อรกิตติ์
นางสาว อรกิตติ์ พานิชยานุสนธิ์

ทำไมไทยต้องทำกรอบความร่วมมือ BIMST-EC FTA


ทำไมไทยต้องทำกรอบความร่วมมือ BIMST-EC FTA

ทำไมไทยต้องทำกรอบความร่วมมือ BIMST-EC FTA

               

กรอบความร่วมมือ BIMST-EC FTAหรือ Framework Agreement on the BIMST-EC Free Trade Area คือ กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย 6 ประเทศ ได้แก่ ประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา ภูฎาน พม่า และประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2004 ซึ่งต่อมาประเทศบังคลาเทศ ได้ขอเข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 7 โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้ง โดยมีการทำ พิธีสาร BIMST-EC ในประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2004

                กรอบความร่วมมือ BIMST-EC FTA เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อเปิดตลาดการค้าเสรีระหว่างกัน เน้นการสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ลดราคาสินค้า เพิ่มการค้าและการลงทุน เพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ โดยยังอยู่ภายใต้สิทธิและหน้าที่ตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก หรือ WTO และข้อตกลงพหุภาคีและทวิภาคีอื่น

                โดยทั่วไปแล้วกรอบความร่วมมือ BIMST-EC FTA ก็เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศเหมือนความร่วมมืออื่นๆ เช่น AFTA จึงน่าคิดว่าในความเป็นจริงกรอบความร่วมมือเหล่านี้สามารถดำเนินไปจนบรรลุวัตถุประสงค์ได้หรือไม่

                ประเทศไทยเป็นสมาชิกกรอบความร่วมมือหลายอย่างเพื่อเปิดเสรีการค้ากับประเทศใกล้เคียง หรือประเทศคู่ค้าอื่น แล้วในความเป็นจริงประเทศไทยได้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือเหล่านั้นหรือไม่

                ในกรอบความร่วมมือ BIMST-EC FTAวัตถุประสงค์ก็เพื่อเปิดตลาดการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิก เหมือนกับกรอบความร่วมมือ Free Trade Area อื่น แต่ที่สำคัญคือเป็นการเปิดตลาดใหม่ ซึ่งไทยจะสามารถบรรเทาปัญหาการค้ากับตลาดเดิม เช่น America และ EU ไปได้ อย่างที่ทราบกันว่าประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรมาก จึงนับว่าเป็นตลาดใหญ่สำหรับประเทศไทยนอกจากประเทศจีน แต่กำลังการซื้อของประเทศอินเดียจะมีน้อยกว่า เนื่องจากประชากรในประเทศยังมีฐานะยากจน

                สิ่งที่ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการเปิดการค้าเสรีกับประเทศอินเดีย คือ ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีตลาดการค้าคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ ดังนั้น หากสามารถลดอุปสรรคทางภาษี และที่ไม่ใช่ทางภาษีออกไปได้ ก็จะทำให้สามารถร่วมกันสร้างกลุ่มให้มีอำนาจต่อรองทางด้านธุรกิจคอมพิวเตอร์ในตลาดโลกได้

                กรอบความร่วมมือ BIMST-EC FTA จะเน้นการลดหรือยกเลิกภาษีศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งทางด้านสินค้าและบริการ และที่สำคัญมีการตกลงทางด้านการคมนาคมระหว่างกัน เนื่องจากประเทศสมาชิกมีอาณาเขตติดต่อกัน จึงมีการตกลงทำถนนเชื่อมระหว่างกัน ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าและบริการซึ่งเป็นต้นทุน ทำให้สินค้าและบริการมีราคาถูกลง และสามารถแข่งขันกับสินค้าอื่นในตลาดโลกได้ รวมทั้งสามารถป้องกันการเข้ามาตีตลาดในกลุ่มสมาชิกจากสินค้าและบริการของกลุ่มประเทศอื่นได้อีกด้วย

                ส่วนผลเสียที่ประเทศไทยได้รับก็คือการเข้ามาของสินค้าและบริการจากประเทศสมาชิกอื่น เมื่อมีการลดหรือยกเลิกภาษีศุลกากรระหว่างกัน จะทำให้สินค้าและบริการจากประเทศสมาชิกอื่นมีราคาถูกลง และถ้าสินค้าและบริการนั้นเป็นประเภท หรือชนิดเดียวกันกับในประเทศ  ทำให้สินค้าที่ผลิตในประเทศไทยมีราคาสูงกว่า อาจทำให้ประเทศประสบปัญหาขาดดุลการค้าได้

                ดังนั้นการทำกรอบข้อตกลงการค้าเสรี หรือ FTA ไทยควรพิจารณาดูว่าไทยได้ผลดีผลเสียอย่างไร ที่สำคัญ ไทยทำข้อตกลงการค้าเสรีกี่ฉบับ และ มีฉบับไหนบ้างที่ไทยได้รับประโยชน์บรรลุตามวัตถุประสงค์                               
หมายเลขบันทึก: 35486เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2006 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท