สภามหาวิทยาลัยกับ interactive learning through action


ศ. นพ. ประเวศ วะสี เตือนสติที่ประชุมว่า สังคมไทยเป็นสังคมอำนาจ เราจึงมักจะมองการทำงานของสภาฯ เป็นการใช้อำนาจ ในขณะที่ตามความเป็นจริงแล้ว สภาฯ ควรเน้น interactive learning through action เน้นการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ ร่วมกันในสภาฯ ร่วมกับฝ่ายปฏิบัติ และร่วมกับฝ่ายบริหาร

          ในวันที่ ๑๗ มี.ค. ๕๓ ผมมี interactive learning through action ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ถึง ๓ ช่วงด้วยกัน   คือ ๘.๓๐ – ๑๐.๐๐ น. กับทีมมหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์    ๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. ในการประชุมคณะกรรมการกิจการสภา    และ ๑๓.๐๐ – ๑๗.๓๐ น. ในการประชุมสภามหาวิทยาลัย

          ในการประชุมสภาฯ ช่วงบ่าย เรามีประเด็นถกเถียงในลักษณะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันหลายเรื่อง    จน ศ. นพ. ประเวศ วะสี เตือนสติที่ประชุมว่า    สังคมไทยเป็นสังคมอำนาจ    เราจึงมักจะมองการทำงานของสภาฯ เป็นการใช้อำนาจ    ในขณะที่ตามความเป็นจริงแล้ว สภาฯ ควรเน้น interactive learning through action   เน้นการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ ร่วมกันในสภาฯ ร่วมกับฝ่ายปฏิบัติ และร่วมกับฝ่ายบริหาร 

          ดังนั้น ในวาระอนุมัติหลักสูตรใหม่ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมทางการจัดการองค์กร เราจึงเตือนสติอาจารย์หัวหน้าทีมจัดการหลักสูตร และท่านคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ว่า    เราไม่สบายใจนักกับการที่หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรภาคพิเศษ   เพราะสภามหาวิทยาลัยมหิดลไม่มีนโยบายสนับสนุนการเปิดหลักสูตรที่เน้นการหาเงินเป็นเป้าหมายหลัก   เราต้องการให้เน้นหาความรู้หรือสร้างความรู้ให้แก่บ้านเมือง ผ่านการสร้างคน เป็นเป้าหมายหลัก   ดังนั้นเมื่อได้เปิดหลักสูตรนี้ไปแล้ว ๒ – ๓ ปี ให้ประเมินว่า การเปิดหลักสูตรนี้ได้สร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยเพิ่มขึ้นแก่คณะวิศวกรรมศาสตร์อย่างไรบ้าง   หรือว่าหลักสูตรนี้กลับเป็นภาระ ทำให้อาจารย์ขาดโอกาสใช้เวลามุ่งเน้นทำงานวิจัย

          ทางผู้มาชี้แจงยืนยันว่า เป้าหมายหลักคือการรับผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานแล้ว ในด้าน ICT มาเรียน และเอาโจทย์วิจัยมาให้แก่คณาจารย์   สภาฯ จึงอนุมัติหลักสูตร   โดยไม่วายที่จะเตือนให้ประเมินสถานการณ์ตามเป้าหมายข้างต้น
 
 
 
วิจารณ์ พานิช
๑๘ มี.ค. ๕๓
                
หมายเลขบันทึก: 353195เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2010 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท