พร้อมแล้วหรือยังกับการฟาดแข้งใน "FREE TRADE STADIUM"


รัฐจะคุ้ทครองเกษตรกรอย่างไรหากประเทศคู่สัญญายังคงให้การสนับสนุนเกษตรกรของเขาอยู่ รัฐจะมีช่องทางส่งเสริม SME ของไทยให้แข็งแรงพอที่จะสามารถยืนหยัดต่อสู่ต่างชาติได้ รัฐจะสามารถกระจายผลประโยชน์ที่เกิดจากการค้าเสรีให้ทั่วทุกภาคส่วนได้อย่างไร เหล่านี้ยังเป็นเพียงคำถามของคนไทยไม่กี่คำถามที่เกิดตามมาหลังจากการตัดทำ FTA

ขอต้อนรับท่านผู้อ่านเข้าสู่การแข่งขันอันยิ่งใหญ่แห่งมวลมนุษยชาติ

การแข่งขันที่มีกฎกติกาอันเป็นธรรมภายใต้ความตกลงที่เท่าเทียมของผู้ร่วมแข่งขัน???

การแข่งขันที่เดิมพันไว้ด้วยวิถีชีวิต  การทำกิน  และปากท้องของผองเพื่อนร่วมชาติ

และการแข่งขันที่อาจเปลี่ยนชีวิตของคุณ...ตลอดไป

ENJOY THE SHOW...!!!

ถึงเวลาแล้วหรือที่ประเทศไทยจำเป็นต้องดำเนินการค้าในลักษณะเปิดเสรีกับต่างประเทศ. . . ?

การดำเนินการค้าและการบริการในลักษณะเปิดเสรีกับต่างประเทศนั้น  เท่าที่ผ่านมารัฐบาลไทยเองน่าจะพอรู้ตัวแล้วว่า ณ ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมเพียงพอที่จะดำเนินการการค้าและการบริการในลักษณะดังกล่าว  เนื่องจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลมิได้เป็นไปตามลักษณะของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เป็นอยู่

ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของไทยขณะนี้เต็มไปด้วย SMEs หรือไม่ก็เป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นใหม่หลังภาวะเศรษฐกิจล้มละลายเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐  ดังนั้นรากฐานทางเศรษฐกิจของเราจึงยังไม่มั่นคงพอที่จะรองรับการเข้ามาของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างชาติ  ข้อแลกเปลี่ยนของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างชาตินั้นมีมากมายหลากหลายรูปแบบตามแต่จะเรียกร้องกันได้  และที่น่าสนใจคือบางประเทศถึงขนาดเรียกร้องสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติและไม่มีข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย  อีกทั้งบริษัทของต่างชาติที่เตรียมตัวเข้ามาประกอบการในประเทศไทยนั้นก็ล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทชั้นนำที่มีความก้าวหน้าทั้งเรื่องเทคโนโลยีและวิทยาการทั้งสิ้น  สินค้าเกษตรราคาถูกจากจีน  เทคโนโลยีการให้บริการ Logistic และโทรคมนาคมของญี่ปุ่น  ระบบการธนาคารรูปแบบใหม่จากสหรัฐอเมริกา  และอีกมากมายที่ล้วนแล้วแต่สามารถสร้างผลกระทบให้แก่ระบบเศรษฐกิจของไทยทั้งสิ้น  แล้วเราจะมีมาตรการใดมารองรับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้

แม้รัฐบาลจะแสดงศักยภาพทางเศรษฐกิจต่อชาวโลกว่าประเทศไทยมีความพร้อมเพียงใด  แต่หากพิจาณณาให้ดีแล้วจะพบว่ามีอยู่ไม่กี่กลุ่มบริษัทที่สามารถนำไปหยิบยกเป็นจุดขายได้  ทั้งที่จริงแล้วยังมีผู้ประกอบการของไทยอีกเป็นจำนวนมากรู้ตัวว่าการเปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศจะเกิดผลกระทบต่อตนเองแต่กลับไม่รู้ว่าจะต้องปรับตัวอย่างไร  ดังนั้นการเปิดการค้าเสรีโดยทำให้กลุ่มทุนเพียงไม่กี่กลุ่มในประเทศได้รับผลประโยชน์ก็มิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติอย่างแท้จริง

ดังนั้น  การเปิดการค้าเสรีย่อมสร้างผลกระทบในเชิงลบทั้งต่อกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมที่ไทยยังไม่เคยริเริ่ม  และกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมที่เพิ่งจะเริ่มต้น  รัฐจะคุ้ทครองเกษตรกรอย่างไรหากประเทศคู่สัญญายังคงให้การสนับสนุนเกษตรกรของเขาอยู่  รัฐจะมีช่องทางส่งเสริม SME ของไทยให้แข็งแรงพอที่จะสามารถยืนหยัดต่อสู่ต่างชาติได้  รัฐจะสามารถกระจายผลประโยชน์ที่เกิดจากการค้าเสรีให้ทั่วทุกภาคส่วนได้อย่างไร  เหล่านี้ยังเป็นเพียงคำถามของคนไทยไม่กี่คำถามที่เกิดตามมาหลังจากการตัดทำ FTA  ด้วยเหตุนี้ในการพิจารณาเปิดเขตการค้าเสรีจึงต้องใส่ใจเป็นอย่างยิ่งกับผลประโยชน์ของชาติที่จะได้รับและที่อาจต้องสูญเสียไป

ดังนั้นในเกมการแข่งขันนี้  ผู้แข่งขันหน้าใหม่อย่างเราจะดำเนินเกมอย่างไรให้บอบช้ำน้อยที่สุด  และจะวางแผนการอย่างไรให้มีชัยในการเดิมพันครั้งหน้า  การแข่งขันที่ผ่านๆมา คงจะเป็นประสบการณ์ที่ดี

นรุตม์  เจียมสมบูรณ์

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  ทำเนียบรัฐบาล

25 มิ.ย. 2549

หมายเลขบันทึก: 35527เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2006 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ลองนึกซิคะ มีกลไกของรัฐที่เป็นพี่เลี้ยงของนักธุรกิจตัวเล็กๆ นี้ไหมคะ ? มีนะคะ ? แต่ไม่ทราบว่า ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพไหม

ในความเข้าใจเขากิ๊กน่ะคิดว่า การทำเอฟทีเอโดยไม่สำรวจความคิดเห็นของชาวบ้านโดยเฉพาะสังคมเกษตรกรรมที่ทำมาแต่รุ่นคุณทวดก่อน มีแต่เสียกับเสีย ไม่เข้าใจเลยว่ารัฐบาลไทยเขาคิดแต่จะเพิ่มมูลค่าเพิ่มทางตัวเงินที่เขามาในประเทศแต่ไม่คิดถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนเกษตรกรรมเลย  แล้วต่อไปสงสัยอาชีพที่เรียกว่า กระดูกสันหลังของชาติคงค่อยๆ จางหายไปในสังคมยุค FTA ล่ะมั้งเนี้ย.......คงไม่นานเกินรอแน่

ผมเห็นอย่างงี้ การต้านโลกาภิวัฒน์(counter globalisation ซึ่งในกรณีนี้น่าจะเป็น) ต้องทำอย่างเต็มที่ รอบด้าน บูรณาการ เพื่อจะลุยกับเกมส์นี้ของคลื่นเสรีนิยม ใหม่ หรือทุนนิยมที่จะมารุกฆาต

แต่ถ้ามองจากมุมทุนนิยม ผมเบื่อถึงขีดสุดกับการปกป้องแบบให้ภาคธุรกิจงอมืองอเท้านอนเก็บกินไปสบายด้วยความได้เปรียบต่อต่างชาติ โดยไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง

ประเทศไทยพร้อมมั้ยกับการเปิดเสรี ผมไม่รู้ว่าพร้อมหรือไม่พร้อม แต่เราต้องพร้อม

ซึ่งผมจะสังเกตุว่านโยบายของรัฐบาลจะค่อนงี่เง่า ล้าหลัง ขาดการศึกษา และมองถึงผลประโยชน์เฉพาะจุด รัฐนาวานี้กำลังคลอนแคลนไปกับความเชี่ยวกรากของทุน

ผมเห็นว่าอย่างไรเสียในวันข้างหน้า บรรษํทข้ามชาติก็จะมาคว้าเอาทรัพย์สินของเราไป แต่ในทางกลับกันเราก็มีเสรีภาพในการปะทะกับเค้าเช่นกัน

มองความเป็น "ชาติ" แล้วเบื่อ มองคำว่า "อธิปไตย" แล้วเซ็ง เพราะถูก abuse อย่างปู้ยี่ปู้ยำ

รัฐบาลเป็นโจรข่มขืนรัฐธรรมนูยตัวฉกาจที่สุดตั้งแต่ประเทศไทยเคยมีมา ส่วนภาคเศรษฐกิจคุณนับถอยหลังว่าเวียดนามจะแซงเราไปเมื่อไหร่ได้เลย

ส่วนผมไปนั่งตกปลา มองหาข้าวกินดีกว่า เพราะหากรู้จักสัมผัสลมพัดหน้า ทำตัวโดยเลียนแบบ แม่น้ำ ขุนเขา ประเทศจะน่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ

นี่มัวแต่มองตรรกะล้นเกิน (สร้างปัญหา แก้ปัญหา สร้างปัญหาวนเวียน)

สวัสดีครับอย่างมีสติ 

 

สำหรับตัวติ๊กเองนะคิดว่าการเปิดเสรีด้านการค้าเป็นความคิดที่ดีนะ คือมันเป็นมาตราการที่ส่งเสริมการลงทุนและการค้าและการส่งออก แต่ที่มันมีปัญหาคือประเด็นที่ว่า รัฐให้ความสนใจกับผู้มีผลกระทบน้อยเกินไป เช่นกลุ่มของเกษตรกรที่ได้รับปัญหาที่เกิดจากการเปิดการค้าเสรี ถ้ารัฐขจัดปัญหารทีเกิดขึ้นได้รับรองเลยว่ามาตรการที่การค้าเสรีจะทำให้ประเทศมีเศรษฐกิจทีดีแน่

   แต่ถามว่ารัฐสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้หรือเปล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท