคะ     

  

คำอธิบายภาพสุดท้าย: ภญ.สุภางค์ พิรุณสาร ให้ความรู้เรื่อยาโดยใช้สมุดตัวอย่างยา

(...มด มือใหม่ ทำไม่ค่อยเป็น เมื่อยนิ้ว อ่ะ....)   

ผู้เล่าเรื่อง   สุภางค์  พิรุณสาร เภสัชกรโรงพยาบาลสมุทรสาคร   โทร. 085-018-9421

หมายเลขบันทึก: 358230เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • เยี่ยมเลยครับ
  • เอาอีก เอาอีก
  • เหลย เหลย...
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายและมาเป็นกำลังใจให้กันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                 

ตืนเต้นๆๆๆ เจอบันทึกพี่มด วันนี้เลยมีพระจันทร์ยิ้มเลย ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆ รออ่านอีกครับ เย้ๆๆๆ

  • ลืมเอาหนุ่มและสาวต่างด้าวมาก่อกวน
  • ฮ่าๆๆๆๆๆๆ
  • ดูฝรั่งเขาตั้งใจเรียนมาก
  • สอนแค่วันเดียวเอง
  • ต่างจากคนไทยไหมครับ
  • ฮิๆๆๆ

จริงด้วยซิ ...คุณน้องด๊อก กล่าวได้ดีค่ะ

สำหรับพี่มด ตอนนี้เรื่อง Blog ยัง งง .. ทำ ช้ ช.ช.ช.....ช้า จริงเลยค่ะ

โดยเฉพาะถ้าเข้า Khajit blog หาทางออกไม่เจออออออออ......

เป็นกำลังใจให้เพื่อจะได้ดูแลพี่นานๆ ...ฮา

การักษาไทรอยต์

1. นั่งสมาธิ

2. ออกกำลังกายเบา ๆ เช่น โยคะ

3. ทานอาหารสุขภาพ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ แป้งไม่ขัดขาว ผลไม้ตามฤดุกาล แตไม่หวาน เช่น กล้วย อาหารธัญพืช เนื้อปลา น้ำดื่ม เช่น น้ำตะไคร้ ขิง ดอกคำฝอย

4. หลีกเลี่ยงยาสมุนไพร ที่มีคุณสมบัติร้อน เช่น กวาวเครือ ว่านชักมดลูก

5. มองโลกในแง่ดี

6. ไม่นอนดึก

ขอให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท