Learning by doing: เทอมใหม่ ฝันใหม่ paperless education


สิ่งในกระเป๋าของนักศึกษาเปลี่ยนไป แล้วเหตุใดบนโต๊ะอาจารย์ยังเหมือนเดิม

ฉันสังเกตว่า นักศึกษาแพทย์เดี๋ยวนี้ พกคอมพิวเตอร์ notebook หรือ netbook กันเกือบทุกคน ราวกับเป็นอุปกรณ์เครื่องเขียนจำเป็นชิ้นหนึ่ง..ว่าตามจริง เด็กสมัยนี้ก็โชคดี ที่การค้นหาคำตอบต่างๆ ทำได้ง่าย เพียงคลิกเดียวก็มา ไม่ต้องไปห้องสมุด ค้นหาจากตำราเป็นตั้งอย่างสมัยฉัน (ซึ่งเข้าข้างตัวเองว่า เป็น นศพ.เมื่อไม่นานมานี้เอง)

แต่บนโต๊ะอาจารย์ ก็ยังเหมือนเดิม คือกองเอกสารคำสอน กองรายงานนักศึกษา เป็นพะเนินจนล้นไปข้างโต๊ะและใต้โต๊ะ..

การเรียนหลักสูตรกึ่ง distance learning ของ Flinders university จุดประกายเรื่องของ E leaning โดยเฉพาะการจัดเก็บ และส่งเอกสารในรูปของสื่ออิเล็กโทรนิกส์ ( Microsoft word และ PDF) 

เมื่อมองหา จึงพบของดี ที่จริงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เองมีระบบ E learning http://cmuonline.cm.edu/  มาช้านาน และใช้งานไม่ยากเลย..

วันที่เปิดใช้งาน ฉันเพียงโทรศัพท์ไปที่หน่วย IT ของมหาวิทยาลัย บอกว่าต้องการเปิดกระบวนวิชาชื่อ...รหัสย่อ....แล้วใครเป็น Teacher ( ผู้ดูแลกระบวน) หลังจากนั้นประมาณ 30 นาที ก็ใช้ได้แล้ว..ประทับใจจริงๆ
นอกจากจะสามารถ upload เอกสารคำสอนขึ้นไปไว้แล้ว ระบบยังสามารถรองรับการ submit จากนักศึกษาที่ลงทะเบียนไว้ ซึ่งจะมีบันทึกเวลาไว้ชัดเจน ทำให้อาจารย์ทราบได้ทันทีว่านักศึกษาคนไหนส่งเร็ว ส่งช้า และยังสามารถกำหนดการบล็อกไม่ให้ส่งหากเกินกำหนดด้วย..สิ่งที่ฉันชอบเป็นพิเศษ คืออาจารย์สามารถให้คะแนนกับ comment ไว้ให้นักศึกษา log in เข้ามาดู feedback ได้ทุกที่ทุกเวลา..  

ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 6 ล้วนลืมรหัสผ่านที่ได้รับสมัยปี 1 ไปแล้ว..แต่ก็แก้ไม่ยาก ด้วยการโทรศัพท์ไปแจ้ง (และอ้อน) ให้เจ้าหน้าที่ IT ช่วย reset password ทุกคนให้เหมือนๆกัน แล้วค่อยให้แต่ละคนเข้าไปแก้รหัสผ่านกันเอาเอง
ส่วนชั้นปีที่ 4 ปรากฎว่ายังไม่ลืมรหัสผ่านและคุ้นเคยกับการใช้ E learning จึงสบายไป

ผลการทดลองใช้..สิ่งแรกที่สบายขึ้นคือ เมื่อถึงชั่วโมงสอน ก็เดินตัวเปล่า ไม่ต้องหอบชีทหรือกองเอกสารคำสอนเข้าไป..การส่งรายงาน ไม่ต้องหาคนเป็น collector..อยากจะปรับปรุงเอกสารคำสอน ก็เพียง upload เข้าไปแทนโดยไม่ต้องพิมพ์ใหม่
ที่น่าสนใจมากๆ คือ Teacher สามารถเห็น activity ว่านักศึกษาเข้ามาอ่านเอกสารคำสอน และทำ quiz หรือไม่..เป็น objective ในการให้คะแนน attitude อย่างสบายใจขึ้น

งานนี้ต้องขอบคุณ ทีม IT ม.ช.มา ณ ที่นี้คะ และอยากเชิญชวนอาจารย์มาลองใช้ E learning ดู แล้วจะติดใจ จริงๆ ไม่ได้โม้  

หมายเลขบันทึก: 353725เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2010 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

  • การสอนแบบ e-learning น่าจะทันยุคทันสมัยดีนะคะสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย
  • ตอนนี้มีโรงเรียนมัธยมกำลังเริ่มทดลองใช้อย่างจริงจัง  โดยเปิดเป็นห้องเรียน no paper เลย เด็กทุกคนในห้อง(ทดลอง) ใช้ note book ส่วนตัว  คุณครูก็ฝึกทำบทเรียนออนไลน์กัน  แต่ความรับผิดชอบของเด็กระดับมัธยม  จะได้ผลสักแค่ไหน  คงต้องรอดูกันต่อไปน่ะค่ะ
  • ขอบคุณเรื่องราวดีๆ ที่นำมาฝาก

สวัสดีคะ คุณครูอรวรรณ ดีจังคะที่เด็กๆ ได้ฝึกการใช้ E learning ตั้งแต่มัธยม

เคยอ่านเรื่อง Sustainability ถึง สามส่วนที่จะทำให้องค์กรพัฒนาอย่างยั่งยืน หนึ่งในนั้นคือต่อสิ่งแวดล้อม

หากเราช่วยๆ กันลดขยะ ลดการใช้กระดาษ ก็คงช่วยลดโลกร้อนได้บ้างคะ ( เมษานี้ เชียงใหม่ 40 องศาแล้วคะ)

เยี่ยมยอดเลยค่ะ อาจารย์หมอปัท ทันสมัยจังชาว มช. พี่กุ้งเเวะมาให้กำลังใจ คุณครูค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท