เรื่องที่ ๓


พฤติกรรมการออกกำลังกายที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานอยู่ในระดับสูง (ไม่เคยออกกำลังเลยในช่วง ๑ เดือนที่ผ่านมา)

พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานของประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบสถานีอนามัยบ้านหนองนกปีกกา ตำบลโป่งแดง อำเภอเมือง จังหวัดตาก

ณัฐธีมา เจดีย์วุฒิ, ปาณิสรา แก้วบุญธรรม

           การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์   พฤติกรรมด้านอารมณ์และสังคม พฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการใช้ยาของกลุ่มประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบสถานีอนามัยบ้านหนองนกปีกกา ตำบลโป่งแดง อำเภอเมือง จังหวัดตาก ในระหว่างเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๑ ถึงเดือนกันยายน ๒๕๕๑ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากประชาชนกลุ่มอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานจากการคัดกรองโรคเบาหวานด้วยวาจา (Verbal screening) จำนวน ๓๐๐ ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

            ผลการศึกษาพบว่า ประชากรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ที่เสี่ยงต่อการโรคเบาหวานอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมด้านอารมณ์และสังคมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมการออกกำลังกายที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานอยู่ในระดับสูง (ไม่เคยออกกำลังเลยในช่วง ๑ เดือนที่ผ่านมา) และพฤติกรรมการใช้ยาที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะการใช้ยาคุมกำเนิดในเพศหญิง

            ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนสุขศึกษา เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานทั้ง ๔ ด้าน คือ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พฤติกรรมด้านอารมณ์และสังคม พฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการใช้ยาในกลุ่มประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป  ให้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานต่อไป

หมายเลขบันทึก: 356494เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2010 19:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ้าวคนละเรื่องกับเรื่องที่ ๔

ดีจังเลยงานนี้ มีการใช้ความรู้จากงานวิจัยนี้ต่ออย่างไรครับ...

ตอบ อ.เกียรติ งานวิจัยเรื่องนี้ มีกลุ่มตัวอย่าง 300 คน

ที่จริงหมอตั้งใจสำรวจเพื่อแบ่งกลุ่มในการปรับพฤติกรรม

แต่ไหน ๆ ก็สำรวจแล้ว..จับมาเขียนเป็นงานวิจัยซะแล้วเรื่อง

จากผลการวิจัยเราจะมีข้อมูลของแต่ละคนที่จะใช้ในการวางแผนปรับพฤติกรรม

บางพฤติกรรมต้องคุยรายตัว บางพฤติกรรมใช้กลุ่มได้..

สรุปคือ หมอจะมีข้อมูลที่สามารถเอาไปปรับพฤติกรรมคนได้ตรงคนไง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท