beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

"ศิลปะ" ของการเขียนบันทึก ลงบล็อก


การเขียนบันทึก ต้องหมั่นฝึกฝน เพราะเป็นเรื่องของประสบการณ์การเขียน

    ตอนนี้ Knowledge Volution หรือ GotoKnow.org Version 2.0 ได้รับความนิยมอย่างท่วมท้น ทำให้ระบบช้าไปช่วงหนึ่ง แต่ก็ได้รับการแก้ไขโดยผู้พัฒนาระบบให้ดีขึ้น (เร็วขึ้น) ได้ในระดับหนึ่งแล้ว

   ใน Version นี้ การสมัครสมาชิกทำได้รวดเร็ว และไม่ยุ่งยากเท่า Version 1.0 แต่ก็อาจมีปัญหาเรื่องการใส่รูปถ่ายบ้าง แต่ลองฝึกไปนิดหน่อยก็ไม่ยาก เพราะมันเป็น"ศาสตร์" ซึ่งสอนกันได้

   ผู้ใช้หรือ USER ทั้งหลายพอใจแค่สมัครเป็นสมาชิก และเปิดบล็อกได้ แต่เรื่องของการเขียนบันทึก ต้องเอาไว้ก่อนเพราะต้องรอให้มีเวลาสักหน่อยจึงจะเขียนได้ บางท่านก็จดๆ จ้องๆ ขออ่านของคนอื่นก่อน เอาไว้มั่นใจแล้วค่อยเขียน

   สาเหตุอย่างที่กล่าวมา เป็นเพราะว่า "คนไทย" ไม่ค่อยได้รับการฝึกฝนให้เขียนบันทึกกันครับ

   การเขียนบันทึก ต้องหมั่นฝึกฝน เพราะเป็นเรื่องของประสบการณ์การเขียน การเขียนบันทึกที่ดี อ่านเข้าใจ มีคนเข้ามาติดตามอ่านนั้น ผมคิดว่ามันเป็น "ศิลปะ" นะครับ เรียกว่า "ศิลปะของการเขียนบันทึก" ผู้เขียนบันทึก จึงอาจจะเรียกตัวเองว่าเป็น "ศิลปิน" ก็ได้ครับ เป็นศิลปินสาขาวรรณศิลป์ครับ

   beeman ก็น่าจะจัดเป็นศิลปินเดี่ยวคนหนึ่งก็ได้ครับ

   การจะเป็นศิลปิน ก็ต้องหมั่นฝึกฝนนะครับ ผมขอถ่ายทอดประสบการณ์ดังนี้

  • เมื่อเริ่มเขียนบันทึก ต้องมีความมุ่งมั่นว่าจะทำให้ได้อย่างน้อยกี่บันทึก ภายในเวลาที่กำหนด อย่างผมตั้งใจว่า จะต้องเขียนบันทึกให้ได้ 100 บันทึก ภายในเวลาไม่เกิน 1 ปี (ผมทำได้ในเวลาไม่เกิน 3 เดือน) เรียกว่า "เอาปริมาณ" ไว้ก่อน
  • ยังไม่ต้องไปคำนึงถึงกฎเกณฑ์อะไรมาก เขียนไปก่อน
  • เขียนในทำนองเล่าเรื่องการทำงาน หรือ ความภาคภูมิใจก่อน และบอกถึงวิธีการทำงานหรือวิธีการที่ทำให้ทำงานสำเร็จก่อน
  • ถ้าเป็นนักเรียน,นิสิต,นักศึกษา อาจเล่าเรื่องเกี่ยวกับการเรียนหรือการได้มาซึ่งความรู้ใหม่ ซึ่งตนเองไม่เคยรู้มาก่อน หรือเล่าความประทับใจเกี่ยวกับผู้สอนก็ได้
  • หมั่นเขียนให้ได้สม่ำเสมอ เช่น กำหนดไว้ว่า สัปดาห์ละ 4-5 บันทึก หรือ เดือนละ 4-5 บันทึกเป็นต้น แล้วทำให้ได้ตามนั้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจ
  • หมั่นเขียนไปเรื่อยๆ สำนวนก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ
  • ระหว่างเขียน ถ้าไม่มั่นใจ "ศัพท์" คำไหน ให้ตรวจเช็คดูก่อน เพื่อความถูกต้อง
  • เมื่อเขียนไปแล้ว ต้องคอยตรวจทานดูคำผิด และแก้ไขให้ถูกต้องด้วย เป็นการฝึกฝนความเป็นคนมีระเบียย และรอบคอบครับ
  • พอเขียนได้ดีแล้ว ติดเป็นนิสัยแล้ว ตอนหลังๆ ควรหารูปภาพมาประกอบเรื่องเล่าด้วยครับ เพื่อให้บล็อกหรือบันทึกของเรามีคนเข้ามาสนใจและคอยให้กำลังใจเราอย่างสม่ำเสมอครับ
  • แล้ว บล็อก/บันทึก ก็จะทำหน้าที่เก็บความรู้ในตัวเรา และช่วย Classify เราว่า เราเก่งหรือชำนาญทางด้านไหนในที่สุดครับ
หมายเลขบันทึก: 35615เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2006 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 08:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ทั้ง 10 ประเด็นที่อาจารย์ได้ถ่ายทอดเอาไว้
สถิติก็ได้บอกไว้อย่างที่อาจารย์ว่ามาแล้วล่ะครับ

Blog Ranking in Planet การจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 40 อันดับคนเขียนบันทึกมากที่สุด
  • อาจารย์ Beeman เขียนเก่งมากครับ
  • นายบอนเก่งมากครับ เป็น Statman ตัวจริงครับ
  • ส่วนคุณขจิต เป็น "ผู้ให้กำลังใจดีเด่น" ไปร่วมให้กำลังใจกับท่านอื่นๆ ไว้ทั่วเลย
  • สร้างสีสันให้ GotoKnow ครับ
  • ศิลปะ ของการเขียนบันทึก ส่วนหนึ่งผมเองก็แอบครูพักลักจำจาก อาจารย์ Beeman ครับ
  • บันทึกนี้ดีครับ ทำให้ Blogger รุ่นใหม่และรุ่นเก่า นำเทคนิคนี้ไปใช้ได้ครับ

 

ในส่วนของตัวเองได้เริ่มด้วยการตั้งใจวางเป้าหมายไว้ว่าจะให้มีบันทึกเป็นรายอาทิตย์ สักอาทิตย์ละเรื่อง สองเรื่อง ตามเวลาที่ว่าง

ก็พอจะได้ผลงานนิดหน่อยค่ะ

แต่อ่านบันทึกนี้ของอาจารย์แล้วต้องรีบไปเขียนบันทึกแล้วล่ะ เพราะอาทิตย์ที่แล้ว อารมณ์ศิลปินไม่ยอมจะเกิด  สงสัยจะตำกว่าเป้าหมายที่วางไว้

  • ขอขอบพระคุณทุกท่านที่มาร่วมแสดงข้อคิดเห็นนะครับ
  • หากท่านที่เข้ามาแสดงข้อคิดเห็น Login เข้าระบบก่อน ก็จะดีไม่น้อย เพราะท่านอื่นๆ ที่เข้ามาอ่านจะได้ตามไปดูประวัติของท่านได้ เป็นการเพิ่มยอดอ่านบันทึกของท่านนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท