โน๊ตย่อ อบรมเรื่อง องค์ประกอบและแนวคิด ธรรมาภิบาล


ช่วงนี้ ผมได้มีโอกาสอันดี ได้รับการอบรมผู้บริหารระดับกลางที่สถาบันพระปกเกล้า แต่ละวันก็จะมีการจดบันทึกย่อเอาไว้ ทันบ้างไม่ทันบ้าง ก็ต้องขอโทษกันไว้ก่อนนะครับ

       เมื่อวันที่ 7 เมษายน  ผมเรียนเรื่อง องค์ประกอบและแนวคิดธรรมาภิบาล  โดย รศ.ดร.นิยม  รัฐอมฤต   ก็พอจะจดบันทึกเป็นเรื่องเป็นราวให้อ่านเล่นกันได้บ้างนะครับ   ถ้ามีตรงไหนผิดพลาดไป เชิญท่านผู้รู้ให้ความเห็นเพิ่มเติมได้เลยครับ

  1. รากฐาน แนวคิด ธรรมาภิบาล
    • ปรัชญาตะวันออก
      • เก่าแก่ที่สุด     เช่น      เล่าจ็อ  604 ปี BC    ขณะที่ โสเครติส เกิด    469  BC    เล่าจื๊อ แต่ง คัมภีร์ เต๋าเจ๋อจิง 
      • ต่อมาก็ ขงจื๊อ   บอกว่า   ผู้ปกครอง ต้องได้รับการไว้วางใจ สนับสนุนจากประชาชน     คุณธรรมกับการเมืองเป็นเรื่องเดียวกัน แยกกันไม่ได้     แต่  Mackilvarian  บอกว่า การเมือง กับ ศีลธรรม ต้องแยกกัน  ต้องได้อำนาจมา ไม่ว่า จะด้วยวิธีการใดก็ตาม        ขงจื๊อ  ผู้ปกครอง ต้องเป็นพิเศษ
      • ต่อมา  โม่จื๊อ   คล้ายกัน แต่ ไม่เห็นด้วยกับ  ความกตัญญู จนไม่มีขอบเขต  ความกตัญญู หรือ ความรัก ต่อรัฐ ต้องมาก่อน ส่วนตัว
      • ต่อมา เม่งจื๊อ    คนเรา ดีมาแต่กำเนิด   การมีรัฐขึ้นมา  ก็ ด้วยศีลธรรม
      • ท่าน ซุนจื๊อ  บอกว่า  คนเรา เลวมาแต่กำเนิด    แต่ ความดี เกิดจากการฝึกฝนอบรม
    • ปรัชญาตะวันตก
      • โสเครติส ประมาณ 400 BC  ท่านไม่เคยเขียนตำรา  แต่ เพลโต ลูกศิษฐ์  เป็น คนจด    
        • คุณธรรม คือความรู้ อาจสอนกันได้
        • คนไม่ควรหนีจากรัฐ
      • เพลโต
        • Philosopher King   ผู้ที่ควรปกครอง ต้องเป็นนักปราชญ์
        • ทุกคน ทำหน้าที่ของตนให้ดี ทหารไม่ควรเป็นผู้ปกครอง   พ่อค้า ก็ไม่ควรเป็นผู้ปกครอง
        • ต้องอบรม ฝึกฝน คนบางคน ให้มีความดี มีความเป็นปราชญ์
        • คุณธรรมสำคัญ
          • ปรีชาญาณ  คือ ความรอบคอบ
          • ความกล้าหาญ
          • การประมาณ
          • ความยุติธรรม
      • อริสโตเติล  ลูกศิษฐ์ เพลโต
        • ไม่มีคนสมบูรณ์แบบ ต้องเคยผิดพลาดบ้าง
        • ดังนั้น ต้อง ยึด กฏหมายหรือรัฐธรรมนูญ
    • หลักทางศาสนา
      • พราหมณ์
        • ปกครองโดยธรรม
        • ผู้ปกครอง ต้องมีความรู้ คุมตนเอง มีวินัย
      • พุทธ
        • ธรรมาธิปไตย
        • ผู้ปกครองต้องมี  ทศพิธราชธรรม
        • สังคหวัตถุสี่
        • จักวรรดิธรรม 12
      • อิสลาม
        • คำสอนพระอัลเลาะห์
      • คริสต์
        • ทำตามกฏหมาย
        • เสียสละ  เช่น Bill Gate   Wallen Buffet
  2. ความหมายในปัจจุบัน
    1. หลังสงคราม จน  สงครามเย็นสิ้นสุด
      1. UN     การมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างเท่าเทียมกัน และมีคำตอบชี้แจงได้
      2. ธนาคารโลก   ให้ความหมายว่า เป็นลักษณะและวิธีทางของการใช้อำนาจทางการเมือง การปกครอง
      3. ธนาคารพัฒนาเอเชีย  ADB  ถือเป็น การจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
  3.  เพื่อให้แน่ใจว่า สิ่งที่สัญญาไว้กับ ประชาชน ทำได้จริง

     

  4. ที่มาของ Good Governance
    1. ปรากฏใน รายงาน ของ ธ โลก เกี่ยวกับ แอฟริกา   1989
    2. ธ โลก     ให้ว่า    เป็นลักษณะและวิธีทางของการใช้อำนาจในการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจและทางสังคมของประเทศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยตัวชี้วัด หก ประการ
      1. การมีสิทธิมีเสียงและความรับผิดชอบ
      2. เสีถยรภาพทางการเมืองและการไร้ความรุนแรง Political Stability and absence of violence
        1. วัดได้จาการที่ รัฐบาล จะไม่ถูกยึดอำนาจหรือถูกก่อกกวนโดยวิธีการนอกรัฐธรรมนูญ หรือ ผู้ก่อการร้าย
      1. Government Effectiveness  การมีประสิทธิภาพของรัฐบาล  วัดได้จากคุณภาพของการบริการจากภาครัฐ   คุณภาพของช้าราชการ   ความเป็นอิสระของภาคราชการจากอิทธิพลของนักการเมือง  ความน่าเชื่อถือของคำสัญญาของรัฐบาลว่าจะทำตามนโยบายได้สำเร็จ
      2. การมีคุณภพาเชิงการออกกฏระเบียบ  กฏหมาย Regulatory Quality  วัดได้จากการออกกฏเกณฑ์ที่เอื้ออำนวย ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและกฏเกณฑ์ดังกล่าวต้องไม่ขัดแย้งกันเอง
      3. การปฏิบัติตามกฏหมาย Rule of Law  วัดได้จากความเชื่อมั่นและการเกรงกลัวต่อกฏหมายในสังคม
      4. การควบคุมการคอร์รัปชัน (Control of Corruption)  วัดได้จากการสำรวจวิจัยและโพล
        1. สิงค์โปร์ ทำได้ดีมาก    ปัจจัยสำคัญคือ  ลีกวนยู  เห็นตัวอย่างดีๆ จากอังกฤษ    และกลับไปสร้างวัฒนธรรมนี้ที่ สิงคโปร์
        2. อจ เคย พยายามออกกฏหมาย ผลประโยชน์ทับซ้อน  ถูกกล่าวหาว่า เป็น กฏหมาย 7 ชั่วโคตร     แต่ในที่สุด ศรธน ตีความว่า  องค์ประชุมของ สนช ไม่ครบ
        3. การวิจัย โดยองค์กร ต่างๆ ในโลกมากมายเช่น
          1. ดัชนี คอรับชั่น
          2. ดัชนี Failed State  เรา อยู่อันดับ 79 
  5. ที่มาของ  Good Governance ในประเทศไทย
    1. มาใช้แพร่หลาย หลัง  วิกฤต ปี 40       IMF  ระบุให้รัฐบาลให้คำมั่นว่า จะต้องสร้าง  Good Governance  ให้เกิดขึ้น
  6. การบัญญัติ คำไทย
    1. ประชารัฐ
    2. ธรรมรัฐ  จาก คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
    3. สุประศาสนการ
    4. ธรรมาภิบาล
    5. การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
  7. ปัญหาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  2475
    1. ประชาชน ไม่เข้าใจ ประชาธิปไตย
    2. ปัญหาการบริหารงานภาครัฐ
    3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แผน 1 เน้นการสร้างความเจริญทางวัตถุ
      1. เกิดปัญหาทางสังคม ตามมา
      2. แผน 10   2550-2554   เพิ่มสาระสำคัญที่เกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล
        1. มุ่งคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
        2. ใช้ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
        3. เน้นความรู้  การมีส่วนร่วม
  8. วัตถุประสงค์  ธรรมาภิบาล
    1. เสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ สู่ภาครัฐ  ภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาชน และขยายบทบาทขีดความสามารถของ การปกครองส่วนท้องถิ่น 
    2. เป้าหมาย
      1. มีคะแนนภาพลักษณ์ความโปร่งใส  5  ในปี  54   ลดกำลังคนภาคราชการให้ได้ร้อยละ 10
      2. อื่นๆ 
  9. องค์ประกอบหรือโครงสร้างของหลักธรรมาภิบาล
    1. หลัก นิติธรรม
      1. การตรากฏหมาย ให้เป็นธรรม ทันสมัย ยอมรับ
      2. ปกครอง ยึดตามกฏหมาย
      3. ปรับปรุงกระบวนการร่าง  ออกกฏหมาย และ การบังคับใช้กฏหมายให้มีความรัดกุม รวดเร็วและเป็นธรรม
      4. หลักนิติธรรม
        1. การแบ่งแยกอำนาจ
        2. ความอิสระของผู้พิพากษา
          1. อังกฤษเป็นต้นแบบ
          2. ผู้พิพากษา อังกฤษ  ไม่เคยถูกร้องเรียนเลย ตลอด 100 ปี    ใช้ระบบลูกขุน ในการชี้ข้อเท็จจริง   ผู้พิพากษา ตัดสินโทษ ตามข้อเท็จจริงนั้น
        1. หลักความผูกพันต่อกฏหมาย
        2. การคุ้มครองสิทธและเสรีภาพ
        3. ความขอบธรรมด้วยกฏหมายทางเนื้อหา
        4. ความเป็นกฏหมายสูงสุดของ รธน
        5. หลักไม่มีความผิด ก็ไม่มีโทษ โดยไม่มีกฏหมาย  คือ การย้อนหลังไปเอาความผิด ในอดีต ที่ตอนนั้นไม่มีกฏหมาย
    1. หลักคุณธรรม
      1. ปลอดจากการทำผิดกฏหมาย
      2. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
    1. หลักความโปร่งใส
      1. ด้านการให้โทษ
      2. ด้านการเปิดเผยมีส่วนร่วม
      3. ด้านโครงสร้าง
      4. ด้านการให้คุณ
    1. หลักการมีส่วนร่วม
    1. การรับฟังความคิดเห็น
    2. การร่วมตัดสินใจ
    3. การใช้ข้อมูล
    4. การพัฒนาศักยภาพ ในการมีส่วนร่วม
    1. หลักความรับผิดชอบ
      1. ตระหนักในหน้าที่  สำนึกรับผิดขอบต่อสังคม
      2. เคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง 
      3. กล้ายอมรับผลดีและผลเสียจากการกระทำของตน
      4. กระตือรือร้น ในการแก้ปัญหา
      5. ใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง
    1. หลักความคุ้มค่า
    1. การประหยัด
    2. การแข่งขัน
    3. การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  10.  

    การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ  โดยปรับปรุงกลไกการทำงานของทุกองค์กร ให้มีความโปร่งใสประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยสะดวกและเข้าใจง่าย

    มีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้

     

    ปปช  น่าจะ เอาคดีความ 10000 เรื่อง ขึ้น เวปไซด์  ไปเลย

    โครงการ ทำไปถึงไหนแล้ว ผลเป็นอย่างไร

     

     

    เปิดโอกาสให้ประชาชน มี่ส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ  ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็นการใต่สวนาธารณะ  การประชาพิจารณ์  การแสดงประชามติ

     

  11. การปรับใช้ ธรรมาภิบาล  ในภาครัฐ
    1. การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง
    2. และอื่นๆ
    3. ปี 46  นำมาร่างเป็นกฏหมาย  พรก ว่าด้วยหลักเกณ์และวิธีการบริหารกิจการบ้างเมืองที่ดี
      1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
      2. ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
      3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
      4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
      5. ปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ ให้ทันต่อสถานการณ์
      6. ประชาชนได้รับความสะดวก ตอบสนองความต้องการ  ม.37-44
      7. ประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ   ม.45 - 49
  12. กลยุทธ์ในการสร้างธรรมาภิบาล
    1. ภาครัฐ
    2. ภาคธุรกิจเอกชน   ทำได้เร็ว เพราะมีผลต่อการแข่งขัน
    3. ภาคประชาชน   ช้าอยุ่
  13. ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล
    1. ต้องมีความเหมาะสมกับลักษณะงานหน่วยงาน
    2. ต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้ และ มีความโปร่งในตัวชี้วัดเอง
    • คำพิพากษา ของ ตุลาการ  จะตรวจสอบ อย่างไร
      • ใช้ การ ตรวจสอบภายใน ด้วยระบบชั้น ของ การขึ้นศาล
      • ศาลฎีกา แผนกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  จะมีศาลเดียว  มีองค์คณะ เก้า คน  ใช้การคัดเลือก มา จาก 80 คน ในแต่ละคดี
        • แต่อุทรณ์ได้  ถ้า มีหลักฐานใหม่
    • ทำไมต้องเป็น 6 ข้อ 
      • มาจาก รากฐาน ต่างๆ   แนวคิดของระบอบประชาธิปไตย
      • ไม่ ยัดว่า หลัก ต้อง 6 ข้อ  ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้
      • เอาไปใช้ ไม่ได้ทุกประเทศ
      • ใช้ ในประเทศที่ ใช้ประชาธิปไตย แบบมีคุณภาพ
      • คือ เอาธรรมาภิบาล ไปใช้ทุกอณู  ทั้ง หน่วยการเมื่อง  ภาคราชการ  ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน
    • มีการขัด กันเอง ในหลักกฏหมาย มั้ย
      • คงมี  เพราะ กฏหมายบาง ตัว ที่ล้าสมัยไปแล้ว
      • หน่วยงาน ต้องไปดู  กฏหมาย กฏระเบียบของตนเอง ไปทบทวนใหม่ว่า มีอันไหน ที่ล้าสมัยไปแล้ว ขัดกับ ธรรมาภิบาล ที่ต้องปรับบ้าง
  14.  

     

     

     

     

     

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมาภิบาล
หมายเลขบันทึก: 353370เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2010 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขยัน เยี่ยม ไม่ผิดหวังที่เลือกเป็นประธาน

ชาญชัย อาจินสมาจาร

ท่านไปศึกษาที่สถาบันพระปกเกล้า ถ้ามีหนังสือเกี่ยวกับจริยธรรมและธรรมาภิบาล ช่วยซื้อส่งไปให้ผมด้วยที่ ชาญชัย อาจินสมาจาร ภคฝค หมู่ ๖ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000 ผมจะส่งเงินพร้อมค่าส่งไปให้ครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท